วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การปลูกอ้อย

การปลูกอ้อย
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ สามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ มีอายุเก็บเกี่ยว 10-12 เดือน
เก็บผลผลิตได้ 2-3 ปี สภาพแวดล้อมพันธุ์และการบำรุงดูแลรักษาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตและคุณภาพของอ้อย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
อ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท ตั้งแต่ดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย พื้นที่ปลูกควรเป็นที่ราบ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยในดิน
เหนียวจัด ดินทรายจัดและดินลูกรัง ถ้าปลูกในเขตน้ำฝนควรมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มม./ปี
พันธุ์
พันธุ์อ้อยที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร และเกษตรกรนิยมปลูกอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ อู่ทอง 1,อู่ทอง 2 ,อู่ทอง 3 และ อู่ทอง 4
อู่ทอง 4 เป็นลูกผสมของอ้อยพันธุ์ EROS และ H 48-3116 ให้ผลผลิตและน้ำตาลสูง ทนทานต่อการเข้าทำลายของหนอนกอ ต้านทานโรค
แส้ดำ และโรคเหี่ยวเน่าแดง เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน
อู่ทอง 3 เป็นลูกผสมของอ้อยอู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 ให้ผลผลิตสูงในดินร่วนปนทรายที่สามารถให้น้ำได้ ให้ผลผลิต 15-16 ตัน/ไร่ CCS
มีค่า 13-14ไม่ควรปลูกในแหล่งที่มีโรคเหี่ยวเน่าแดงระบาดเพราะอ่อนแอต่อโรคนี้
อู่ทอง 2 สะสมน้ำตาลเร็ว ต้านทานโรคแส้ดำ ให้ผลผลิตสูงในดินร่วนเขตชลประทานภาคกลางและภาคตะวันตก ให้ผลผลิต 14-18 ตัน/ไร่
CCS มีค่า 13-14
อู่ทอง 1 ทนต่อการหักล้ม แตกกอดี ไว้ตอดี ในเขตน้ำฝน ให้ผลผลิต 12-15 ตัน/ไร่ เขตชลประทานให้ผลผลิต 15-20 ตัน/ไร่ CCS มีค่า
11-12 ทนทานต่อโรคใบด่างและโรคแส้ดำ
การเตรียมพันธุ์
พันธุ์อ้อยควรมาจากแปลงอ้อยที่เจริญเติบโตดี ตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรคและแมลง มีอายุประมาณ 8-10 เดือน ถ้าต้องทิ้งพันธุ์อ้อย
ที่ตัดไว้แล้วในไร่ ควรคลุมท่อนพันธุ์ด้วยใบอ้อยแห้ง เพื่อป้องกันตาอ้อยแห้ง เกษตรกรควรมีแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย อ้อยจาก
แปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 7-8 เดือน) ปลูกขยายได้ 10 ไร่ สำหรับแปลงพันธุ์ ควรแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 ํ C นาน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคใบขาว
และกอตะไคร้ จากนั้นแช่ท่อนพันธุ์มนสารเคมีโพรนิโคนาโซล อัตรา 66 ซีซี/น้ำ20 ลิตร นาน 30 นาที เพื่อป้องกันโรคแส้ดำ เหี่ยวเน่าแดง
และกลิ่นสัปปะรด
ฤดูกาลปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามฤดูกาลได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 เขต คือ
- ในเขตชลประทาน> (20% ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ) ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน
- ในเขตอาศัยน้ำฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน
2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง) สามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาค
ตะวันออก ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดีและดินเป็นดินทรายเหนือดินร่วนปนทราย การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคม-
ถึงเดือนธันวาคม
การเตรียมดิน
ไถเตรียมดินให้ลึกขณะมีความชื้นพอเหมาะ และควรลงไถดินดานทุกครั้งที่มีการรื้อตอเพื่อปลุกอ้อยใหม่ โดยไถเป็นรูปตาหมากรุก
- ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน ไม่จำเป็นต้องไถพรวนจนดินแตกละเอียด
- อ้อยปลายฝนหรือปลูกอ้้อยข้ามแล้ง ต้องไถพรวนจนหน้าดินแตกละเอียด เพื่อช่วยลดความสูญเสียความชื้นภายในดิน
ให้ช้าลง
วิธีการปลูก
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน
- ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องงกว้าง 1.4-1.5 เมตร (เดิมใช้ 1.3 เมตร) วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว เกยกันครึ่งลำหรือ
2 ลำคู่ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้
- ถ้าใช้เครื่องปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น
พร้อมปลูกได้เลย ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่ โดยจะปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่
แตกกอมาก และจะปลูกแถวคู่ ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 20-30 เซนติเมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตอาศัยน้ำฝน
วิธีการปลูกอ้อยในเขตนี้คล้ายกกับในเขตชลประทาน จะแตกต่างก็เพียงระยะห่างระหว่างร่องในบางพื้นที่จะใช้แคบกว่า
คือ ประมาณ 1.0-1.2 เมตรเพราะอ้อยในเขตนี้จะแตกกอน้อยกว่าการลดระยะแถวลงทำให้สามารถเพิ่มจำนวนลำเก็บเกี่ยวอ้อยต่อพื้นที่
ซึ่งเป็นองค์ประกอบผลผลิตหลักของอ้อยได้
การปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกอ้อยข้ามแล้ง)
การเตรียมดินปลูกจะต้องไถเตรียมดินหลายครั้ง จนหน้าดินร่วนซุย เป็นการรักษาความชื้นในดินชั้นล่าง หลังจากเตรียมดินควรมีการยกร่อง และปลูกให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันกับความชื้นและควรยกร่องปลูกต่อวัน พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้ง
จะเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแก่ คือ อายุประมาณ 8-10 เดือน เกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบทั้งลำ โดยจะชักร่องให้ลึก ระยะแถว 1.0-1.3 เมตร และวางลำอ้อยในร่องใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน กลบดินหนา 10-15 ซม.เหยียบดินกลบให้แน่น เพื่อให้ท่อนสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด
การปลูกซ่อม หากท่อนพันธุ์ใดไม่งอก ให้ปลูกซ่อมหลังการปลูกให้ปลูกซ่อมหลังการปลูก 2-3 สัปดาห์ สำหรับอ้อยตอ ไม่แนะนำให้ปลูกซ่อม เนื่องจากเปอร์เซ็นต์รอดน้อย
การใส่ปุ๋ย
อ้อยปลูกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับอ้อยปลูก

