วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การเลี้ยงโคนม


การเลี้ยงดู
การเลี้ยงดูลูกโค
ก่อน ที่จะพูดถึงการเลี้ยงลูกโคควรจะทำความรู้จักกับนมน้ำเหลืองก่อน นมน้ำ เหลือง คือน้ำนมที่ผลิตออกมาจากแม่โคในระยะแรกคลอด จะผลิตออกมานานประมาณ 2 - 5 วัน ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นนม ธรรมดา ลักษณะของนมน้ำเหลือจะมีสีขาวปนเหลืองมีรสขม มีคุณสมบัติคือ จะมีภูมิคุ้มโรค อีกทั้งช่วยป้องกันโรคที่เกิดกับระบบลำ ไส้และผิวหนัง และยังเป็นยาระยายท้องอ่อน ๆ ของลูกโคอีกด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูง เมื่อลูกโคคลอดมาใหม่ ๆ ควรแยกลูกโคออกจากแม่โค ทันที และควรจะให้กินนมน้ำเหลืองจากแม่โคภายใน 6 ชั่วโมง หลังคลอดเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเร็ว ลูกโคควรได้กินนมน้ำเหลือง ราว 2 - 5 วัน ให้กินวันละ 2 เวลา เช้า, เย็น
วิธีการฝึกให้ลูกโคกินนม
อาจฝึกได้โดยให้ลูกโคกินนมจากถังพลาสติกหรืออะลูมิเนียม หัดให้กินโดยใช้นิ้วมือจุ่มลงในน้ำนมให้เปียก แล้วแหย่เข้าไปในปากลูกโคให้ลูกโคดูดแล้วกดหัวลูกโคให้ปากจุ่มลงไปในน้ำนม ลูกโคจะดูดนิ้วมือขณะเดียวกัน น้ำนมก็จะไหลเข้าไปได้ หัดดูดนิ้วมือเช่นนี้ ประมาณ 3 - 4 ครั้ง ต่อ ๆ ไปจึงค่อย ๆ ดึงนิ้วมือออก ปล่อยให้ลูก โคดูดกินเองต่อไป ทำเช่นนี้ประมาณ 1 - 3 วัน ลูกโคก็จะค่อย ๆ เคยชินสามารถดูดจากถังเองได้
วิธีเลี้ยงลูกโคระยะแรกอาจปฏิบัติได้ดังนี้
นมแม่ ให้ลูกโคกินต่อหลังจากนมน้ำเหลืองหมด จนลูกโคอายุได้ 1 เดือน (4สัปดาห์) แล้วจึงให้กินนมเทียมหรือนมผงละลายน้ำต่อจน อายุได้ 3 - 4 เดือน (12 - 16 สัปดาห์) จึงหย่านม
นมเทียม หรือ นมผงละลายน้ำ สำหรับการเลี้ยงลูกโคเพศเมียควรให้กินต่อจากนมแม่เมื่ออายุ ได้ 1 เดือน (4สัปดาห์) แต่สำหรับลูกโคเพศผู้ ควรใหกินนมแม่อย่าง น้อย 1 สัปดาห์ จึงเริ่มให้กินนมเทียมหรือนมผงละลายน้ำ และให้กินต่อไป จนหย่านมหรืออายุได้ประมาณ 3 - 4 เดือน (12 - 16 สัปดาห์)
หมายเหตุ การ เลี้ยงดูลูกโคนมดังกล่าวมาแล้ว เป็นการเลี้ยงดูโคแบบ "ให้นมจำกัดพร้อม ให้อาหารข้นลูกโคอ่อน" ไม่ว่าเลี้ยงดูด้วยนมแม่หรือนมเทียมกล่าวคือ การ ให้นมควรจะให้ในปริมาณที่เกือบคงที่ตลอดไป คือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของ น้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่น ลูกโคเกิดมามีน้ำหนัก 30 กิโลกรัมก็ให้นมวัน ละ 3 - 4 กิโลกรัมตลอดไป โดยแบ่งให้ เช้า 2 กิโลกรัม บ่าย 2 กิโลกรัมจนอายุหย่านม ในขณะเดียวกันควรตั้ง อาหารข้นสำหรับลูกโคและหญ้าแห้งคุณภาพดีวางไว้ให้ลูกโคได้ทำความรู้จักและ หัดกินตั้งแต่ลูกโคอายุได้ 1 สัปดาห์จนถึง 12 สัปดาห์ ต่อจากนั้นให้กินหญ้าสด วิธีการดัง กล่าวเป็นการหัดโดยการบังคับให้ลูกโคช่วยเหลือตัวเองโดยเร็วที่สุด เป็นวิธีการที่ประหยัดนมแม่โครวมทั้งนมเทียมได้มาก เพื่อเป็นการลดต้น ทุนในการเลี้ยงดูลูกโค
