วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การปลูกมันสำปะหลัง

การปลูกมันสำปะหลัง

การเตรียมดินไถเตรียมดินก่อน 2 ครั้ง โดยไถเป็นร่องลึกประมาณ 1 ฟุต หรือ 1 เซนติเมตร
- ใช้สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยเคมี ในอัตราปุ๋ยเคมี 50 กก. สาร ที-เอส-3000 15 กก.หว่านรองพื้นในอัตรา 15-20 กก./ไร่
- ใช้สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยมูลสัตว์ ในอัตราปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยมูลสัตว์ 200-300 กก.สาร ที-เอส-3000 15-20 กก..หว่านรองพื้นในอัตรา 1 ไร่
- ใช้สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยชีวภาพ ในอัตราปุ๋ยชีวภาพ 100 กก. สาร ที-เอส-3000 15-20 กก.รองพื้นในอัตรา1 ไร่ หลังจากหว่านรองพื้นแล้วให้ไถกลบ
การคัดเลือกพันธ์และการตัดท่อนพันธ์

ตัดท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร มีจำนวนตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เลือกต้นพันธุ์ใหม่และสด หรือตัดไว้นานไม่เกิน 15-30 วัน จากต้นที่สมบูรณ์ อายุ 8 - 12 เดือน ปราศจากโรคใบไหม้ หรือการทำลายของแมลงศัตรูพืช การตัดท่อนพันธ์ จะต้องตัดให้ตรงเนื่องจากถ้าตัดไม่ตรงจะทำให้มีผลต่อการผลิตหัวของมันในระยะ ยาวได้
ถ้าตัดท่อนพันธ์ไม่ตรงจะทำให้หัวออกด้านเดียว ถ้าตัดท่อนพันธ์ตรงจะทำให้หัวออกรอบทิศ หลัง จากตัดท่อนพันธ์เรียบร้อยแล้วให้นำท่อนพันธ์ด้านที่ลงปลูกลงแช่ในน้ำที่ผสม ด้วย ไฮ-แม็ก โดยแช่ท่อนพันธุ์ส่วนที่จะฝังลงในดินประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร ในอัตราส่วน น้ำ 20 ลิตร ไฮ-แม็ก 100-200 ซีซี ประมาณ 6-12 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้นำท่อนพันธ์ด้านบนลงจุ่มส่วนบนของต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้แล้ว ด้วยน้ำปูนขาว หรือปูนกินหมาก เพื่อป้องกันเชื้อราและลดการคายน้ำ ปักท่อนพันธุ์ตั้งตรงหรือเอียง ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร จำนวนต้น 1,600 - 2,500 ต้น ต่อไร่กรณียกร่องปลูก ให้ปลูกบนสันร่อง การปลูกแบบปัก เป็นวิธีการที่นิยมปลูกกันในปัจจุบันมันสำปะหลังจะงอกได้เร็วกว่า สะดวกต่อการปลูกซ่อม และกำจัดวัชพืช การปลุกแบบปักสามารถปลูกได้ทั้งปักตรงและปักเอียงจะให้ผลผลิตและคุณภาพเท่า กัน โดยปักลึกลงไปในดินประมาณ 10-15 เซนติเมตร

ร่งการเจริญเติบโตทางใบด้วย ไฮ-แม็ก

ฉีดพ่นทางใบด้วย ไฮ -แม็ก 50-100 ซีซี ประมาณ 5 -10 ฝา ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็นในเวลาที่อากาศไม่ร้อน ฉีดพ่นหลังจากมันเริ่มแตกใบอ่อนหรือมันมีอายุประมาณ 1 เดือน และหลังจากนั้นให้ฉีดพ่นเมื่อต้องการเร่งการเจริญเติบโตทุก 15-20 วัน


ระเบิดหัว เร่งหัว เพิ่มน้ำหนัก ที-เอส-3000
มันมีอายุประมาณ 4-5เดือน ใส่ สารที-เอส-3000 15 กก.ผสมปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กก.ผสมกันหว่านในอัตรา 15 -25 กก./ไร่ กระตุ้นระบบลงหัว เร่งลงหัว เพิ่มจำนวนหัว เพิ่มขนาด เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำหนัก เสริมสร้างความแข็งแรงแก่เซลล์ผิวพืช เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อต้านโรคและแมลง ช่วยปรับสภาพดินไม่ให้เป็น กรด-ด่าง เพิ่มความสมบูรณ์ให้กับดินทำให้โครงสร้างของดินโปร่ง มีรูพรุนมากขึ้น ทำให้ดินร่วนซุย

การเก็บเกี่ยว
ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน แต่อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือ 12 เดือนหลังปลูกไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝนชุก เนื่องจากหัวมันสำปะหลังจะมีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ การยืดอายุเก็บเกี่ยวจาก 12 เดือนทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณแป้งจะต่ำลง
วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้มีดตัดต้นเหนือระดับพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร ถอน ใช้จอบขุด หรือเครื่องมือขุดหัวมันสำปะหลังตัดแยกส่วนของหัวมันสำปะหลังออกจากต้น หรือเหง้า ไม่ควรมีส่วนของต้น เหง้า หรือดิน ติดปนไปกับหัวมันสดที่นำส่งโรงงาน