การป้องกันกำจัดวัชพืช
1. ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 4 เดือน
2. ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก เมื่อมีวัชพืชงอก
3. ใช้สารเคมี เช่น อาทิเช่น อัตรา 500-625 กรัม/ไร่ และหลังจากนั้น 2 เดือน ใช้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งก่อนวัชพืชงอก

โรคและแมลงที่สำคัญ
* โรคอ้อยที่สำคัญได้แก่ โรคใบขาว โรคแส้ดำ และโรคเหี่ยวเน่าแดง และปัจจุบันมีโรคที่พบใหม่ คือ โรคกอตะไคร้
: การป้องกันกำจัดโรคอ้อย
1. ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทาน
2. ทำลายกอที่เป็นโรค โดยการขุดออกหรือเผาทิ้ง
3. ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากกอที่เป็นโรค
4. ควรเตรียมแปลงพันธุ์เองเพื่อควบคุมโรคที่สำคัญ
(ดูการเตรียมพันธุ์)
* แมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ หนอนกอลายเล็ก หนอกอสีขาว หนอนกอสีชมพู และด้วงหนวดยาว
: การป้องกันกำจัดแมลงศัตรู
1. ปลูกพืชหมุนเวียน
2. ตัดหน่ออ้อยที่ยอดเริ่มเหี่ยวไปทำลายเพื่อกำจัดดักแด้
3. ในแหล่งที่ระบาดประจำใช้คาร์โบฟูราน ชนิดเม็ด 3% 10 กก.ไร่ หยอดร่องอ้อยก่อนกลบท่อนพันธุ์ และใส่อีกครั้ง
45 วันหลังครั้งแรก
4. ปล่อยแตนเบียนเพื่อควบคุมหนอกอ
การดูแลรักษาอ้อยตอ
การเก็บเกี่ยวควรตัดชิดดิน ไม่ต้องเผาใบหรือเศษเหลือในไร่นอกจากมีโรคและแมลงระบาด เมื่อมีความชื้นพอให้ใส่ปุ๋ย
ได้ทันที โดยใส่ปุ๋ยในปริมาณมากกว่าอ้อยปลูกครึ่งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 150 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับ
การปลูกอ้อยปีแรก การให้น้ำตามร่องควรให้ร่องเว้นร่อง ไม่จำเป็นต้องให้ทุกร่อง ถ้าการให้น้ำหรือใส่ปุ๋ยบำรุงดูแลลำบาก อาจกวาดใบ
ให้ระหว่างแถวเว้นแถว
ผลกระทบจากการเผาใบอ้อย
ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก แบ่งไดเป็น
1. การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบ
ตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความหวาน และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอ
แนวทางแก้ไข คือ ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่ ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งยินไว้ในไร่
2. การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ หลังจากที่มีหน่องอกแล้ว
และทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย แต่มีผลเสียตามมา คือ
* เป็นการทำลาบวัตถุอินทรีย์ในดิน
* ทำให้สูยเสียควสามชื้นในดินได้ง่าย
* หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
* มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
* มีหนอกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข คือ ใช้เครื่องสับใบอ้อย คลุกเคล้าลงดิน ระหว่างแถวอ้อย และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ ควรให้น้ำในอ้อนตอทันที
จะช่วยลดการตายของอ้อยตอลงได้
3. การเผาใบก่อนการเตรียมดิน เกษตรกรทำเพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาไถ
มีผลเสียตามมาคือ เป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ ดินอัดแน่นทึบ ไม่อุ้มน้ำ น้ำซึมลงได้ยาก
แนวทางแก้ไข คือการใช้จอบหมุนสับเศษอ้อย และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรียมดิน ทำให้ไม่ต้องเผาใบอ้อยก่อนการเตรียมดิน