อนึ่งสำหรับวิธีการผสมนมเทียมหรือนมผงละลายน้ำ เราอาจใช้การผสมในอัตรา ส่วน 1 ต่อ 7 ถึง 10 ส่วน แต่ที่นิยมใช้ คือ 1 ต่อ 8 หรือ 1 ต่อ 9 ส่วน ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้นม ผง 1 กิโลกรัม ก็ต้องผสมน้ำ 8 กิโลกรัม หรือถ้าใช้นม ผง 1/2 กิโลกรัม ก็ต้องผสมน้ำ 4 กิโลกรัม ในการผสมแต่ละครั้งควรคน ให้เข้ากันและต้องเติมน้ำมันตับปลาหรือวิตามินลงไปด้วย การผสมนมผงแต่ละ ครั้งมากน้อยแค่ใหนขึ้นอยู่กับท่านมีลูกโคจำนวนมากน้อยเพียงใด
การทำเครื่องหมาย
ลูกโค ที่ เกิดออกมาโดยมีพ่อและแม่พันธุ์เดียวกัน พ่อตัวเดียวกันก็ย่อมจะมีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เมื่อโตขึ้นอาจจะจำไม่ได้หรือจำผิดพลาดได้ว่าเกิดเมื่อ ไหร่ พ่อแม่ชื่ออะไร หรือเบอร์อะไร และเมื่อทำการซื้อ - ขาย จะทำ ประวัติก็เป็นการยุ่งยากลำบาก ดังนั้นลูกโคจึงจำเป็นที่จะต้องทำเครื่อง หมายเพื่อแสดงให้ทราบว่าเกิดจากพ่อ - แม่พันธุ์อะไร เบอร์อะไร ซึ่งจะ เป็นการสะดวกในการทำประวัติ และป้องกันรักษาโรค ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ด้วยกันอาทิเช่น ทำเครื่องหมายโดยตัดหู ตีเบอร์ติดหู ตีเบอร์ ไฟ หรืออื่น ๆ เป็นต้น และเมื่อลูกโคอายุได้ ประมาณ 3 - 6 สัปดาห์ หรือประมาณ 1 - 2 เดือน ก็ควรทำการจี้เขาเพื่อ ทำไม่ให้มีเขาอันจะเป็นอันตรายต่อฝูงโคหรือเจ้าของสัตว์เองได้

การเลี้ยงโครุ่น-โคสาว
เมื่อลูกโคอายุได้ 4 เดือน ระบบ การย่อยได้พัฒนาดีขึ้น ในช่วงนี้อัตราการตายจะต่ำหรืออาจจะกล่าวได้ ว่า พ้นช่วงระยะอันตรายแล้ว จากระยะนี้ถึงระยะโครุ่น คืออายุ ประมาณ 180 - 205 วัน (น้ำหนักประมาณ 120 - 150 กิโลกรัม) ซึ่งระยะนี้ โคจะสามารถกินหญ้าได้ดีแล้ว จากนั้นก็จะถึงระยะการเป็นโคสาว (น้ำหนัก ประมาณ 200 - 250 กิโลกรัม) ต่อไปก็จะถึงระยะเกณฑ์ผสมพันธุ์ คืออายุ ได้ประมาณ 18-22 เดือน (น้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม หรือ ประมาณ 60 - 70 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่) ในช่วงดังกล่าว นี้โคจะเจริญอย่างรวดเร็ว ควรเพิ่มอาหารผสมให้บ้างเป็นวัน ละ 1 - 2 กิโลกรัมและให้หญ้ากินเต็มที่ในกรณีที่เลี้ยงแบบปล่อยลงในแปลงหญ้า ก็จะเป็นการดียิ่งขึ้นเพราะโคได้ออกกำลังกายและยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้ จ่ายและแรงงานได้มากอีกด้วยแต่อย่างไรก็ตามในการให้อาหารผสม(อาหารข้น)แก่โค รุ่น-โคสาวในปริมาณมากน้อยเท่าใดนั้นให้พิจารณาถึงคุณภาพของหญ้าที่มีอยู่ใน ขณะนั้นเป็นสำคัญ

การเลี้ยงและดูแลโครีดนม
