การปลูกมันสำปะหลัง
การเตรียมดินไถเตรียมดินก่อน 2 ครั้ง โดยไถเป็นร่องลึกประมาณ 1 ฟุต หรือ 1 เซนติเมตร
- ใช้สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยเคมี ในอัตราปุ๋ยเคมี 50 กก. สาร ที-เอส-3000 15 กก.หว่านรองพื้นในอัตรา 15-20 กก./ไร่
- ใช้สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยมูลสัตว์ ในอัตราปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยมูลสัตว์ 200-300 กก.สาร ที-เอส-3000 15-20 กก..หว่านรองพื้นในอัตรา 1 ไร่
- ใช้สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยชีวภาพ ในอัตราปุ๋ยชีวภาพ 100 กก. สาร ที-เอส-3000 15-20 กก.รองพื้นในอัตรา1 ไร่ หลังจากหว่านรองพื้นแล้วให้ไถกลบ
การคัดเลือกพันธ์และการตัดท่อนพันธ์
ตัดท่อนพันธุ์ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร มีจำนวนตาไม่น้อยกว่า 5 ตา เลือกต้นพันธุ์ใหม่และสด หรือตัดไว้นานไม่เกิน 15-30 วัน จากต้นที่สมบูรณ์ อายุ 8 - 12 เดือน ปราศจากโรคใบไหม้ หรือการทำลายของแมลงศัตรูพืช การตัดท่อนพันธ์ จะต้องตัดให้ตรงเนื่องจากถ้าตัดไม่ตรงจะทำให้มีผลต่อการผลิตหัวของมันในระยะ ยาวได้
ถ้าตัดท่อนพันธ์ไม่ตรงจะทำให้หัวออกด้านเดียว ถ้าตัดท่อนพันธ์ตรงจะทำให้หัวออกรอบทิศ หลัง จากตัดท่อนพันธ์เรียบร้อยแล้วให้นำท่อนพันธ์ด้านที่ลงปลูกลงแช่ในน้ำที่ผสม ด้วย ไฮ-แม็ก โดยแช่ท่อนพันธุ์ส่วนที่จะฝังลงในดินประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร ในอัตราส่วน น้ำ 20 ลิตร ไฮ-แม็ก 100-200 ซีซี ประมาณ 6-12 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้นำท่อนพันธ์ด้านบนลงจุ่มส่วนบนของต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้แล้ว ด้วยน้ำปูนขาว หรือปูนกินหมาก เพื่อป้องกันเชื้อราและลดการคายน้ำ ปักท่อนพันธุ์ตั้งตรงหรือเอียง ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร จำนวนต้น 1,600 - 2,500 ต้น ต่อไร่กรณียกร่องปลูก ให้ปลูกบนสันร่อง การปลูกแบบปัก เป็นวิธีการที่นิยมปลูกกันในปัจจุบันมันสำปะหลังจะงอกได้เร็วกว่า สะดวกต่อการปลูกซ่อม และกำจัดวัชพืช การปลุกแบบปักสามารถปลูกได้ทั้งปักตรงและปักเอียงจะให้ผลผลิตและคุณภาพเท่า กัน โดยปักลึกลงไปในดินประมาณ 10-15 เซนติเมตร
ร่งการเจริญเติบโตทางใบด้วย ไฮ-แม็ก
ฉีดพ่นทางใบด้วย ไฮ -แม็ก 50-100 ซีซี ประมาณ 5 -10 ฝา ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็นในเวลาที่อากาศไม่ร้อน ฉีดพ่นหลังจากมันเริ่มแตกใบอ่อนหรือมันมีอายุประมาณ 1 เดือน และหลังจากนั้นให้ฉีดพ่นเมื่อต้องการเร่งการเจริญเติบโตทุก 15-20 วัน
ระเบิดหัว เร่งหัว เพิ่มน้ำหนัก ที-เอส-3000
มันมีอายุประมาณ 4-5เดือน ใส่ สารที-เอส-3000 15 กก.ผสมปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กก.ผสมกันหว่านในอัตรา 15 -25 กก./ไร่ กระตุ้นระบบลงหัว เร่งลงหัว เพิ่มจำนวนหัว เพิ่มขนาด เพิ่มแป้ง เพิ่มน้ำหนัก เสริมสร้างความแข็งแรงแก่เซลล์ผิวพืช เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อต้านโรคและแมลง ช่วยปรับสภาพดินไม่ให้เป็น กรด-ด่าง เพิ่มความสมบูรณ์ให้กับดินทำให้โครงสร้างของดินโปร่ง มีรูพรุนมากขึ้น ทำให้ดินร่วนซุย
การเก็บเกี่ยว
ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม เก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 8 เดือน แต่อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือ 12 เดือนหลังปลูกไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝนชุก เนื่องจากหัวมันสำปะหลังจะมีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ การยืดอายุเก็บเกี่ยวจาก 12 เดือนทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณแป้งจะต่ำลง
วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้มีดตัดต้นเหนือระดับพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร ถอน ใช้จอบขุด หรือเครื่องมือขุดหัวมันสำปะหลังตัดแยกส่วนของหัวมันสำปะหลังออกจากต้น หรือเหง้า ไม่ควรมีส่วนของต้น เหง้า หรือดิน ติดปนไปกับหัวมันสดที่นำส่งโรงงาน
การปลูกแบบคอนโดหรือการปลูกแบบสับตา
ตัด ท่อนพันธุ์ให้มีความยาวประมาณ 70 เซนติเมตร นำมามัดเรียงเป็นแผงยาว 20 ลำ พาดราวไว้เพื่อให้อากาศผ่านถ่ายเท ป้องกันต้นตาย และรดน้ำสัปดาห์ละครั้ง จะช่วยรักษาต้นพันธุ์ให้เขียวสดอยู่เสมอ
การสับตา เป็นการเพิ่มจำนวนราก ช่วยเปิดทางให้เกิดหัวมันจำนวนมากขึ้น โดยใช้มีดคมสับตาออก ประมาณ 5-9 ตา ตามความเหมาะสม หัวมันจะออกตาละหัว แต่หากท่อนพันธุ์นั้นมีตาห่างกันมาก ก็ควรสับตาออกแค่ 5 ตา ก็เพียงพอ เพื่อไม่ให้หัวมันลงลึกจากหลุมปลูกมากเกินไป แต่ที่สำคัญก็คือ การสับตา ควรทำเมื่อแปลงปลูกพร้อม เมื่อสับตาแล้วควรลงปลูกทันที ไม่ควรทิ้งไว้ให้ตาท่อนพันธุ์แห้ง เมื่อท่อนพันธุ์ที่ผ่านการสับตาพร้อมแล้ว ก็นำท่อนพันธุ์มาเสียบลงหลุมโดยสังเกตให้ตาบนสุดลึกลงจากปากหลุมไม่เกิน 3 นิ้ว ไม่ควรปักลึกจนปลายท่อนพันธุ์ชิดก้นหลุม เพราะหากปลายท่อนพันธุ์ถึงก้นหลุมซึ่งจะเป็นดินแข็งทำให้ท่อนพันธุ์ไม่ออก หัว
การดูแล เมื่อปักท่อนพันธุ์เสร็จแล้ว ถ้าฝนไม่ตกหรือลงปลูกในช่วงแล้ง ควรรดน้ำในวันรุ่งขึ้นและควรรดน้ำสัปดาห์ละครั้ง เนื่องจากในช่วงที่มันสำปะหลังสร้างรากสร้างหัวก็คือในระยะ 4 เดือนแรกนี้ หลังจากนั้น จะปล่อยให้เทวดาเลี้ยงก็ได้แต่แนะนำว่า อย่างไรก็ควรให้น้ำสัปดาห์ละครั้ง ในกรณีที่ต้นเกิดใบออกมาไม่สวยออกสีแดงหรือเหลืองผิดปกติ แก้ปัญหาโดยการฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก 5-7 วัน ต่อครั้ง ฉีดในช่วงเช้าหรือเย็น และฉีดติดต่อกันนาน 3 ครั้ง
ข้อดีของการปลูกมันแบบคอนโดฯ นอกจากสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นเท่าตัวแล้ว แปลงปลูกไม่ค่อยมีหญ้าขึ้นมากมาย ซึ่งเกิดจากหัวมันอยู่ตื้นขึ้นและใช้ธาตุอาหารจากผิวดินด้วย อีกทั้งเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ก่อนนำส่งพ่อค้าหรือโรงงานต้องสับเหง้าออกแล้วส่งไปแต่หัวมัน ซึ่งการปลูกแบบเดิมมันจะออกหัวที่ปลายท่อนพันธุ์อย่างหนาแน่น เวลาสับเหง้าออกมักจะกินเนื้อมันมาก แต่สำหรับการปลูกมันแบบคอนโดฯ หัวมันที่เกิดจากการสับตาจะออกหัวแบบเดี่ยว ทำให้ง่ายต่อการตัดหัวมันส่งพ่อค้า และได้หัวมันที่เรียวยาวชัดเจน ไม่ได้สร้างความยุ่งยากในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเพิ่มแต่อย่างใด
โรครากเน่าและหัวเน่า
โรคราก และหัวเน่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมาก ทำให้ผลผลิตสูญเสียโดยตรง โดยเฉพาะในแหล่งที่ดินระบายน้ำได้ยาก ฝนตกชุกเกินไปหรือในพื้นที่ที่เคยปลูกกาแฟ ยาง หรือเป็นป่าไม้มาแล้ว ในบางครั้งสามารถพบได้ในแหล่งที่ดินมีการชะล้างสูง โรคนี้สามารถเกิดได้ทั้งระยะต้นกล้า และระยะที่ลงหัวแล้ว โรครากและหัวเน่าเกิดจากเชื้อราสาเหตุหลายชนิด พบว่า สาเหตุของโรครากเน่ามีเชื้อรา 36 ชนิด บักเตรี 4 ชนิด และ Phytomonas 1 ชนิด ทำให้ยากแก่การวินิจฉัย สำหรับเชื้อราสาเหตุที่สำคัญ คือ เชื้อราในสกุล Fusarium spp. Diplodia spp. Phytophthora spp. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง P. drechsleri และ Pythium spp. ในประเทศไทย เท่าที่สำรวจพบมีอยู่ 3 ชนิด คือ
โรคหัวเน่าและ (Phytophthora Root Rot หรือ Wet Rot) เชื้อสาเหตุ Phytophtora drechsleri เชื้อ โรคนี้จะเกิดกับมันสำปะหลังทั้งในระยะกล้าและลงหัวแล้ว มักจะพบในบริเวณที่ดินมีระบบน้ำยาก และอยู่ใกล้กับทางน้ำหรือคลองโรคนี้อาจทำความเสียหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะอาการ ถ้าเกิดกับต้นยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลและเน่า ต้นจะเหี่ยวเฉา ถ้าเกิดกับหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเหม็น ใบเหี่ยวแล้วร่วง ถ้าเกิดรุนแรงต้นจะตาย มีรายงานในอัฟริกาและอเมริกาใต้ว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Phytophthora ชนิดอื่น ๆ อีกคือ P. erythoseptica และ P. cryptogea
โรคหัวเน่าแห้ง (Dry Root Rot หรือ White Thread) เชื้อสาเหตุ Rigidoporus (Fomes) lignosus เป็น โรคที่พบมากในต่างประเทศ โดยเฉพาะในอัฟริกา ลาตินอเมริกา และเอเซียบางประเทศ ในประเทศไทยเคยพบที่จังหวัดจันทบุรี เข้าใจว่าเป็นโรคชนิดเดียวกัน มักจะพบโรคนี้ในแหล่งที่เปิดป่าใหม่ หรือเคยปลูกกาแฟและยางพารา
ลักษณะอาการ จะเกิดเส้นใยสีขาวในดินรอบโคนท่อนพันธุ์และราก บางครั้งอาจจะพบส่วนขยายพันธุ์มีลักษณะเป็นเม็ดกลมเล็ก ๆ ขนาดเท่าเมล็ดผักกาดเรียกว่า Sclerotia ที่ สร้างโดยเชื้อรานี้อยู่ด้วยเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ นี้สามารถจะขยายพันธุ์เจริญเติบโตเป็นเส้นใยเข้าทำลายต้นอื่น ๆ ต่อไปเส้นใยของเชื้อจะเข้าทำลายก้านมันสำปะหลังทางแผลของท่อนพันธุ์หรือราก ทำให้เน่า ใบเหี่ยวและจะตายไปในที่สุดนอกจากนี้ในบางบริเวณที่ลุ่มและมีสภาพอากาศชื้น มาก พบว่ามีมันสำปะหลังบางพันธุ์ เช่น พันธุ์ระยอง 60 มีอาการลำต้นเน่า ซึ่งอาการจะลุกลามต่อไปทำให้เกิดอาการรากเน่าได้ พบว่าเกิดจากเชื้อรา Diplodia sp.