การปลูกแบบคอนโดหรือการปลูกแบบสับตา

ตัด ท่อนพันธุ์ให้มีความยาวประมาณ 70 เซนติเมตร นำมามัดเรียงเป็นแผงยาว 20 ลำ พาดราวไว้เพื่อให้อากาศผ่านถ่ายเท ป้องกันต้นตาย และรดน้ำสัปดาห์ละครั้ง จะช่วยรักษาต้นพันธุ์ให้เขียวสดอยู่เสมอ
การสับตา เป็นการเพิ่มจำนวนราก ช่วยเปิดทางให้เกิดหัวมันจำนวนมากขึ้น โดยใช้มีดคมสับตาออก ประมาณ 5-9 ตา ตามความเหมาะสม หัวมันจะออกตาละหัว แต่หากท่อนพันธุ์นั้นมีตาห่างกันมาก ก็ควรสับตาออกแค่ 5 ตา ก็เพียงพอ เพื่อไม่ให้หัวมันลงลึกจากหลุมปลูกมากเกินไป แต่ที่สำคัญก็คือ การสับตา ควรทำเมื่อแปลงปลูกพร้อม เมื่อสับตาแล้วควรลงปลูกทันที ไม่ควรทิ้งไว้ให้ตาท่อนพันธุ์แห้ง เมื่อท่อนพันธุ์ที่ผ่านการสับตาพร้อมแล้ว ก็นำท่อนพันธุ์มาเสียบลงหลุมโดยสังเกตให้ตาบนสุดลึกลงจากปากหลุมไม่เกิน 3 นิ้ว ไม่ควรปักลึกจนปลายท่อนพันธุ์ชิดก้นหลุม เพราะหากปลายท่อนพันธุ์ถึงก้นหลุมซึ่งจะเป็นดินแข็งทำให้ท่อนพันธุ์ไม่ออก หัว
การดูแล เมื่อปักท่อนพันธุ์เสร็จแล้ว ถ้าฝนไม่ตกหรือลงปลูกในช่วงแล้ง ควรรดน้ำในวันรุ่งขึ้นและควรรดน้ำสัปดาห์ละครั้ง เนื่องจากในช่วงที่มันสำปะหลังสร้างรากสร้างหัวก็คือในระยะ 4 เดือนแรกนี้ หลังจากนั้น จะปล่อยให้เทวดาเลี้ยงก็ได้แต่แนะนำว่า อย่างไรก็ควรให้น้ำสัปดาห์ละครั้ง ในกรณีที่ต้นเกิดใบออกมาไม่สวยออกสีแดงหรือเหลืองผิดปกติ แก้ปัญหาโดยการฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก 5-7 วัน ต่อครั้ง ฉีดในช่วงเช้าหรือเย็น และฉีดติดต่อกันนาน 3 ครั้ง
ข้อดีของการปลูกมันแบบคอนโดฯ นอกจากสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นเท่าตัวแล้ว แปลงปลูกไม่ค่อยมีหญ้าขึ้นมากมาย ซึ่งเกิดจากหัวมันอยู่ตื้นขึ้นและใช้ธาตุอาหารจากผิวดินด้วย อีกทั้งเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ก่อนนำส่งพ่อค้าหรือโรงงานต้องสับเหง้าออกแล้วส่งไปแต่หัวมัน ซึ่งการปลูกแบบเดิมมันจะออกหัวที่ปลายท่อนพันธุ์อย่างหนาแน่น เวลาสับเหง้าออกมักจะกินเนื้อมันมาก แต่สำหรับการปลูกมันแบบคอนโดฯ หัวมันที่เกิดจากการสับตาจะออกหัวแบบเดี่ยว ทำให้ง่ายต่อการตัดหัวมันส่งพ่อค้า และได้หัวมันที่เรียวยาวชัดเจน ไม่ได้สร้างความยุ่งยากในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มแต่อย่างใด