แม่โค จะ ให้นมหรือมีน้ำนมให้รีดก็ต่อเมื่อหลังจากคลอดลูกในแต่ละครั้ง ซึ่งจะให้นม เป็นระยะยาว, สั้น มากน้อยต่างกัน ขึ้นกับความสามารถของแม่โคแต่ละตัวพันธุ์และปัจจัยอื่นอีกแต่โดยทั่วไปจะรีด นมได้ประมาณ 5 - 10 เดือน นมน้ำเหลืองควรจะรีดให้ลูกโคกินจนหมด ไม่ ควรนำส่งเข้าโรงงานเป็นอันขาดและควรให้อาหารแก่แม่โคอย่างเพียงพอ เพื่อ แม่โคจะได้ไปสร้างน้ำนมและเสริมสร้างร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ได้ อย่างเพียงพอภายหลังจากคลอดลูก โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30 - 70 วัน หลัง จากคลอด มดลูกจะเริ่มกลับเข้าสู่สภาพปกติแม่โคจะเริ่มเป็นสัดอีก แต่ อย่างไรก็ตามเมื่อแม่โคแสดงอาการเป็นสัดภายหลังคลอดน้อยกว่า 25 วัน ยัง ไม่ควรให้ผสม เพราะมดลูกและอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพิ่งฟื้นตัว ใหม่ ๆ ยังไม่เข้าสู่สภาพปกติ ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ควรจะรอให้เป็นสัด ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจึงค่อยผสม ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลา ประมาณ 45 - 72 วัน หลังจากคลอด

การเป็นสัดคืออะไร
การเป็นสัด คือ การ ที่สัตว์ตัวเมียยอมให้ผสมพร้อม ๆ กันจะมีการตกไข่เกิดขึ้น (โคนมลูกผสมส่วน มากจะมีอายุเข้าสู่วัยหนุ่มสาวประมาณ 1 - 2 ปีโดยเฉลี่ย ) โคเป็นสัดก็หมายถึง โคที่เริ่มจะเป็นสาวแล้วพร้อมที่จะได้รับการผสม โดยวิธีใดวิธีหนึ่งซึ่งอาจเป็นการผสมเทียมหรือผสมแบบธรรมชาติก็ได้แล้วแต่ ความสะดวกหรือความต้องการของผู้เป็นเจ้าของ การเป็นสัดของโคแต่ละ รอบจะห่างกันประมาณ 21 วัน และในแต่ละครั้งของการเป็นสัดแล้ว ประมาณ 14 ชั่วโมง ช่วงระยะเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการผสม คือ ระยะก่อนที่ไข่จะตกเล็กน้อย โดยทั่วไปเจ้าของสัตว์อาจจะพบหรือสังเกต เห็นสัตว์ของตนเป็นสัดในเวลาเย็นหรือตอนกลางคืน หรืออาจจะพบเมื่อใกล้ถึง ตอนปลายของการเป็นสัดแล้ว ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลในทางปฏิบัติอาจแนะนำพอ เป็นแนวทางในการปฏิบัติคือ ถ้าเห็นโคเป็นสัดตอนเช้าก็ควรผสมอย่างช้าตอน บ่ายวันเดียวกัน และถ้าเห็นโคเป็นสัดตอนบ่ายหรือเย็นก็ควรผสมอย่างช้าเช้า วันรุ่งขึ้น
การสังเกตการเป็นสัดในโคตัวเมีย
เจ้าของสัตว์ อาจสังเกตหรือพบเห็นอาการของโคที่เป็นสัดจากอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจแสดงออกมาพร้อม ๆ กันให้เห็นได้ดังนี้
1. ส่งเสียงร้องที่ผิดปกติ
2. เครื่องเพศบวมแดง
3. ปัสสาวะถี่
4. มีน้ำเมือกใสและเหนียวไหลออกมาจากช่องคลอดหรือเลอะบริเวณก้นทั้งสองข้าง
5. ไม่สนใจอาหารหรือกินอาหารน้อยทั้งอาหารน้อยทั้งอาหารข้นและหญ้า
6. ถ้าเป็นแม่โคที่กำลังให้นมจะพบว่าน้ำนมลดลง
7. ขึ้นขี่ตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขี่
8. สังเกตที่ดวงตาจะเห็นม่านตาเบิกกว้างบ่อยครั้งกว่าปกติส่อให้เห็นการตื่นตัวและตื่นเต้นง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น