การป้องกันกำจัด เนื่องจากเชื้อสาเหตุของโรคมีหลายชนิดทั้งเชื้อราและบักเตรีและเชื้อเหล่า นี้มีความสามารถในการอยู่รอดได้ดีในดิน และมีพืชอาศัยมากชนิดทำให้การป้องกันกำจัดมีข้อจำกัด อย่างไรก็ตามอาจป้องกันโรครากและหัวเน่าได้ดังนี้
- ใช้สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยมูลสัตว์ ในอัตราปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยมูลสัตว์ 200-300 กก.สาร ที-เอส-3000 15-20 กก..หว่านรองพื้นในอัตรา 1 ไร่
- ใช้สารที-เอส-3000 ผสมปุ๋ยชีวภาพ ในอัตราปุ๋ยชีวภาพ 100 กก. สาร ที-เอส-3000 15 กก.รองพื้นในอัตรา 1 ไร่ หลังจากหว่านรองพื้นแล้วให้ไถกลบ
- ในขณะเตรียมดินก่อนปลูกมันสำปะหลัง ให้ฉีดพ่นด้วย ไฮ-แม็ก โดยใช้ ไฮ-แม็ก อัตรา 5 ลิตรนำมาผสมน้ำเปล่าประมาณ 1,500-2,000 ลิตร ฉีดพ่นต่อไร่เพื่อป้องกันโรคเน่าและลำต้นเน่าของมันสำปะหลัง
(1) การ เตรียมแปลงปลูกควรจะเป็นดินร่วนมีการระบายน้ำดีไม่ควรเป็นที่เคยมีน้ำท่วม ขังหรือใกล้ทางระบายน้ำ หากดินระบายน้ำยาก ควรปลูกโดยวิธียกร่อง
(2) ทำความสะอาดแปลงก่อนปลูกโดยการทำลายเศษพืชที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
(3) คัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์ และปราศจากโรค
(4) ในพื้นที่โรคนี้ระบาดมาก่อนหรือที่ดินเป็นที่เปิดป่าใหม่ควรปลูกพืชหมุนเวียนด้วยธัญพืชก่อนปลูกมันสำปะหลัง เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคนี้
(5) ถ้าพบอาการรากเน่าเกินกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ควรงดปลูกพืชนานอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากเชื้อสาเหตุมีพืชอาศัยกว้าง
วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
การปลูกอ้อย
การปลูกอ้อย
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ สามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ มีอายุเก็บเกี่ยว 10-12 เดือน
เก็บผลผลิตได้ 2-3 ปี สภาพแวดล้อมพันธุ์และการบำรุงดูแลรักษาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตและคุณภาพของอ้อย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
อ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท ตั้งแต่ดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย พื้นที่ปลูกควรเป็นที่ราบ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยในดิน
เหนียวจัด ดินทรายจัดและดินลูกรัง ถ้าปลูกในเขตน้ำฝนควรมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มม./ปี
พันธุ์
พันธุ์อ้อยที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร และเกษตรกรนิยมปลูกอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ อู่ทอง 1,อู่ทอง 2 ,อู่ทอง 3 และ อู่ทอง 4
อู่ทอง 4 เป็นลูกผสมของอ้อยพันธุ์ EROS และ H 48-3116 ให้ผลผลิตและน้ำตาลสูง ทนทานต่อการเข้าทำลายของหนอนกอ ต้านทานโรค
แส้ดำ และโรคเหี่ยวเน่าแดง เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน
อู่ทอง 3 เป็นลูกผสมของอ้อยอู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 ให้ผลผลิตสูงในดินร่วนปนทรายที่สามารถให้น้ำได้ ให้ผลผลิต 15-16 ตัน/ไร่ CCS
มีค่า 13-14ไม่ควรปลูกในแหล่งที่มีโรคเหี่ยวเน่าแดงระบาดเพราะอ่อนแอต่อโรคนี้
อู่ทอง 2 สะสมน้ำตาลเร็ว ต้านทานโรคแส้ดำ ให้ผลผลิตสูงในดินร่วนเขตชลประทานภาคกลางและภาคตะวันตก ให้ผลผลิต 14-18 ตัน/ไร่
CCS มีค่า 13-14
อู่ทอง 1 ทนต่อการหักล้ม แตกกอดี ไว้ตอดี ในเขตน้ำฝน ให้ผลผลิต 12-15 ตัน/ไร่ เขตชลประทานให้ผลผลิต 15-20 ตัน/ไร่ CCS มีค่า
11-12 ทนทานต่อโรคใบด่างและโรคแส้ดำ
การเตรียมพันธุ์
พันธุ์อ้อยควรมาจากแปลงอ้อยที่เจริญเติบโตดี ตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรคและแมลง มีอายุประมาณ 8-10 เดือน ถ้าต้องทิ้งพันธุ์อ้อย
ที่ตัดไว้แล้วในไร่ ควรคลุมท่อนพันธุ์ด้วยใบอ้อยแห้ง เพื่อป้องกันตาอ้อยแห้ง เกษตรกรควรมีแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย อ้อยจาก
แปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 7-8 เดือน) ปลูกขยายได้ 10 ไร่ สำหรับแปลงพันธุ์ ควรแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 ํ C นาน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคใบขาว
และกอตะไคร้ จากนั้นแช่ท่อนพันธุ์มนสารเคมีโพรนิโคนาโซล อัตรา 66 ซีซี/น้ำ20 ลิตร นาน 30 นาที เพื่อป้องกันโรคแส้ดำ เหี่ยวเน่าแดง
และกลิ่นสัปปะรด
ฤดูกาลปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามฤดูกาลได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 เขต คือ
- ในเขตชลประทาน> (20% ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ) ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน
- ในเขตอาศัยน้ำฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน
2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง) สามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาค
ตะวันออก ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดีและดินเป็นดินทรายเหนือดินร่วนปนทราย การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคม-
ถึงเดือนธันวาคม
การเตรียมดิน
ไถเตรียมดินให้ลึกขณะมีความชื้นพอเหมาะ และควรลงไถดินดานทุกครั้งที่มีการรื้อตอเพื่อปลุกอ้อยใหม่ โดยไถเป็นรูปตาหมากรุก
- ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน ไม่จำเป็นต้องไถพรวนจนดินแตกละเอียด
- อ้อยปลายฝนหรือปลูกอ้้อยข้ามแล้ง ต้องไถพรวนจนหน้าดินแตกละเอียด เพื่อช่วยลดความสูญเสียความชื้นภายในดิน
ให้ช้าลง
วิธีการปลูก
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน
- ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องงกว้าง 1.4-1.5 เมตร (เดิมใช้ 1.3 เมตร) วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว เกยกันครึ่งลำหรือ
2 ลำคู่ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้
- ถ้าใช้เครื่องปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น
พร้อมปลูกได้เลย ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่ โดยจะปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่
แตกกอมาก และจะปลูกแถวคู่ ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 20-30 เซนติเมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตอาศัยน้ำฝน
วิธีการปลูกอ้อยในเขตนี้คล้ายกกับในเขตชลประทาน จะแตกต่างก็เพียงระยะห่างระหว่างร่องในบางพื้นที่จะใช้แคบกว่า
คือ ประมาณ 1.0-1.2 เมตรเพราะอ้อยในเขตนี้จะแตกกอน้อยกว่าการลดระยะแถวลงทำให้สามารถเพิ่มจำนวนลำเก็บเกี่ยวอ้อยต่อพื้นที่
ซึ่งเป็นองค์ประกอบผลผลิตหลักของอ้อยได้
การปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกอ้อยข้ามแล้ง)
การเตรียมดินปลูกจะต้องไถเตรียมดินหลายครั้ง จนหน้าดินร่วนซุย เป็นการรักษาความชื้นในดินชั้นล่าง หลังจากเตรียมดินควรมีการยกร่อง และปลูกให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันกับความชื้นและควรยกร่องปลูกต่อวัน พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้ง
จะเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแก่ คือ อายุประมาณ 8-10 เดือน เกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบทั้งลำ โดยจะชักร่องให้ลึก ระยะแถว 1.0-1.3 เมตร และวางลำอ้อยในร่องใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน กลบดินหนา 10-15 ซม.เหยียบดินกลบให้แน่น เพื่อให้ท่อนสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด
การปลูกซ่อม หากท่อนพันธุ์ใดไม่งอก ให้ปลูกซ่อมหลังการปลูกให้ปลูกซ่อมหลังการปลูก 2-3 สัปดาห์ สำหรับอ้อยตอ ไม่แนะนำให้ปลูกซ่อม เนื่องจากเปอร์เซ็นต์รอดน้อย
การใส่ปุ๋ย
อ้อยปลูกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับอ้อยปลูก
การป้องกันกำจัดวัชพืช
1. ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 4 เดือน
2. ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก เมื่อมีวัชพืชงอก
3. ใช้สารเคมี เช่น อาทิเช่น อัตรา 500-625 กรัม/ไร่ และหลังจากนั้น 2 เดือน ใช้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งก่อนวัชพืชงอก
โรคและแมลงที่สำคัญ
* โรคอ้อยที่สำคัญได้แก่ โรคใบขาว โรคแส้ดำ และโรคเหี่ยวเน่าแดง และปัจจุบันมีโรคที่พบใหม่ คือ โรคกอตะไคร้
: การป้องกันกำจัดโรคอ้อย
1. ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทาน
2. ทำลายกอที่เป็นโรค โดยการขุดออกหรือเผาทิ้ง
3. ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากกอที่เป็นโรค
4. ควรเตรียมแปลงพันธุ์เองเพื่อควบคุมโรคที่สำคัญ
(ดูการเตรียมพันธุ์)
* แมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ หนอนกอลายเล็ก หนอกอสีขาว หนอนกอสีชมพู และด้วงหนวดยาว
: การป้องกันกำจัดแมลงศัตรู
1. ปลูกพืชหมุนเวียน
2. ตัดหน่ออ้อยที่ยอดเริ่มเหี่ยวไปทำลายเพื่อกำจัดดักแด้
3. ในแหล่งที่ระบาดประจำใช้คาร์โบฟูราน ชนิดเม็ด 3% 10 กก.ไร่ หยอดร่องอ้อยก่อนกลบท่อนพันธุ์ และใส่อีกครั้ง
45 วันหลังครั้งแรก
4. ปล่อยแตนเบียนเพื่อควบคุมหนอกอ
การดูแลรักษาอ้อยตอ
การเก็บเกี่ยวควรตัดชิดดิน ไม่ต้องเผาใบหรือเศษเหลือในไร่นอกจากมีโรคและแมลงระบาด เมื่อมีความชื้นพอให้ใส่ปุ๋ย
ได้ทันที โดยใส่ปุ๋ยในปริมาณมากกว่าอ้อยปลูกครึ่งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 150 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับ
การปลูกอ้อยปีแรก การให้น้ำตามร่องควรให้ร่องเว้นร่อง ไม่จำเป็นต้องให้ทุกร่อง ถ้าการให้น้ำหรือใส่ปุ๋ยบำรุงดูแลลำบาก อาจกวาดใบ
ให้ระหว่างแถวเว้นแถว
ผลกระทบจากการเผาใบอ้อย
ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก แบ่งไดเป็น
1. การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบ
ตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความหวาน และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอ
แนวทางแก้ไข คือ ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่ ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งยินไว้ในไร่
2. การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ หลังจากที่มีหน่องอกแล้ว
และทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย แต่มีผลเสียตามมา คือ
* เป็นการทำลาบวัตถุอินทรีย์ในดิน
* ทำให้สูยเสียควสามชื้นในดินได้ง่าย
* หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
* มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
* มีหนอกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข คือ ใช้เครื่องสับใบอ้อย คลุกเคล้าลงดิน ระหว่างแถวอ้อย และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ ควรให้น้ำในอ้อนตอทันที
จะช่วยลดการตายของอ้อยตอลงได้
3. การเผาใบก่อนการเตรียมดิน เกษตรกรทำเพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาไถ
มีผลเสียตามมาคือ เป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ ดินอัดแน่นทึบ ไม่อุ้มน้ำ น้ำซึมลงได้ยาก
แนวทางแก้ไข คือการใช้จอบหมุนสับเศษอ้อย และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรียมดิน ทำให้ไม่ต้องเผาใบอ้อยก่อนการเตรียมดิน
อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ สามารถปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ มีอายุเก็บเกี่ยว 10-12 เดือน
เก็บผลผลิตได้ 2-3 ปี สภาพแวดล้อมพันธุ์และการบำรุงดูแลรักษาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลิตและคุณภาพของอ้อย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
อ้อยสามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกประเภท ตั้งแต่ดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย พื้นที่ปลูกควรเป็นที่ราบ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกอ้อยในดิน
เหนียวจัด ดินทรายจัดและดินลูกรัง ถ้าปลูกในเขตน้ำฝนควรมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มม./ปี
พันธุ์
พันธุ์อ้อยที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร และเกษตรกรนิยมปลูกอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ อู่ทอง 1,อู่ทอง 2 ,อู่ทอง 3 และ อู่ทอง 4
อู่ทอง 4 เป็นลูกผสมของอ้อยพันธุ์ EROS และ H 48-3116 ให้ผลผลิตและน้ำตาลสูง ทนทานต่อการเข้าทำลายของหนอนกอ ต้านทานโรค
แส้ดำ และโรคเหี่ยวเน่าแดง เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน
อู่ทอง 3 เป็นลูกผสมของอ้อยอู่ทอง 1 และอู่ทอง 2 ให้ผลผลิตสูงในดินร่วนปนทรายที่สามารถให้น้ำได้ ให้ผลผลิต 15-16 ตัน/ไร่ CCS
มีค่า 13-14ไม่ควรปลูกในแหล่งที่มีโรคเหี่ยวเน่าแดงระบาดเพราะอ่อนแอต่อโรคนี้
อู่ทอง 2 สะสมน้ำตาลเร็ว ต้านทานโรคแส้ดำ ให้ผลผลิตสูงในดินร่วนเขตชลประทานภาคกลางและภาคตะวันตก ให้ผลผลิต 14-18 ตัน/ไร่
CCS มีค่า 13-14
อู่ทอง 1 ทนต่อการหักล้ม แตกกอดี ไว้ตอดี ในเขตน้ำฝน ให้ผลผลิต 12-15 ตัน/ไร่ เขตชลประทานให้ผลผลิต 15-20 ตัน/ไร่ CCS มีค่า
11-12 ทนทานต่อโรคใบด่างและโรคแส้ดำ
การเตรียมพันธุ์
พันธุ์อ้อยควรมาจากแปลงอ้อยที่เจริญเติบโตดี ตรงตามพันธุ์ ปราศจากโรคและแมลง มีอายุประมาณ 8-10 เดือน ถ้าต้องทิ้งพันธุ์อ้อย
ที่ตัดไว้แล้วในไร่ ควรคลุมท่อนพันธุ์ด้วยใบอ้อยแห้ง เพื่อป้องกันตาอ้อยแห้ง เกษตรกรควรมีแปลงพันธุ์อ้อยไว้ใช้เองเพื่อลดค่าใช้จ่าย อ้อยจาก
แปลงพันธุ์ 1 ไร่ (อายุ 7-8 เดือน) ปลูกขยายได้ 10 ไร่ สำหรับแปลงพันธุ์ ควรแช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน 50 ํ C นาน 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันโรคใบขาว
และกอตะไคร้ จากนั้นแช่ท่อนพันธุ์มนสารเคมีโพรนิโคนาโซล อัตรา 66 ซีซี/น้ำ20 ลิตร นาน 30 นาที เพื่อป้องกันโรคแส้ดำ เหี่ยวเน่าแดง
และกลิ่นสัปปะรด
ฤดูกาลปลูก
การปลูกอ้อยในปัจจุบัน สามารถแบ่งตามฤดูกาลได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. การปลูกอ้อยต้นฝน ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 เขต คือ
- ในเขตชลประทาน> (20% ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ) ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-เมษายน
- ในเขตอาศัยน้ำฝน ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน
2. การปลูกอ้อยปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง) สามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาค
ตะวันออก ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดีและดินเป็นดินทรายเหนือดินร่วนปนทราย การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคม-
ถึงเดือนธันวาคม
การเตรียมดิน
ไถเตรียมดินให้ลึกขณะมีความชื้นพอเหมาะ และควรลงไถดินดานทุกครั้งที่มีการรื้อตอเพื่อปลุกอ้อยใหม่ โดยไถเป็นรูปตาหมากรุก
- ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน ไม่จำเป็นต้องไถพรวนจนดินแตกละเอียด
- อ้อยปลายฝนหรือปลูกอ้้อยข้ามแล้ง ต้องไถพรวนจนหน้าดินแตกละเอียด เพื่อช่วยลดความสูญเสียความชื้นภายในดิน
ให้ช้าลง
วิธีการปลูก
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน
- ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องงกว้าง 1.4-1.5 เมตร (เดิมใช้ 1.3 เมตร) วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว เกยกันครึ่งลำหรือ
2 ลำคู่ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้
- ถ้าใช้เครื่องปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น
พร้อมปลูกได้เลย ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่ โดยจะปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่
แตกกอมาก และจะปลูกแถวคู่ ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 20-30 เซนติเมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย
การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตอาศัยน้ำฝน
วิธีการปลูกอ้อยในเขตนี้คล้ายกกับในเขตชลประทาน จะแตกต่างก็เพียงระยะห่างระหว่างร่องในบางพื้นที่จะใช้แคบกว่า
คือ ประมาณ 1.0-1.2 เมตรเพราะอ้อยในเขตนี้จะแตกกอน้อยกว่าการลดระยะแถวลงทำให้สามารถเพิ่มจำนวนลำเก็บเกี่ยวอ้อยต่อพื้นที่
ซึ่งเป็นองค์ประกอบผลผลิตหลักของอ้อยได้
การปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกอ้อยข้ามแล้ง)
การเตรียมดินปลูกจะต้องไถเตรียมดินหลายครั้ง จนหน้าดินร่วนซุย เป็นการรักษาความชื้นในดินชั้นล่าง หลังจากเตรียมดินควรมีการยกร่อง และปลูกให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทันกับความชื้นและควรยกร่องปลูกต่อวัน พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้ง
จะเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแก่ คือ อายุประมาณ 8-10 เดือน เกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบทั้งลำ โดยจะชักร่องให้ลึก ระยะแถว 1.0-1.3 เมตร และวางลำอ้อยในร่องใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน กลบดินหนา 10-15 ซม.เหยียบดินกลบให้แน่น เพื่อให้ท่อนสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด
การปลูกซ่อม หากท่อนพันธุ์ใดไม่งอก ให้ปลูกซ่อมหลังการปลูกให้ปลูกซ่อมหลังการปลูก 2-3 สัปดาห์ สำหรับอ้อยตอ ไม่แนะนำให้ปลูกซ่อม เนื่องจากเปอร์เซ็นต์รอดน้อย
การใส่ปุ๋ย
อ้อยปลูกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับอ้อยปลูก
การป้องกันกำจัดวัชพืช
1. ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 4 เดือน
2. ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก เมื่อมีวัชพืชงอก
3. ใช้สารเคมี เช่น อาทิเช่น อัตรา 500-625 กรัม/ไร่ และหลังจากนั้น 2 เดือน ใช้ซ้ำอีกครั้งหนึ่งก่อนวัชพืชงอก
โรคและแมลงที่สำคัญ
* โรคอ้อยที่สำคัญได้แก่ โรคใบขาว โรคแส้ดำ และโรคเหี่ยวเน่าแดง และปัจจุบันมีโรคที่พบใหม่ คือ โรคกอตะไคร้
: การป้องกันกำจัดโรคอ้อย
1. ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทาน
2. ทำลายกอที่เป็นโรค โดยการขุดออกหรือเผาทิ้ง
3. ไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากกอที่เป็นโรค
4. ควรเตรียมแปลงพันธุ์เองเพื่อควบคุมโรคที่สำคัญ
(ดูการเตรียมพันธุ์)
* แมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ หนอนกอลายเล็ก หนอกอสีขาว หนอนกอสีชมพู และด้วงหนวดยาว
: การป้องกันกำจัดแมลงศัตรู
1. ปลูกพืชหมุนเวียน
2. ตัดหน่ออ้อยที่ยอดเริ่มเหี่ยวไปทำลายเพื่อกำจัดดักแด้
3. ในแหล่งที่ระบาดประจำใช้คาร์โบฟูราน ชนิดเม็ด 3% 10 กก.ไร่ หยอดร่องอ้อยก่อนกลบท่อนพันธุ์ และใส่อีกครั้ง
45 วันหลังครั้งแรก
4. ปล่อยแตนเบียนเพื่อควบคุมหนอกอ
การดูแลรักษาอ้อยตอ
การเก็บเกี่ยวควรตัดชิดดิน ไม่ต้องเผาใบหรือเศษเหลือในไร่นอกจากมีโรคและแมลงระบาด เมื่อมีความชื้นพอให้ใส่ปุ๋ย
ได้ทันที โดยใส่ปุ๋ยในปริมาณมากกว่าอ้อยปลูกครึ่งหนึ่ง ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 150 กก./ไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง เช่นเดียวกับ
การปลูกอ้อยปีแรก การให้น้ำตามร่องควรให้ร่องเว้นร่อง ไม่จำเป็นต้องให้ทุกร่อง ถ้าการให้น้ำหรือใส่ปุ๋ยบำรุงดูแลลำบาก อาจกวาดใบ
ให้ระหว่างแถวเว้นแถว
ผลกระทบจากการเผาใบอ้อย
ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก แบ่งไดเป็น
1. การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบ
ตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความหวาน และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอ
แนวทางแก้ไข คือ ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่ ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งยินไว้ในไร่
2. การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ หลังจากที่มีหน่องอกแล้ว
และทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย แต่มีผลเสียตามมา คือ
* เป็นการทำลาบวัตถุอินทรีย์ในดิน
* ทำให้สูยเสียควสามชื้นในดินได้ง่าย
* หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
* มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
* มีหนอกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข คือ ใช้เครื่องสับใบอ้อย คลุกเคล้าลงดิน ระหว่างแถวอ้อย และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ ควรให้น้ำในอ้อนตอทันที
จะช่วยลดการตายของอ้อยตอลงได้
3. การเผาใบก่อนการเตรียมดิน เกษตรกรทำเพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาไถ
มีผลเสียตามมาคือ เป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ ดินอัดแน่นทึบ ไม่อุ้มน้ำ น้ำซึมลงได้ยาก
แนวทางแก้ไข คือการใช้จอบหมุนสับเศษอ้อย และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรียมดิน ทำให้ไม่ต้องเผาใบอ้อยก่อนการเตรียมดิน
การเลี้ยงปลาสวยงาม
หลักการเลี้ยงปลาสวยงาม
จากการที่การเลี้ยงปลาสวยงามมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆให้ทันสมัยดูสวยงามมากขึ้น ทำให้มีผู้สนใจเลี้ยงปลาสวยงามกันมากขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เลี้ยงเป็นงานอดิเรกเพื่อความเพลิดเพลิน เลี้ยงเป็นอาชีพเสริมและเลี้ยงเป็นอาชีพหลัก ถึงแม้การเลี้ยงปลาสวยงามจะดูเป็นเรื่องง่าย แต่ก็มีผู้เลี้ยงหลายรายที่ประสบปัญหาปลาเกิดโรค และปลาตาย ทำให้ถึงกับเลิกเลี้ยงไปบ้างก็มี ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้อง ผู้เลี้ยงควรจะต้องทราบหรือเข้าใจเพื่อป้องกันความผิดพลาดตั้งแต่เริ่มต้น หรือผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นอาชีพ ก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ศึกษาหาความรู้ และประสบการณ์ในการเลี้ยงปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีความสนใจ และหมั่นสังเกตุลักษณะอาการของปลาอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จได้
สิ่งสำคัญที่ควรจะได้ทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง คือ ความเป็นอยู่ของปลาและลักษณะของการเลี้ยงปลาสวยงาม ที่กระทำกันอยู่โดยทั่วไป ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า การเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่แคบๆ ในสภาพขาดการเปลี่ยนแปลงน้ำ คุณภาพน้ำจะถูกควบคุมโดยขนาดและจำนวนสัตว์น้ำ กับปริมาณการให้อาหาร กล่าวคือการเลี้ยงปลาสวยงามโดยทั่วไป เมื่อผู้เลี้ยงซื้อตู้ปลาและปลามาจัดเลี้ยงเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีแต่การให้อาหารปลาเท่านั้น มักจะไม่มีการถ่ายเทน้ำหรือเปลี่ยนน้ำในตู้เลี้ยงปลา แต่ที่เห็นว่าปลามีลักษณะอาการสดชื่นเป็นปกติ และเห็นน้ำใสสะอาด เนื่องจากมีระบบการเพิ่มอากาศ(ออกซิเจน)และมีการกรองน้ำด้วยระบบต่างๆ ซึ่งผู้เลี้ยงได้รับการแนะนำมาจากผู้ขายจากร้านขายปลาสวยงามนั่นเอง จากสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวถึงแม้จะดูเหมือนว่าไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับปลาที่เลี้ยง แต่ถ้าผู้เลี้ยงปล่อยปละละเลยไม่ทำความสะอาดระบบกรองเลย จะพบว่าปลาที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตน้อยมาก คือขนาดตัวยังเท่าเดิม สีสันไม่สดใสแต่กลับจะซีดลง จนถึงระยะหนึ่งปลาจะมีอาการผิดปกติ เกิดการติดเชื้อ แล้วปลาส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดจะตายไป
ดังนั้นหากผู้เลี้ยงได้พยายามศึกษาทำความเข้าใจเรื่องความต้องการของปลา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้ปลาสวยงามที่เลี้ยงมีความสมบูรณ์ สวยงาม หรือประสบผลสำเร็จในกิจการเลี้ยงปลาสวยงามได้
1 การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยง
การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงภายในตู้ใดตู้หนึ่ง ผู้เลี้ยงจะต้องเลือกปลาให้ถูกต้อง จึงจะทำให้ได้ปลาสวยงามไว้ดูตามที่ต้องการ โดยที่ไม่มีภาระยุ่งยากจนเกินไป หลักการสำคัญสำหรับการเลือกชนิดปลามีดังนี้
1.1 ชนิดของปลาสวยงามที่จะเลือกเลี้ยง การเลือกชนิดปลานั้นย่อมต้องขึ้นกับความชอบของแต่ละบุคคล เนื่องจากปลาสวยงามที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบันมีมากมายถึง 100 กว่าชนิด แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นว่าสวยงามทั้งหมด ดั้งนั้นการเลือกชนิดปลาก็จะขึ้นกับความชอบของแต่ละคนเป็นหลัก โดยอาจใช้หลักต่อไปนี้ช่วยพิจารณาด้วย คือ
1.1.1 ความสวยงามกับปัจจัยการเลี้ยง ความสวยงามของปลามีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางคนอาจชอบปลาขนาดเล็กๆที่มีสีสันฉูดฉาด ว่ายน้ำไปมาตลอดเวลา เช่นพวกปลาหางนกยูงปลาสอด และปลาซิวชนิดต่างๆ บางคนอาจชอบปลาที่ว่ายน้ำช้าๆดูสง่างาม เช่นปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา หรือบางคนอาจชอบปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาออสการ์ ปลามังกร ปลากราย และปลาแรด ปลาที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้บางชนิดมีความต้องการความจำเพาะในระหว่างการเลี้ยง เช่นปลานีออน และปลาปอมปาดัวร์ ต้องการอุณหภูมิน้ำค่อนข้างสูง ทำให้ต้องมีการใช้เครื่องให้ความร้อนช่วยในช่วงฤดูหนาว มิฉะนั้นปลาจะตายได้ง่าย ปลาบางชนิดต้องการอาหารที่มีชีวิตหรืออาหารสด เช่นปลามังกร ผู้เลี้ยงต้องเข้าใจการเตรียมอาหารไว้ให้ปลา ปลาบางชนิดเป็นปลาขนาดใหญ่ เช่นปลามังกร ปลาออสการ์ ปลากราย และปลาแรด จำเป็นต้องใช้ตู้ขนาดใหญ่ ดังนั้นการเลือกชนิดปลาอาจทำให้เกิดภาระแก่ผู้เลี้ยงมากเกินกว่าที่คาดคิดไว้ จึงควรที่จะต้องศึกษาข้อมูลของปลาที่ต้องการเลี้ยง โดยอาจหาอ่านจากเอกสาร ตำราซึ่งมีผู้เขียนออกมาจำหน่ายกันมากขึ้น หรือสอบถามจากร้านขายปลาสวยงามก็จะช่วยให้เลือกปลาได้อย่างเหมาะสม
1.1.2 ความหลากหลาย ผู้เลี้ยงควรจะต้องรู้ว่าปลาที่ต้องการเลี้ยงนั้นมีความหลากหลายทางสายพันธุ์อย่างไรบ้าง เนื่องจากปลาเป็นสัตว์ที่ให้ลูกในแต่ละครั้งได้เป็นจำนวนมาก และสามารถผสมข้ามสายพันธุ์หรือข้ามพันธุ์ได้โดยการดำเนินการของมนุษย์ ทำให้ปลาบางกลุ่มหรือบางชนิดค่อนข้างมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ ดังนั้นลักษณะของปลาที่เห็นนั้นอาจไม่ใช่ลักษณะแท้ของสายพันธุ์ก็ได้ ตัวอย่างเช่น ปลาทอง ปลาเทวดา ปลาหางนกยูง และปลาสอดชนิดต่างๆ จะมีความหลากหลายของสายพันธุ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากปลาเหล่านี้มีการเพาะเลี้ยงกันมานาน และมีการคัดลักษณะเด่นของลูกปลาที่ได้นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ หรือผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาจากแหล่งอื่นๆ ทำให้ได้ปลาที่มีรูปทรง สีสัน และลักษณะครีบแตกต่างกันออกไป ผู้เลี้ยงปลาหลายรายที่หลงเชื่อซื้อปลาลักษณะเด่นๆตามที่ต้องการ เพื่อนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ แต่เมื่อดำเนินการเพาะพันธุ์แล้ว พบว่าลูกปลาที่ออกมาจะมีรูปร่างหลายลักษณะเช่นกัน ดังนั้นควรจะได้ศึกษาว่าปลาชนิดใดหรือกลุ่มใดมีความหลากหลายทางสายพันธุ์อย่างไรบ้าง หากนำมาเลี้ยงปะปนกันแล้วจะทำให้เกิดปัญหาการผสมข้ามสายพันธุ์ได้หรือไม่
1.1.3 ความต้องการของตลาด หากจะดำเนินการเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อเป็นการค้า จำเป็นต้องศึกษาการตลาดของปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะตลาดในพื้นที่ว่ามีความต้องการปลาสวยงามชนิดใด ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จได้ง่าย เช่น ปลากัด และปลาหางนกยูง เป็นปลาที่ตลาดมีความต้องการสูงมากทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศ ร้านขายปลาสวยงามที่เปิดขายในจังหวัดต่างๆนั้น จะไม่ดำเนินการเพาะเลี้ยงปลากัด และปลาหางนกยูงขึ้นมาเอง แต่จะเข้าไปหาซื้อมาจากกรุงเทพฯ ดังนั้นการดำเนินการเพาะเลี้ยงปลากัด และปลาหางนกยูง ตามจังหวัดต่างๆ ก็น่าที่จะสามารถหาตลาดได้ไม่ยากนัก ตัวอย่างเช่นในจังหวัดขอนแก่น มีความต้องการปลากัดเฉลี่ยอย่างน้อยเดือนละ 10,000 ตัว
1.2 นิสัยของปลาสวยงาม จากจำนวนปลาสวยงามที่มีอยู่มากมาย การเลือกเลี้ยงปลาสวยงามนอกจากจะเลือกที่ความสวยงามแล้ว ยังต้องศึกษานิสัยของปลาให้รอบคอบด้วย เนื่องจากปลาบางชนิดจะมีนิสัยดุร้าย เกเร หากนำไปเลี้ยงปะปนกัน อาจมีปลาบางชนิดที่ถูกทำร้ายหรือถูกจับกินเป็นอาหารได้ หลักการพิจารณานิสัยของปลามีดังนี้
1.2.1 นิสัยการกินอาหารของปลา การเลือกเลี้ยงปลาสวยงามควรจะต้องรู้ว่าปลาที่จะเลี้ยงนั้นปกติกินอาหารประเภทใดเป็นหลัก ซึ่งจากจำนวนชนิดปลาสวยงามที่มีอยู่มากมายนั้น จะเห็นความแตกต่างของลักษณะอาหารที่ปลาชอบกินได้อย่างเด่นชัด การจัดแบ่งกลุ่มนิสัยการกินอาหารของปลามีดังนี้
(1) ปลากินพืช(Forage or Herbivorous Fishes) หมายถึงปลาที่ปกติจะหากินพวกพืชเป็นอาหารหลัก เช่น กินรากหรือใบพืช รวมทั้งตะไคร่น้ำ ตัวอย่างปลาพวกนี้ ได้แก่ ปลาสร้อย และปลาตะเพียนชนิดต่างๆ ปลากลุ่มนี้สามารถเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปได้ดี
(2) ปลากินเนื้อ(Carnivorous Fishes) หมายถึงปลาที่ปกติจะหากินพวกเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ซึ่งมีทั้งที่ชอบไล่ล่าเหยื่อที่มีชีวิตหรือกัดแทะซากของสิ่งมีชีวิต ปลาพวกนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกดังนี้
* ปลาล่าเหยื่อ(Piscivores or Predator) เป็นปลาที่ชอบไล่ล่าเหยื่อที่มีชีวิต จัดว่าเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย อาหารในธรรมชาติจะเป็นลูกปลา ปลาขนาดเล็ก กุ้ง ลูกกบ และลูกเขียด ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ เช่น ปลามังกร ปลากราย ปลาตองลาย ปลากระทิง ปลาชะโด ปลาเสือตอ ปลาบู่ ปลาปักเป้า และปลา Gar (ปลาต่างประเทศ) ปลาพวกนี้หัดให้กินอาหารสำเร็จรูปค่อนข้างยาก ยังคงชอบกินอาหารมีชีวิต ผู้เลี้ยงต้องซื้อปลาเหยื่อมาใช้เลี้ยง หรือพยายามหัดให้กินเนื้อปลาสดหั่นเป็นชิ้นๆก็สามารถทำได้
* ปลาแทะซาก(Scavenger) เป็นปลาที่กินอาหารประเภทเนื้อแต่เป็นพวกที่ตายแล้ว ชอบกัดแทะหรือฮุบกินทั้งชิ้น ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ เช่น ปลากด ปลาแขยง และปลาดุก ปลาพวกนี้ให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี
* ปลากินแมลงและตัวอ่อนของแมลง(Insectivores) เป็นปลาที่ชอบกินอาหารที่มีชีวิตเช่นกัน แต่เป็นพวกตัวอ่อนของแมลงหรือแมลงขนาดเล็กต่างๆ เช่น ลูกน้ำ หนอนแดง ไรแดง มวนวน และมวนกรรเชียง ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ได้แก่ ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเสือพ่นน้ำ และปลากัด ปลาพวกนี้ปกติหัดให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ยาก แต่เนื่องจากมีการเลี้ยงมาหลายชั่วอายุของปลา ทำให้ปลากินอาหารสำเร็จรูปได้ดีขึ้น เช่น ปลาเทวดา และปลากัด ส่วนปลาปอมปาดัวร์ และปลาเสือพ่นน้ำ ถ้าเลี้ยงไว้จำนวนหลายตัวก็จะสามารถหัดให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ เนื่องจากจะมีปลาตัวใดตัวหนึ่งขึ้นกิน แล้วตัวอื่นที่เห็นจะขึ้นกินตามกัน แต่เมื่อซื้อมาเลี้ยงเพียงไม่กี่ตัวจะไม่ค่อยยอมกินอาหารสำเร็จรูป อาจต้องให้อาหารพิเศษ เช่น หนอนแดงอบแห้ง หรืออาหารสำเร็จรูปชนิดพิเศษ
* ปลากินแพลงตอนสัตว์(Zooplankton Feeder) เป็นปลาที่ชอบกินพวกสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ได้แก่ ไรน้ำชนิดต่างๆ ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ได้แก่ พวกปลาสวยงามที่มีขนาดเล็ก เช่นปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาม้าลาย ปลานีออน และปลาซิวอื่นๆ ปลาพวกนี้ให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งในปัจจุบันมีอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดเล็กพิเศษเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารปลาพวกนี้
(3) ปลากินทั้งเนื้อและพืช(Omnivorous Fishes) หมายถึงปลาที่ไม่เจาะจงชนิดของอาหารสามารถกินอาหารได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลง ลูกกุ้ง และลูกปลาขนาดเล็ก ตัวอย่างปลาพวกนี้ได้แก่ ปลาทอง ปลาคาร์พ และปลาหมอชนิดต่างๆ ปลาพวกนี้ค่อนข้างตะกละหากินอาหารตลอดเวลา จึงให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ดีมาก
1.2.2 การอยู่ร่วมกัน ผู้เลี้ยงปลาสวยงามส่วนใหญ่มักนิยมเลี้ยงปลาหลายชนิดภายในตู้เดียวกัน เพื่อจะได้เห็นปลาหลายลักษณะและหลายสีสัน ถึงแม้ปลาที่เลือกเลี้ยงจะไม่ถูกระบุว่าเป็นปลาที่ล่าเหยื่อหรือทำอันตรายปลาอื่น แต่หากพิจารณาให้ดีจะพบว่ามีปลาบางชนิดมีการทำอันตรายกันเสมอ ทำให้ปลากลุ่มหนึ่งถูกทำลายหรือเกิดการติดเชื้อจนตายได้ ตัวอย่างเช่นการเลี้ยงปลาทองร่วมกับปลาหางนกยูงและปลานีออน ถ้าปลาทองมีขนาดเล็กก็จะไม่ทำอันตรายปลาทั้งสองชนิด แต่เมื่อปลาทองมีขนาดใหญ่ขึ้น จากนิสัยที่กินอาหารเก่งและมักว่ายน้ำหาอาหารตลอดเวลา ก็มักจะทำอันตรายปลาหางนกยูงและปลานีออนจนตาย โดยเฉพาะเวลากลางคืนเมื่อปิดไฟปลาทั้งสองชนิดจะเชื่องช้า ทำให้ถูกทำอันตรายได้ง่าย ยิ่งถ้าเป็นลูกปลาก็มักจะถูกปลาทองไล่จับกินอย่างง่ายดาย แต่ถ้านำปลาทองไปเลี้ยงร่วมกับปลาสอดชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาหางดาบ ปลาสอดแดง ปลาสอดดำ หรือปลาเซลฟิน ซึ่งปลาเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าปลาหางนกยูง และค่อนข้างมีความว่องไว พวกปลาสอดจะกลายเป็นตัวทำอันตรายปลาทอง ถึงแม้ว่าปลาสอดจะมีขนาดเล็กกว่าปลาทองมาก แต่จากการที่มีความว่องไวและมักเข้าไปกัดแทะหรือตอดตามตัวและครีบของปลาทอง จะค่อยๆทำให้ปลาเกิดบาดแผล หรือปลาที่มีบาดแผลอยู่แล้วก็ยิ่งชอบเข้าไปกัดแทะบริเวณแผลเพื่อกินเนื้อเยื่อ ทำให้ปลาบอบช้ำเนื่องจากแผลไม่หายและมักขยายลุกลามติดเชื้ออื่นๆมากขึ้น ดังนั้นการเลี้ยงปลาทองร่วมกับปลาสอด ผู้เลี้ยงจึงมักพบว่าปลาทองเกิดแผลเป็นโรครักษายากและมักตายไป หรือการเลี้ยงปลาเสือสุมาตราร่วมกับปลานีออน ปลาเสือสุมาตราจะค่อนข้างมีความดุร้ายในฤดูกาลผสมพันธุ์ ก็มักจะทำอันตรายปลานีออนจนตายได้ จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงร่วมกัน จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาพิจารณาให้รอบคอบ
1.3 ความอดทนของปลา ปลาแต่ละชนิดจะมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ต่างกัน จากการที่ปลาสวยงามถูกนำมาเลี้ยงไว้ในพื้นที่แคบๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างกระทันหันย่อมเกิดได้ตลอดเวลา เช่น การให้อาหารมากเกินไปจนเศษอาหารไปหมักหมมบูดเน่าอยู่ในวัสดุกรอง หรือการเปลี่ยนน้ำใหม่โดยขาดประสบการณ์ เติมน้ำที่มีคลอรีนสูงมากเกินไป หรือปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องทำให้เครื่องให้อากาศและระบบกรองน้ำไม่ทำงาน ซึ่งหากเกิดเป็นเวลานานเกินกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป ปริมาณออกซิเจนจะลดต่ำลง ปลาจะได้รับอันตรายมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นกับขนาดและจำนวนปลาที่เลี้ยง ดังนั้นการเลือกชนิดปลาก็ยังอาจต้องพิจารณาถึงความอดทนของปลาประกอบด้วย เช่น ปลาหางไหม้ และปลานีออน ถูกกระทบจากปริมาณคลอรีนจนมีผลทำให้ปลาตายได้อย่างง่ายดาย ปลาปอมปาดัวร์ และปลานีออน ไม่อดทนต่อสภาพอุณหภูมิต่ำ กลุ่มปลาตะเพียน ปลากาแดง ปลาทรงเครื่อง ปลาทอง ปลาคาร์พ และปลาสร้อยชนิดต่างๆ ไม่อดทนต่อสภาพการขาดออกซิเจน สำหรับปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี จัดว่าเป็นปลาที่มีความอดทนไม่ตายง่ายๆก็มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาสอดชนิดต่างๆ ปลากระดี่ชนิดต่างๆ ปลาชะโด และปลาแรด นอกจากนั้นยังอาจใช้วิธีการป้องกันร่วมด้วย เช่น ใช้เครื่องให้ความร้อน (Heater) ควบคุมอุณหภูมิในฤดูหนาว หรือเตรียมเครื่องให้อากาศที่ใช้ไฟจากถ่านไฟฉายสำรองไว้ ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ปลาได้
1.4 การขยายพันธุ์ การแพร่ พันธุ์ของปลาค่อนข้างแตกต่างจากการแพร่พันธุ์ของสัตว์บกโดยทั่วไป คือปลาส่วนใหญ่จะออกลูกเป็นไข่ และเป็นการผสมพันธุ์ภายนอกตัวแม่ โดยพ่อแม่พันธุ์ปลาจะปล่อยน้ำเชื้อและไข่ออกมาผสมกันในน้ำ นอกจากนั้นลักษณะของไข่ปลายังมีรูปแบบแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งประเภทของไข่ปลาและวิธีการเพาะพันธุ์ปลาจะได้กล่าวโดยละเอียดในหัวข้อ การเพาะพันธุ์ปลา สำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อเป็นการค้า จำเป็นต้องศึกษาวิธีการเพาะและอนุบาลลูกปลาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จได้ดีขึ้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงปลาสวยงามเป็นงานอดิเรก หากต้องการเห็นลูกปลาที่เกิดจากปลาที่เลี้ยงไว้เอง ก็อาจจะต้องเลือกปลาที่มีการแพร่พันธุ์อย่างง่ายๆ และลูกปลามีอัตราการรอดดีเนื่องจากกินอาหารได้ง่าย ซึ่งจะได้แก่กลุ่มปลาที่ออกลูกเป็นตัว ปลาพวกนี้มีจำนวนชนิดอยู่ไม่มากนัก และส่วนใหญ่ถูกนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่มีจำนวนไข่หรือลูกไม่มาก เมื่อเทียบกับปลาที่ออกลูกเป็นไข่ แต่ปลาพวกนี้มักจะออกลูกได้เกือบตลอดปี โดยจะออกลูกครั้งละ 30 - 100 ตัว ลูกปลาที่คลอดออกมาจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับลูกปลาของปลาที่ออกลูกเป็นไข่ และค่อนข้างมีความแข็งแรง ว่ายน้ำหลบหนีศัตรู(ซึ่งรวมทั้งพ่อแม่ของตัวเอง)ได้ทันทีที่คลอดออกจากท้อง แม่ปลา ตัวอย่างของปลาที่ออกลูกเป็นตัวได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาสอดชนิดต่างๆ และปลา เข็ม
2 วิธีการเลือกซื้อปลาสวยงาม
เมื่อตัดสินใจว่าจะเลี้ยงปลาสวยงามและได้ตัดสินใจเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงแล้ว ขั้นตอนสำคัญอันดับต่อไปคือการไปร้านขายปลาสวยงาม เพื่อเลือกซื้อปลาที่ต้องการมาเลี้ยง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญเช่นกัน เพราะหากได้ปลาที่ไม่แข็งแรง ไม่สมบูรณ์ หรือมีเชื้อโรคติดมา ปลาที่ซื้อมาเลี้ยงอาจตายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน หรืออาจต้องทนเลี้ยงปลาที่ไม่สมสัดส่วนหรือไม่สมประกอบไปอีกนาน วิธีการเลือกซื้อปลาควรจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
2.1 ควรเลือกซื้อปลาในเวลากลางวัน เนื่องจากจะสังเกตสีสันที่แท้จริงของปลาได้ดี แต่ในปัจจุบันการจัดตู้ปลามีความทันสมัยมากขึ้น โดยร้านขายปลาสวยงามมักจะติดหลอดไฟพวกแสงสะท้อน แล้วเปิดไว้ตลอดเวลาเพื่อทำให้เห็นปลามีสีสดใสมากกว่าที่เป็นจริง
2.2 สังเกตสภาพของตัวปลา คือเลือกปลาที่ไม่มีร่องรอยความบอบช้ำ เช่นเกล็ดหลุด ครีบแหว่ง หรือมีแผลตามลำตัว เพราะอาจเป็นปลาที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากการลำเลียง หรือมีการระบาดของโรคพยาธิเกิดขึ้น ถ้าเลือกซื้อปลาที่บอบช้ำมาเลี้ยงอาจเกิดการติดเชื้อต่างๆได้ ยิ่งถ้ามีการระบาดของโรคพยาธิอยู่แล้ว ปลาที่เลือกซื้อมาก็มักจะตายหมด
2.3 สังเกตลักษณะการว่ายน้ำหรือการทรงตัวของปลา ควรสังเกตว่าชนิดปลาที่จะซื้อมีลักษณะการว่ายน้ำอย่างไร เช่น พวกปลานีออน ปลาเสือสุมาตรา ปลาสอด และปลาซิวชนิดอื่นๆ มักชอบว่ายน้ำวนเวียนไปมาตลอดเวลาบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ต้องไม่เซื่องซึมลงไปพักอยู่ก้นตู้หรือลอยตัวอยู่แต่ผิวน้ำ พวกปลาเทวดา และปลาปอมปาดัวร์ ชอบว่ายน้ำช้าๆลักษณะเป็นสง่า ต้องไม่ไปซุกตามหินหรือมุมตู้
2.4 สังเกตลักษณะการกางของครีบต่างๆ คือปลาปกติที่ไม่มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อหรือการเกิดโรค จะกางครีบออกเกือบตลอดเวลา แต่ปลาที่มีอาการผิดปกติมักจะหุบครีบลู่ติดตัวไม่ค่อยกางออก
2.5 สังเกตสีสันของปลา ควรสังเกตเปรียบเทียบปลาในกลุ่มเดียวกัน ปลาที่มีสีสันสดเข้มกว่า ลวดลายเด่นชัด ย่อมมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแกร่งกว่า
2.6 สังเกตความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ ควรเป็นปลาที่มีอวัยวะครบถ้วนตรงตามชนิด ลำตัวโดยเฉพาะคอดหางไม่คดงอ ครีบไม่โค้งพับหรือขาดหายไป
2.7 สังเกตว่าไม่มีปลาตายปะปนอยู่ในตู้ปลาที่จะเลือกซื้อ หรือไม่มีปลาที่แสดงอาการติดเชื้อปะปนอยู่
นอกจากนั้นเมื่อนำปลามาปล่อยเลี้ยงในตู้ที่เตรียมไว้แล้ว หากพบว่าปลาตัวใดมีอาการผิดปกติ ควรรีบแยกปลาดังกล่าวออกไปเลี้ยงต่างหาก จนแน่ใจว่าอาการดีเป็นปกติจึงค่อยนำกลับมาปล่อยเลี้ยงในตู้ต่อไป
3 วิธีการเลี้ยงปลาสวยงาม
ปลาสวยงามแต่ละชนิดมีความต้องการปัจจัยในการเลี้ยงต่างกัน ดังนั้นหากต้องการให้ปลาที่เลี้ยงมีความสวยงาม แข็งแรง และเจริญเติบโตดีตามต้องการ ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