โรครากเน่าและหัวเน่า
โรคราก และหัวเน่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมาก ทำให้ผลผลิตสูญเสียโดยตรง โดยเฉพาะในแหล่งที่ดินระบายน้ำได้ยาก ฝนตกชุกเกินไปหรือในพื้นที่ที่เคยปลูกกาแฟ ยาง หรือเป็นป่าไม้มาแล้ว ในบางครั้งสามารถพบได้ในแหล่งที่ดินมีการชะล้างสูง โรคนี้สามารถเกิดได้ทั้งระยะต้นกล้า และระยะที่ลงหัวแล้ว โรครากและหัวเน่าเกิดจากเชื้อราสาเหตุหลายชนิด พบว่า สาเหตุของโรครากเน่ามีเชื้อรา 36 ชนิด บักเตรี 4 ชนิด และ Phytomonas 1 ชนิด ทำให้ยากแก่การวินิจฉัย สำหรับเชื้อราสาเหตุที่สำคัญ คือ เชื้อราในสกุล Fusarium spp. Diplodia spp. Phytophthora spp. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง P. drechsleri และ Pythium spp. ในประเทศไทย เท่าที่สำรวจพบมีอยู่ 3 ชนิด คือ
โรคหัวเน่าและ (Phytophthora Root Rot หรือ Wet Rot) เชื้อสาเหตุ Phytophtora drechsleri เชื้อ โรคนี้จะเกิดกับมันสำปะหลังทั้งในระยะกล้าและลงหัวแล้ว มักจะพบในบริเวณที่ดินมีระบบน้ำยาก และอยู่ใกล้กับทางน้ำหรือคลองโรคนี้อาจทำความเสียหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะอาการ ถ้าเกิดกับต้นยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลและเน่า ต้นจะเหี่ยวเฉา ถ้าเกิดกับหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเหม็น ใบเหี่ยวแล้วร่วง ถ้าเกิดรุนแรงต้นจะตาย มีรายงานในอัฟริกาและอเมริกาใต้ว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Phytophthora ชนิดอื่น ๆ อีกคือ P. erythoseptica และ P. cryptogea
โรคหัวเน่าแห้ง (Dry Root Rot หรือ White Thread) เชื้อสาเหตุ Rigidoporus (Fomes) lignosus เป็น โรคที่พบมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอัฟริกา ลาตินอเมริกา และเอเซียบางประเทศ ในประเทศไทยเคยพบที่จังหวัดจันทบุรี เข้าใจว่าเป็นโรคชนิดเดียวกัน มักจะพบโรคนี้ในแหล่งที่เปิดป่าใหม่ หรือเคยปลูกกาแฟและยางพารา
ลักษณะอาการ จะเกิดเส้นใยสีขาวในดินรอบโคนท่อนพันธุ์และราก บางครั้งอาจจะพบส่วนขยายพันธุ์มีลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ ขนาดเท่าเมล็ดผักกาดเรียกว่า Sclerotia ที่ สร้างโดยเชื้อรานี้อยู่ด้วยเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ นี้สามารถจะขยายพันธุ์เจริญเติบโตเป็นเส้นใยเข้าทำลายต้นอื่น ๆ ต่อไปเส้นใยของเชื้อจะเข้าทำลายก้านมันสำปะหลังทางแผลของท่อนพันธุ์หรือราก ทำให้เน่า ใบเหี่ยวและจะตายไปในที่สุดนอกจากนี้ในบางบริเวณที่ลุ่มและมีสภาพอากาศชื้น มาก พบว่ามีมันสำปะหลังบางพันธุ์ เช่น พันธุ์ระยอง 60 มีอาการลำต้นเน่า ซึ่งอาการจะลุกลามต่อไปทำให้เกิดอาการรากเน่าได้ พบว่าเกิดจากเชื้อรา Diplodia sp.
การป้องกันกำจัด เนื่องจากเชื้อสาเหตุของโรคมีหลายชนิดทั้งเชื้อราและบักเตรีและเชื้อเหล่า นี้มีความสามารถในการอยู่รอดได้ดีในดิน และมีพืชอาศัยมากชนิดทำให้การป้องกันกำจัดมีข้อจำกัด อย่างไรก็ตามอาจป้องกันโรครากและหัวเน่าได้ดังนี้
- ใช้สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยมูลสัตว์ ในอัตราปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยมูลสัตว์ 200-300 กก.สาร ที-เอส-3000 15-20 กก..หว่านรองพื้นในอัตรา 1 ไร่
- ใช้สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยชีวภาพ ในอัตราปุ๋ยชีวภาพ 100 กก. สาร ที-เอส-3000 15 กก.รองพื้นในอัตรา 1 ไร่ หลังจากหว่านรองพื้นแล้วให้ไถกลบ
- ในขณะเตรียมดินก่อนปลูกมันสำปะหลัง ให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก โดยใช้ ไฮ-แม็ก อัตรา 5 ลิตรนำมาผสมน้ำเปล่าประมาณ 1,500-2,000 ลิตร ฉีดพ่นต่อไร่เพื่อป้องกันโรคเน่าและลำต้นเน่าของมันสำปะหลัง
(1) การ เตรียมแปลงปลูกควรจะเป็นดินร่วนมีการระบายน้ำดีไม่ควรเป็นที่เคยมีน้ำท่วม ขังหรือใกล้ทางระบายน้ำ หากดินระบายน้ำยาก ควรปลูกโดยวิธียกร่อง
(2) ทำความสะอาดแปลงก่อนปลูกโดยการทำลายเศษพืชที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
(3) คัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ และปราศจากโรค
(4) ในพื้นที่โรคนี้ระบาดมาก่อนหรือที่ดินเป็นที่เปิดป่าใหม่ควรปลูกพืชหมุนเวียนด้วยธัญพืชก่อนปลูกมันสำปะหลัง เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคนี้
(5) ถ้าพบอาการรากเน่าเกินกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ควรงดปลูกพืชนานอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากเชื้อสาเหตุมีพืชอาศัยกว้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น