1 ความคิดเห็น:

  1. ฟาร์มเกษตร ดอท โออาร์ จี
    www.FarmKaset.ORG

    ใส่ปุ๋ยให้กับอ้อยตามช่วงอายุ เร่งการเจริญเติบโต เร่งการย่างปล้อง เร่งการยืดปล้อง เร่ง CCS 
    ปุ๋ยเม็ดวันเดอร์สูตรเขียว ใช้รองพื้น ให้ธาตุอาหารครบถ้วนปรับปรุงโครงสร้างดิน มีกรดอะมิโนและจุลินทรีย์ปรับปรุงดิน
    ปุ๋ยเม็ดเพอร์เฟค-ซีกระสอบแดง ใช้ใส่ในช่วงย่างปล้องเดือนที่สอง ทำให้อ้อยเขียว และยืดปล้องได้สูงลำต้นแข็งแรง ให้ไนโตรเจนสูงในขณะที่ยังรักษาสภาพดินไม่ให้เกิดดินเปรี้ยว มีธาตุอาหารปลดปล่อยเร็ว และปลดปล่อยช้า
    ปุ๋ยเม็ดวันเดอร์สูตรส้ม ใช้เร่ง CCS เพิ่มค่าความหวานให้กับอ้อย ให้ธาตุอาหารโปแตสเซียม เร่งขบวนการเคลื่อนย้ายเร่งการสะสมแป้งและน้ำตาล ให้อ้อยมีความหวาน
    แปลงสาธิต เราได้ทำแปลงสาธิตอ้อยที่ได้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 25 ตันต่อไร่ และไร่ที่ได้ผลผลิตสูงบางไร่ที่ 31 ตันต่อไร่ ที่บริษัทน้ำตาลมิตรผล อ.ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และมีการเปิดให้ดูงานทุกปีในช่วงเดือนตุลาคม นอกจากนั้นยังมีแปลงสาธิตที่ได้ทำไว้กับ บริษัทน้ำตาลมิตรผลภูเวียง และมิตรผลภูเขียว สนใจแปลงดูแปลงสาธิตติดต่อได้ที่ 089-4599003 คุณปิยะมาศ
    สนใจสินค้าของเรา  http://www.farmkaset.org/home.aspx#buy

    ปุ๋ยตรานกอินทรีคู่
    จากฟาร์มเกษตร ผลิตภัณฑ์ออแกนิกส์ ปลอดสารพิษ ส่งออกไปยังประเทศจีน ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ กาน่า ด้วยเทคโนโลยีการผลิต และความร่วมมือจากนักลงทุนประเทศ ออสเตเลีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โดยคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และยังมี สสว. องค์กรของภาครัฐร่วมลงทุนอยู่ด้วยประมาณ 15% จึงมันใจได้ว่า ปุ๋ยตรานกอินทรีคู่ มีคุณภาพสูง และเป็นที่ยอมรับในองค์กรชั้นนำ
    สนใจติดต่อ คุณปิยะมาศ 089-4599003
    หรือ http://www.farmkaset.org/home.aspx#buy

    ตอบลบ