3.1 ภาชนะสำหรับเลี้ยงปลา ปลาสวยงามแต่ละชนิดจะมีความสวยงามมากขึ้น หากเลือกภาชนะในการเลี้ยงได้ถูกต้องเหมาะสม เช่น ปลาคาร์พ และปลาอะราไพม่า เหมาะที่จะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ภายนอกอาคาร ปลาแรด และปลามังกร เหมาะที่จะเลี้ยงในตู้กระจกขนาดใหญ่และเลี้ยงเพียงตัวเดียวโดดๆ ปลานีออน ปลาก้างพระร่วง ปลาตะเพียนทอง ปลาเสือสุมาตรา ปลาม้าลาย ปลาซิวข้างขวาน ปลาหางนกยูง และปลาสอด เหมาะที่จะเลี้ยงในตู้กระจกขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โดยเลี้ยงเป็นฝูงจะยิ่งทำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ส่วนปลากัด เหมาะสำหรับเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กเช่นขวดเหลี่ยม หรือขวดโหลรูปทรงต่างๆ
3.2 สถานที่ คือการเลือกที่สร้างบ่อหรือที่จัดวางตู้ปลา พร้อมอุปกรณ์ประกอบอื่นๆให้เหมาะสมสอดคล้องกับอาคาร หรือลักษณะของห้อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใด มุมใด หรือห้องใด เพราะเมื่อสร้างบ่อหรือจัดวางตู้เรียบร้อยแล้ว หากเกิดเปลี่ยนใจอยากเปลี่ยนสถานที่ใหม่ จะมีความยุ่งยากในการเคลื่อนย้าย เพราะต้องมีการถ่ายน้ำออกและเคลื่อนย้ายปลา มักมีผลทำให้ปลาบอบช้ำหรือตู้เลี้ยงปลาชำรุดแตกร้าวได้ง่าย โดยเฉพาะหากทำให้ตู้ปลาเกิดการรั่วซึม ก็จะทำให้เกิดปัญหากับบริเวณข้างเคียง หรือการซ่อมแซมตู้อาจทำให้ความสวยงามลดลงได้
3.3 ความหนาแน่นของปลา คือจำนวนปลาที่จะเลี้ยงในแต่ละตู้ไม่ควรให้มีจำนวนมากเกินไป สำหรับปลาบางชนิดอาจต้องเลี้ยงเพียงตัวเดียว เช่นปลามังกร ปลาแรด ปลาเค้า ปลากราย ปลาตองลาย ปลาบู่ ปลาชะโด และปลากัด ไม่เช่นนั้นปลาจะไล่กัดทำอันตรายกันเอง ปลาบางชนิดอาจเลี้ยงเป็นคู่หรือจำนวนไม่มากมายนัก เช่น ปลาออสการ์ ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา และปลาหมอชนิดต่างๆ หรือปลาบางชนิดควรเลี้ยงหลายตัวให้เป็นฝูงหรือเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่ควรให้มีจำนวนมากมายจนเกินไป เพราะหากมีจำนวนมากเกินไป ปลาจะไม่ค่อยเจริญเติบโต แต่กลับอ่อนแอป่วยเป็นโรคได้ง่าย สำหรับจำนวนปลาที่เหมาะสมนั้นจะขึ้นกับชนิดและขนาดของปลาด้วย ซึ่งผู้เลี้ยงควรจะได้ศึกษาให้ละเอียดรอบคอบ
3.4 การรักษาความสะอาดในภาชนะเลี้ยงปลาหรือตู้ปลา ผู้เลี้ยงควรจะทำความเข้าใจวิธีการทำความสะอาดเพื่อกำจัดสิ่งหมักหมม และตะกอนที่ตกค้างอยู่ในระบบกรองน้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเท่ากับเป็นการกำจัดเศษอาหารและมูลที่ปลาขับถ่ายออกมาออกจากตู้ปลา โดยทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะทำให้ปลาที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และยังเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดปลา ที่อาจเกิดจากเศษอาหารที่บูดเน่าได้
3.5 การถ่ายน้ำในภาชนะเลี้ยงปลาหรือตู้ปลา ถึงแม้ผู้เลี้ยงจะได้หมั่นทำความสะอาดล้างสิ่งหมักหมมในระบบกรองน้ำ โดยเฉพาะระบบกรองน้ำนอกตู้ปลาจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ปลาเลย หรือถึงแม้จะเป็นระบบกรองน้ำในตู้ปลา ก็อาจจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือมีบ้างเพียงเล็กน้อย หรือนานๆจะกระทำครั้งหนึ่ง ปลาอาจเติบโตได้ดีในระยะแรกๆ แต่เมื่อเลี้ยงไปนานๆปลาจะหยุดการเจริญเติบโต สาเหตุเพราะมีสิ่งหมักหมมที่ละลายอยู่ในน้ำซึ่งไม่ได้ถูกกำจัดออกไปพร้อมกับการทำความสะอาด สิ่งหมักหมมดังกล่าวเกิดจากการขับถ่ายของปลาในรูปของสารละลายหรือก๊าซต่างๆ รวมทั้งสารอาหารบางประเภทที่ละลายจากอาหารที่ใช้เลี้ยงปลา สารละลายทั้งหลายนับวันจะมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ และค่อนข้างรวดเร็วกว่าการเลี้ยงปลาในบ่อดิน เพราะในบ่อดินจะมีขบวนการต่างๆที่ช่วยลดสารอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยเฉพาะขบวนการสังเคราะห์แสงของพรรณไม้น้ำและแพลงตอนพืชทั้งหลาย แต่ในระบบการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงปลาในสภาพพื้นที่แคบๆและน้ำใส ปราศจากแพลงตอนพืชและมักไม่ค่อยมีพรรณไม้น้ำ จึงทำให้ไม่มีตัวช่วยลดสิ่งหมักหมมที่ละลายอยู่ในน้ำ ถึงแม้จะมองดูเหมือนน้ำมีการไหลเวียน แต่ก็เป็นน้ำเก่าที่ไหลวนเวียนอยู่ภายในตู้ปลา โดยเกิดจากระบบกรองน้ำและการให้อากาศ ฉนั้นน้ำจึงมีการสะสมสิ่งหมักหมมละลายเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆจนมีผลทำให้ปลาชะงักการเจริญเติบโต
ดังนั้นหากต้องการให้ปลามีสุขภาพดี แข็งแรง สีสดใส และมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ก็ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหมดทั้งตู้ แต่ถ่ายออกเพียง 1 ใน 4 ของน้ำที่มีอยู่ด้วยวิธีกาลักน้ำ โดยคะเนจากระดับความลึกของน้ำเป็นหลัก เช่น ตู้เลี้ยงปลาที่ใส่น้ำสูงประมาณ 40 เซ็นติเมตร จะถ่ายน้ำออกให้ระดับน้ำลดลง 10 เซ็นติเมตรก็พอ แล้วเติมน้ำใหม่ให้ได้ระดับเดิม กระทำเช่นนี้สัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง จะทำให้น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการดำรงชีพของปลาอยู่เสมอ นอกจากนั้นหากต้องการเร่งให้ปลามีการเจริญเติบโตเร็วขึ้นเป็นพิเศษ อาจทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน เช่นการเลี้ยงปลาทอง หากปล่อยปลาค่อนข้างน้อยแล้วเปลี่ยนถ่ายน้ำและทำความสะอาดทุกวัน จะทำให้ปลาทองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีขนาดตัวโตอย่างเด่นชัด
3.6 การให้อาหารปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาสวยงามก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์บกโดยทั่วไป คือต้องให้อาหารทุกวัน เพราะปลาสวยงามที่เลี้ยงในตู้ไม่สามารถหาอาหารธรรมชาติกินได้ และยังมีความเคยชินกับการได้รับอาหารทุกวัน ดังนั้นหากปลาถูกปล่อยให้อดอาหารเป็นเวลา 2 - 3 วัน ก็จะทำให้ปลามีสุขภาพเสื่อมโทรมและมักทำอันตรายกันเอง นอกจากนั้นการให้อาหารปลาสวยงามยังมีข้อปลีกย่อยที่ควรพิจารณาดังนี้
3.6.1 การให้อาหารเป็นเวลา เพื่อให้ปลาเกิดความเคยชิน อย่าให้แบบพร่ำเพรื่อ คือ อยากให้เมื่อไหร่ก็ให้ หรือเข้าไปดูปลาครั้งใดเห็นปลาว่ายเข้ามาเหมือนต้องการอาหาร ก็ให้อาหารปลาทุกครั้ง การให้อาหารปลาแบบพร่ำเพรื่อจะทำให้มีเศษอาหารเหลือตกค้างในระบบกรองน้ำค่อนข้างมาก แล้วเกิดการบูดเน่าเป็นตัวการทำให้ปลาเกิดโรคระบาดได้ง่าย การให้อาหารปลาสวยงามในแต่ละวันควรให้เพียง 2 ครั้ง ในตอนเช้าและเย็นก็เป็นการเพียงพอสำหรับปลา
3.6.2 พิจารณาถึงชนิดของปลา แล้วเลือกชนิดของอาหารให้เหมาะสม โดยเฉพาะขนาดของเม็ดอาหารควรให้เหมาะสมที่ปลาจะฮุบกินได้ง่าย
3.6.3 พิจารณาถึงวัยของปลา ถ้าเป็นปลาวัยอ่อนก็จะต้องให้บ่อยครั้งมากขึ้น อาจเป็นวันละ 3 - 4 ครั้ง
3.7 อุณหภูมิของน้ำในตู้ปลา ผู้เลี้ยงปลาสวยงามจะต้องรำลึกอยู่เสมอว่าปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น กิจกรรมต่างๆของร่างกายจะปรับไปตามอุณหภูมิน้ำ ดังนั้นในฤดูหนาวการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายก็จะลดลงตามอุณหภูมิน้ำ นั่นหมายถึงปลามีความต้องการอาหารลดลง ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องลดปริมาณอาหารที่ให้ลง และควรให้อาหารเพียงวันละครั้งในตอนบ่ายหรือเย็น แต่ถ้าหากต้องการให้ปลากินอาหารตามปกติ ก็อาจกระทำโดยใช้เครื่องให้ความร้อนที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ก็จะทำให้ปลาที่เลี้ยงมีความสดชื่น แข็งแรง และกินอาหารได้ตามปกติ
3.8 แสงสว่าง การเลี้ยงปลาสวยงามในตู้กระจกมักตั้งตู้ปลาอยู่ภายในห้องหรือในอาคาร และมักตั้งในบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตะไคร่น้ำหรือเกิดน้ำเขียวในตู้เลี้ยงปลา ดังนั้นการเพิ่มแสงสว่างในตู้เลี้ยงปลาจึงมีความจำเป็น เพื่อเพิ่มความสวยงามและเป็นการช่วยให้ปลาแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยให้พรรณไม้น้ำมีการสังเคราะห์แสงเจริญเติบโตได้ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตหลอดนีออนที่เป็นแสงแดดเทียม สำหรับใช้กับการเลี้ยงปลาสวยงามติดที่ฝาตู้ ผู้เลี้ยงควรเลือกใช้หลอดชนิดดังกล่าว โดยเปิดให้ปลาในเวลากลางวันและตอนหัวค่ำ เมื่อเลิกใช้ห้องหรือก่อนเข้านอนก็ควรจะปิดไฟ เพื่อให้ปลาได้มีการพักผ่อน เพราะเมื่อไม่มีแสงสว่างปลาส่วนใหญ่จะลดกิจกรรมลง เช่น ว่ายน้ำช้าลง
3.9 การจับปลาหรือการเคลื่อนย้ายปลา หากไม่มีความจำเป็นไม่ควรมีการจับปลาหรือเคลื่อนย้ายปลาออกจากตู้ปลาอย่างเด็ดขาด เพราะการจับหรือการเคลื่อนย้ายปลาไม่ถูกวิธีหรือไม่ชำนาญ มักทำให้ปลาบอบช้ำ เกล็ดหลุด เกิดบาดแผล พิการ หรือตายได้ หากจำเป็นต้องจับปลาหรือเคลื่อนย้ายปลา เช่น ในกรณีล้างตู้ปลาหรือเปลี่ยนตู้ปลา ก็ต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยไม่ควรช้อนปลาพ้นจากน้ำ โดยเฉพาะการใช้กระชอนช้อนปลาพ้นน้ำขึ้นมา เพราะเมื่อปลาพ้นน้ำขึ้นมาปลาจะกระโดดพลิกไปมาในกระชอน อาจเกิดการทับครีบของตัวปลาเอง หรือหากช้อนปลาหลายตัวพร้อมกัน ปลาจะกระโดดทับกระแทกกันไปมา ผลก็คือการจับปลามักทำให้ปลาเกล็ดหลุด เกิดบาดแผล หรือครีบหักพับกลายเป็นปลาพิการไปได้ วิธีการที่เหมาะสม คือ ควรใช้ภาชนะที่ใหญ่กว่าตัวปลา เช่น ขัน หรือถังพลาสติก ใส่ลงในตู้ปลาแล้วค่อยๆไล่ปลาโดยอาจใช้กระชอนช่วย ค่อยๆไล่ปลาเข้าภาชนะ แล้วยกขึ้นทั้งปลาและน้ำ อาจใช้กระชอนช่วยปิดปากภาชนะกันปลากระโดดสำหรับปลาบางชนิดด้วย แล้วย้ายปลาไปลงในภาชนะที่เตรียมไว้ จะลดความบอบช้ำของปลาได้ นอกจากนั้นหากภายในตู้ปลามีหินประดับหรือเครื่องประดับต่างๆ ก็ควรนำออกจากตู้ปลาก่อน และไล่ปลาช้าๆอย่าให้ปลาตื่นตกใจมากนัก เพราะปลาอาจวิ่งชนขอบตู้หรือซุกไปตามปะการัง ทำให้เกิดบาดแผลได้
3.10 น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาสวยงาม จะต้องเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการดำรงชีพของปลา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องใส เพราะสิ่งสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาสวยงามคือต้องการมองเห็นปลาสวยงามอย่างชัดเจน มองดูน้ำใสสะอาด สำหรับประเภทของน้ำและคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม
3.11 โรคพยาธิและการป้องกันรักษา การเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงในพื้นที่แคบๆ ที่ขาดความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์ จึงมักทำให้ปลาเกิดอาการผิดปกติได้ง่าย โดยเฉพาะการเกิดโรคระบาดต่างๆ ผู้เลี้ยงจำเป็นจะต้องหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของปลาที่เลี้ยงอยู่เสมอ เช่น ลักษณะอาการว่ายน้ำ การกินอาหารน้อยลง หรือการเกิดผิดปกติของร่างกาย ได้แก่ สีซีดลง เมือกมากขึ้น หรือตกเลือด จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข
จากการที่การเลี้ยงปลาสวยงามมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงอุปกรณ์ต่างๆให้ทันสมัยดูสวยงามมากขึ้น ทำให้มีผู้สนใจเลี้ยงปลาสวยงามกันมากขึ้น ซึ่งมีทั้งที่เลี้ยงเป็นงานอดิเรกเพื่อความเพลิดเพลิน เลี้ยงเป็นอาชีพเสริมและเลี้ยงเป็นอาชีพหลัก ถึงแม้การเลี้ยงปลาสวยงามจะดูเป็นเรื่องง่าย แต่ก็มีผู้เลี้ยงหลายรายที่ประสบปัญหาปลาเกิดโรค และปลาตาย ทำให้ถึงกับเลิกเลี้ยงไปบ้างก็มี ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้อง ผู้เลี้ยงควรจะต้องทราบหรือเข้าใจเพื่อป้องกันความผิดพลาดตั้งแต่เริ่มต้น หรือผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นอาชีพ ก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ศึกษาหาความรู้ และประสบการณ์ในการเลี้ยงปลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีความสนใจ และหมั่นสังเกตุลักษณะอาการของปลาอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จได้
สิ่งสำคัญที่ควรจะได้ทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง คือ ความเป็นอยู่ของปลาและลักษณะของการเลี้ยงปลาสวยงาม ที่กระทำกันอยู่โดยทั่วไป ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า การเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่แคบๆ ในสภาพขาดการเปลี่ยนแปลงน้ำ คุณภาพน้ำจะถูกควบคุมโดยขนาดและจำนวนสัตว์น้ำ กับปริมาณการให้อาหาร กล่าวคือการเลี้ยงปลาสวยงามโดยทั่วไป เมื่อผู้เลี้ยงซื้อตู้ปลาและปลามาจัดเลี้ยงเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีแต่การให้อาหารปลาเท่านั้น มักจะไม่มีการถ่ายเทน้ำหรือเปลี่ยนน้ำในตู้เลี้ยงปลา แต่ที่เห็นว่าปลามีลักษณะอาการสดชื่นเป็นปกติ และเห็นน้ำใสสะอาด เนื่องจากมีระบบการเพิ่มอากาศ(ออกซิเจน)และมีการกรองน้ำด้วยระบบต่างๆ ซึ่งผู้เลี้ยงได้รับการแนะนำมาจากผู้ขายจากร้านขายปลาสวยงามนั่นเอง จากสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวถึงแม้จะดูเหมือนว่าไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับปลาที่เลี้ยง แต่ถ้าผู้เลี้ยงปล่อยปละละเลยไม่ทำความสะอาดระบบกรองเลย จะพบว่าปลาที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตน้อยมาก คือขนาดตัวยังเท่าเดิม สีสันไม่สดใสแต่กลับจะซีดลง จนถึงระยะหนึ่งปลาจะมีอาการผิดปกติ เกิดการติดเชื้อ แล้วปลาส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดจะตายไป
ดังนั้นหากผู้เลี้ยงได้พยายามศึกษาทำความเข้าใจเรื่องความต้องการของปลา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้ปลาสวยงามที่เลี้ยงมีความสมบูรณ์ สวยงาม หรือประสบผลสำเร็จในกิจการเลี้ยงปลาสวยงามได้
1 การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยง
การเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงภายในตู้ใดตู้หนึ่ง ผู้เลี้ยงจะต้องเลือกปลาให้ถูกต้อง จึงจะทำให้ได้ปลาสวยงามไว้ดูตามที่ต้องการ โดยที่ไม่มีภาระยุ่งยากจนเกินไป หลักการสำคัญสำหรับการเลือกชนิดปลามีดังนี้
1.1 ชนิดของปลาสวยงามที่จะเลือกเลี้ยง การเลือกชนิดปลานั้นย่อมต้องขึ้นกับความชอบของแต่ละบุคคล เนื่องจากปลาสวยงามที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบันมีมากมายถึง 100 กว่าชนิด แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นว่าสวยงามทั้งหมด ดั้งนั้นการเลือกชนิดปลาก็จะขึ้นกับความชอบของแต่ละคนเป็นหลัก โดยอาจใช้หลักต่อไปนี้ช่วยพิจารณาด้วย คือ
1.1.1 ความสวยงามกับปัจจัยการเลี้ยง ความสวยงามของปลามีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางคนอาจชอบปลาขนาดเล็กๆที่มีสีสันฉูดฉาด ว่ายน้ำไปมาตลอดเวลา เช่นพวกปลาหางนกยูงปลาสอด และปลาซิวชนิดต่างๆ บางคนอาจชอบปลาที่ว่ายน้ำช้าๆดูสง่างาม เช่นปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา หรือบางคนอาจชอบปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาออสการ์ ปลามังกร ปลากราย และปลาแรด ปลาที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้บางชนิดมีความต้องการความจำเพาะในระหว่างการเลี้ยง เช่นปลานีออน และปลาปอมปาดัวร์ ต้องการอุณหภูมิน้ำค่อนข้างสูง ทำให้ต้องมีการใช้เครื่องให้ความร้อนช่วยในช่วงฤดูหนาว มิฉะนั้นปลาจะตายได้ง่าย ปลาบางชนิดต้องการอาหารที่มีชีวิตหรืออาหารสด เช่นปลามังกร ผู้เลี้ยงต้องเข้าใจการเตรียมอาหารไว้ให้ปลา ปลาบางชนิดเป็นปลาขนาดใหญ่ เช่นปลามังกร ปลาออสการ์ ปลากราย และปลาแรด จำเป็นต้องใช้ตู้ขนาดใหญ่ ดังนั้นการเลือกชนิดปลาอาจทำให้เกิดภาระแก่ผู้เลี้ยงมากเกินกว่าที่คาดคิดไว้ จึงควรที่จะต้องศึกษาข้อมูลของปลาที่ต้องการเลี้ยง โดยอาจหาอ่านจากเอกสาร ตำราซึ่งมีผู้เขียนออกมาจำหน่ายกันมากขึ้น หรือสอบถามจากร้านขายปลาสวยงามก็จะช่วยให้เลือกปลาได้อย่างเหมาะสม
1.1.2 ความหลากหลาย ผู้เลี้ยงควรจะต้องรู้ว่าปลาที่ต้องการเลี้ยงนั้นมีความหลากหลายทางสายพันธุ์อย่างไรบ้าง เนื่องจากปลาเป็นสัตว์ที่ให้ลูกในแต่ละครั้งได้เป็นจำนวนมาก และสามารถผสมข้ามสายพันธุ์หรือข้ามพันธุ์ได้โดยการดำเนินการของมนุษย์ ทำให้ปลาบางกลุ่มหรือบางชนิดค่อนข้างมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ ดังนั้นลักษณะของปลาที่เห็นนั้นอาจไม่ใช่ลักษณะแท้ของสายพันธุ์ก็ได้ ตัวอย่างเช่น ปลาทอง ปลาเทวดา ปลาหางนกยูง และปลาสอดชนิดต่างๆ จะมีความหลากหลายของสายพันธุ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากปลาเหล่านี้มีการเพาะเลี้ยงกันมานาน และมีการคัดลักษณะเด่นของลูกปลาที่ได้นำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ หรือผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาจากแหล่งอื่นๆ ทำให้ได้ปลาที่มีรูปทรง สีสัน และลักษณะครีบแตกต่างกันออกไป ผู้เลี้ยงปลาหลายรายที่หลงเชื่อซื้อปลาลักษณะเด่นๆตามที่ต้องการ เพื่อนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ แต่เมื่อดำเนินการเพาะพันธุ์แล้ว พบว่าลูกปลาที่ออกมาจะมีรูปร่างหลายลักษณะเช่นกัน ดังนั้นควรจะได้ศึกษาว่าปลาชนิดใดหรือกลุ่มใดมีความหลากหลายทางสายพันธุ์อย่างไรบ้าง หากนำมาเลี้ยงปะปนกันแล้วจะทำให้เกิดปัญหาการผสมข้ามสายพันธุ์ได้หรือไม่
1.1.3 ความต้องการของตลาด หากจะดำเนินการเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อเป็นการค้า จำเป็นต้องศึกษาการตลาดของปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะตลาดในพื้นที่ว่ามีความต้องการปลาสวยงามชนิดใด ก็จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จได้ง่าย เช่น ปลากัด และปลาหางนกยูง เป็นปลาที่ตลาดมีความต้องการสูงมากทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศ ร้านขายปลาสวยงามที่เปิดขายในจังหวัดต่างๆนั้น จะไม่ดำเนินการเพาะเลี้ยงปลากัด และปลาหางนกยูงขึ้นมาเอง แต่จะเข้าไปหาซื้อมาจากกรุงเทพฯ ดังนั้นการดำเนินการเพาะเลี้ยงปลากัด และปลาหางนกยูง ตามจังหวัดต่างๆ ก็น่าที่จะสามารถหาตลาดได้ไม่ยากนัก ตัวอย่างเช่นในจังหวัดขอนแก่น มีความต้องการปลากัดเฉลี่ยอย่างน้อยเดือนละ 10,000 ตัว
1.2 นิสัยของปลาสวยงาม จากจำนวนปลาสวยงามที่มีอยู่มากมาย การเลือกเลี้ยงปลาสวยงามนอกจากจะเลือกที่ความสวยงามแล้ว ยังต้องศึกษานิสัยของปลาให้รอบคอบด้วย เนื่องจากปลาบางชนิดจะมีนิสัยดุร้าย เกเร หากนำไปเลี้ยงปะปนกัน อาจมีปลาบางชนิดที่ถูกทำร้ายหรือถูกจับกินเป็นอาหารได้ หลักการพิจารณานิสัยของปลามีดังนี้
1.2.1 นิสัยการกินอาหารของปลา การเลือกเลี้ยงปลาสวยงามควรจะต้องรู้ว่าปลาที่จะเลี้ยงนั้นปกติกินอาหารประเภทใดเป็นหลัก ซึ่งจากจำนวนชนิดปลาสวยงามที่มีอยู่มากมายนั้น จะเห็นความแตกต่างของลักษณะอาหารที่ปลาชอบกินได้อย่างเด่นชัด การจัดแบ่งกลุ่มนิสัยการกินอาหารของปลามีดังนี้
(1) ปลากินพืช(Forage or Herbivorous Fishes) หมายถึงปลาที่ปกติจะหากินพวกพืชเป็นอาหารหลัก เช่น กินรากหรือใบพืช รวมทั้งตะไคร่น้ำ ตัวอย่างปลาพวกนี้ ได้แก่ ปลาสร้อย และปลาตะเพียนชนิดต่างๆ ปลากลุ่มนี้สามารถเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปได้ดี
(2) ปลากินเนื้อ(Carnivorous Fishes) หมายถึงปลาที่ปกติจะหากินพวกเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ซึ่งมีทั้งที่ชอบไล่ล่าเหยื่อที่มีชีวิตหรือกัดแทะซากของสิ่งมีชีวิต ปลาพวกนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกดังนี้
* ปลาล่าเหยื่อ(Piscivores or Predator) เป็นปลาที่ชอบไล่ล่าเหยื่อที่มีชีวิต จัดว่าเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย อาหารในธรรมชาติจะเป็นลูกปลา ปลาขนาดเล็ก กุ้ง ลูกกบ และลูกเขียด ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ เช่น ปลามังกร ปลากราย ปลาตองลาย ปลากระทิง ปลาชะโด ปลาเสือตอ ปลาบู่ ปลาปักเป้า และปลา Gar (ปลาต่างประเทศ) ปลาพวกนี้หัดให้กินอาหารสำเร็จรูปค่อนข้างยาก ยังคงชอบกินอาหารมีชีวิต ผู้เลี้ยงต้องซื้อปลาเหยื่อมาใช้เลี้ยง หรือพยายามหัดให้กินเนื้อปลาสดหั่นเป็นชิ้นๆก็สามารถทำได้
* ปลาแทะซาก(Scavenger) เป็นปลาที่กินอาหารประเภทเนื้อแต่เป็นพวกที่ตายแล้ว ชอบกัดแทะหรือฮุบกินทั้งชิ้น ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ เช่น ปลากด ปลาแขยง และปลาดุก ปลาพวกนี้ให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี
* ปลากินแมลงและตัวอ่อนของแมลง(Insectivores) เป็นปลาที่ชอบกินอาหารที่มีชีวิตเช่นกัน แต่เป็นพวกตัวอ่อนของแมลงหรือแมลงขนาดเล็กต่างๆ เช่น ลูกน้ำ หนอนแดง ไรแดง มวนวน และมวนกรรเชียง ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ได้แก่ ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเสือพ่นน้ำ และปลากัด ปลาพวกนี้ปกติหัดให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ยาก แต่เนื่องจากมีการเลี้ยงมาหลายชั่วอายุของปลา ทำให้ปลากินอาหารสำเร็จรูปได้ดีขึ้น เช่น ปลาเทวดา และปลากัด ส่วนปลาปอมปาดัวร์ และปลาเสือพ่นน้ำ ถ้าเลี้ยงไว้จำนวนหลายตัวก็จะสามารถหัดให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ เนื่องจากจะมีปลาตัวใดตัวหนึ่งขึ้นกิน แล้วตัวอื่นที่เห็นจะขึ้นกินตามกัน แต่เมื่อซื้อมาเลี้ยงเพียงไม่กี่ตัวจะไม่ค่อยยอมกินอาหารสำเร็จรูป อาจต้องให้อาหารพิเศษ เช่น หนอนแดงอบแห้ง หรืออาหารสำเร็จรูปชนิดพิเศษ
* ปลากินแพลงตอนสัตว์(Zooplankton Feeder) เป็นปลาที่ชอบกินพวกสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ได้แก่ ไรน้ำชนิดต่างๆ ตัวอย่างปลากลุ่มนี้ได้แก่ พวกปลาสวยงามที่มีขนาดเล็ก เช่นปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาม้าลาย ปลานีออน และปลาซิวอื่นๆ ปลาพวกนี้ให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ดี ซึ่งในปัจจุบันมีอาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดเล็กพิเศษเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารปลาพวกนี้
(3) ปลากินทั้งเนื้อและพืช(Omnivorous Fishes) หมายถึงปลาที่ไม่เจาะจงชนิดของอาหารสามารถกินอาหารได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพรรณไม้น้ำ ตัวอ่อนแมลง ลูกกุ้ง และลูกปลาขนาดเล็ก ตัวอย่างปลาพวกนี้ได้แก่ ปลาทอง ปลาคาร์พ และปลาหมอชนิดต่างๆ ปลาพวกนี้ค่อนข้างตะกละหากินอาหารตลอดเวลา จึงให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ดีมาก
1.2.2 การอยู่ร่วมกัน ผู้เลี้ยงปลาสวยงามส่วนใหญ่มักนิยมเลี้ยงปลาหลายชนิดภายในตู้เดียวกัน เพื่อจะได้เห็นปลาหลายลักษณะและหลายสีสัน ถึงแม้ปลาที่เลือกเลี้ยงจะไม่ถูกระบุว่าเป็นปลาที่ล่าเหยื่อหรือทำอันตรายปลาอื่น แต่หากพิจารณาให้ดีจะพบว่ามีปลาบางชนิดมีการทำอันตรายกันเสมอ ทำให้ปลากลุ่มหนึ่งถูกทำลายหรือเกิดการติดเชื้อจนตายได้ ตัวอย่างเช่นการเลี้ยงปลาทองร่วมกับปลาหางนกยูงและปลานีออน ถ้าปลาทองมีขนาดเล็กก็จะไม่ทำอันตรายปลาทั้งสองชนิด แต่เมื่อปลาทองมีขนาดใหญ่ขึ้น จากนิสัยที่กินอาหารเก่งและมักว่ายน้ำหาอาหารตลอดเวลา ก็มักจะทำอันตรายปลาหางนกยูงและปลานีออนจนตาย โดยเฉพาะเวลากลางคืนเมื่อปิดไฟปลาทั้งสองชนิดจะเชื่องช้า ทำให้ถูกทำอันตรายได้ง่าย ยิ่งถ้าเป็นลูกปลาก็มักจะถูกปลาทองไล่จับกินอย่างง่ายดาย แต่ถ้านำปลาทองไปเลี้ยงร่วมกับปลาสอดชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาหางดาบ ปลาสอดแดง ปลาสอดดำ หรือปลาเซลฟิน ซึ่งปลาเหล่านี้มีขนาดใหญ่กว่าปลาหางนกยูง และค่อนข้างมีความว่องไว พวกปลาสอดจะกลายเป็นตัวทำอันตรายปลาทอง ถึงแม้ว่าปลาสอดจะมีขนาดเล็กกว่าปลาทองมาก แต่จากการที่มีความว่องไวและมักเข้าไปกัดแทะหรือตอดตามตัวและครีบของปลาทอง จะค่อยๆทำให้ปลาเกิดบาดแผล หรือปลาที่มีบาดแผลอยู่แล้วก็ยิ่งชอบเข้าไปกัดแทะบริเวณแผลเพื่อกินเนื้อเยื่อ ทำให้ปลาบอบช้ำเนื่องจากแผลไม่หายและมักขยายลุกลามติดเชื้ออื่นๆมากขึ้น ดังนั้นการเลี้ยงปลาทองร่วมกับปลาสอด ผู้เลี้ยงจึงมักพบว่าปลาทองเกิดแผลเป็นโรครักษายากและมักตายไป หรือการเลี้ยงปลาเสือสุมาตราร่วมกับปลานีออน ปลาเสือสุมาตราจะค่อนข้างมีความดุร้ายในฤดูกาลผสมพันธุ์ ก็มักจะทำอันตรายปลานีออนจนตายได้ จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงร่วมกัน จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาพิจารณาให้รอบคอบ
1.3 ความอดทนของปลา ปลาแต่ละชนิดจะมีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมได้ต่างกัน จากการที่ปลาสวยงามถูกนำมาเลี้ยงไว้ในพื้นที่แคบๆ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างกระทันหันย่อมเกิดได้ตลอดเวลา เช่น การให้อาหารมากเกินไปจนเศษอาหารไปหมักหมมบูดเน่าอยู่ในวัสดุกรอง หรือการเปลี่ยนน้ำใหม่โดยขาดประสบการณ์ เติมน้ำที่มีคลอรีนสูงมากเกินไป หรือปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องทำให้เครื่องให้อากาศและระบบกรองน้ำไม่ทำงาน ซึ่งหากเกิดเป็นเวลานานเกินกว่า 1 ชั่วโมงขึ้นไป ปริมาณออกซิเจนจะลดต่ำลง ปลาจะได้รับอันตรายมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นกับขนาดและจำนวนปลาที่เลี้ยง ดังนั้นการเลือกชนิดปลาก็ยังอาจต้องพิจารณาถึงความอดทนของปลาประกอบด้วย เช่น ปลาหางไหม้ และปลานีออน ถูกกระทบจากปริมาณคลอรีนจนมีผลทำให้ปลาตายได้อย่างง่ายดาย ปลาปอมปาดัวร์ และปลานีออน ไม่อดทนต่อสภาพอุณหภูมิต่ำ กลุ่มปลาตะเพียน ปลากาแดง ปลาทรงเครื่อง ปลาทอง ปลาคาร์พ และปลาสร้อยชนิดต่างๆ ไม่อดทนต่อสภาพการขาดออกซิเจน สำหรับปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี จัดว่าเป็นปลาที่มีความอดทนไม่ตายง่ายๆก็มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาสอดชนิดต่างๆ ปลากระดี่ชนิดต่างๆ ปลาชะโด และปลาแรด นอกจากนั้นยังอาจใช้วิธีการป้องกันร่วมด้วย เช่น ใช้เครื่องให้ความร้อน (Heater) ควบคุมอุณหภูมิในฤดูหนาว หรือเตรียมเครื่องให้อากาศที่ใช้ไฟจากถ่านไฟฉายสำรองไว้ ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ปลาได้
1.4 การขยายพันธุ์ การแพร่ พันธุ์ของปลาค่อนข้างแตกต่างจากการแพร่พันธุ์ของสัตว์บกโดยทั่วไป คือปลาส่วนใหญ่จะออกลูกเป็นไข่ และเป็นการผสมพันธุ์ภายนอกตัวแม่ โดยพ่อแม่พันธุ์ปลาจะปล่อยน้ำเชื้อและไข่ออกมาผสมกันในน้ำ นอกจากนั้นลักษณะของไข่ปลายังมีรูปแบบแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ซึ่งประเภทของไข่ปลาและวิธีการเพาะพันธุ์ปลาจะได้กล่าวโดยละเอียดในหัวข้อ การเพาะพันธุ์ปลา สำหรับผู้ที่ต้องการเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อเป็นการค้า จำเป็นต้องศึกษาวิธีการเพาะและอนุบาลลูกปลาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จได้ดีขึ้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงปลาสวยงามเป็นงานอดิเรก หากต้องการเห็นลูกปลาที่เกิดจากปลาที่เลี้ยงไว้เอง ก็อาจจะต้องเลือกปลาที่มีการแพร่พันธุ์อย่างง่ายๆ และลูกปลามีอัตราการรอดดีเนื่องจากกินอาหารได้ง่าย ซึ่งจะได้แก่กลุ่มปลาที่ออกลูกเป็นตัว ปลาพวกนี้มีจำนวนชนิดอยู่ไม่มากนัก และส่วนใหญ่ถูกนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่มีจำนวนไข่หรือลูกไม่มาก เมื่อเทียบกับปลาที่ออกลูกเป็นไข่ แต่ปลาพวกนี้มักจะออกลูกได้เกือบตลอดปี โดยจะออกลูกครั้งละ 30 - 100 ตัว ลูกปลาที่คลอดออกมาจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับลูกปลาของปลาที่ออกลูกเป็นไข่ และค่อนข้างมีความแข็งแรง ว่ายน้ำหลบหนีศัตรู(ซึ่งรวมทั้งพ่อแม่ของตัวเอง)ได้ทันทีที่คลอดออกจากท้อง แม่ปลา ตัวอย่างของปลาที่ออกลูกเป็นตัวได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาสอดชนิดต่างๆ และปลา เข็ม
2 วิธีการเลือกซื้อปลาสวยงาม
เมื่อตัดสินใจว่าจะเลี้ยงปลาสวยงามและได้ตัดสินใจเลือกชนิดปลาที่จะเลี้ยงแล้ว ขั้นตอนสำคัญอันดับต่อไปคือการไปร้านขายปลาสวยงาม เพื่อเลือกซื้อปลาที่ต้องการมาเลี้ยง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญเช่นกัน เพราะหากได้ปลาที่ไม่แข็งแรง ไม่สมบูรณ์ หรือมีเชื้อโรคติดมา ปลาที่ซื้อมาเลี้ยงอาจตายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน หรืออาจต้องทนเลี้ยงปลาที่ไม่สมสัดส่วนหรือไม่สมประกอบไปอีกนาน วิธีการเลือกซื้อปลาควรจะพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
2.1 ควรเลือกซื้อปลาในเวลากลางวัน เนื่องจากจะสังเกตสีสันที่แท้จริงของปลาได้ดี แต่ในปัจจุบันการจัดตู้ปลามีความทันสมัยมากขึ้น โดยร้านขายปลาสวยงามมักจะติดหลอดไฟพวกแสงสะท้อน แล้วเปิดไว้ตลอดเวลาเพื่อทำให้เห็นปลามีสีสดใสมากกว่าที่เป็นจริง
2.2 สังเกตสภาพของตัวปลา คือเลือกปลาที่ไม่มีร่องรอยความบอบช้ำ เช่นเกล็ดหลุด ครีบแหว่ง หรือมีแผลตามลำตัว เพราะอาจเป็นปลาที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากการลำเลียง หรือมีการระบาดของโรคพยาธิเกิดขึ้น ถ้าเลือกซื้อปลาที่บอบช้ำมาเลี้ยงอาจเกิดการติดเชื้อต่างๆได้ ยิ่งถ้ามีการระบาดของโรคพยาธิอยู่แล้ว ปลาที่เลือกซื้อมาก็มักจะตายหมด
2.3 สังเกตลักษณะการว่ายน้ำหรือการทรงตัวของปลา ควรสังเกตว่าชนิดปลาที่จะซื้อมีลักษณะการว่ายน้ำอย่างไร เช่น พวกปลานีออน ปลาเสือสุมาตรา ปลาสอด และปลาซิวชนิดอื่นๆ มักชอบว่ายน้ำวนเวียนไปมาตลอดเวลาบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ต้องไม่เซื่องซึมลงไปพักอยู่ก้นตู้หรือลอยตัวอยู่แต่ผิวน้ำ พวกปลาเทวดา และปลาปอมปาดัวร์ ชอบว่ายน้ำช้าๆลักษณะเป็นสง่า ต้องไม่ไปซุกตามหินหรือมุมตู้
2.4 สังเกตลักษณะการกางของครีบต่างๆ คือปลาปกติที่ไม่มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อหรือการเกิดโรค จะกางครีบออกเกือบตลอดเวลา แต่ปลาที่มีอาการผิดปกติมักจะหุบครีบลู่ติดตัวไม่ค่อยกางออก
2.5 สังเกตสีสันของปลา ควรสังเกตเปรียบเทียบปลาในกลุ่มเดียวกัน ปลาที่มีสีสันสดเข้มกว่า ลวดลายเด่นชัด ย่อมมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแกร่งกว่า
2.6 สังเกตความสมบูรณ์ของอวัยวะต่างๆ ควรเป็นปลาที่มีอวัยวะครบถ้วนตรงตามชนิด ลำตัวโดยเฉพาะคอดหางไม่คดงอ ครีบไม่โค้งพับหรือขาดหายไป
2.7 สังเกตว่าไม่มีปลาตายปะปนอยู่ในตู้ปลาที่จะเลือกซื้อ หรือไม่มีปลาที่แสดงอาการติดเชื้อปะปนอยู่
นอกจากนั้นเมื่อนำปลามาปล่อยเลี้ยงในตู้ที่เตรียมไว้แล้ว หากพบว่าปลาตัวใดมีอาการผิดปกติ ควรรีบแยกปลาดังกล่าวออกไปเลี้ยงต่างหาก จนแน่ใจว่าอาการดีเป็นปกติจึงค่อยนำกลับมาปล่อยเลี้ยงในตู้ต่อไป
3 วิธีการเลี้ยงปลาสวยงาม
ปลาสวยงามแต่ละชนิดมีความต้องการปัจจัยในการเลี้ยงต่างกัน ดังนั้นหากต้องการให้ปลาที่เลี้ยงมีความสวยงาม แข็งแรง และเจริญเติบโตดีตามต้องการ ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
3.1 ภาชนะสำหรับเลี้ยงปลา ปลาสวยงามแต่ละชนิดจะมีความสวยงามมากขึ้น หากเลือกภาชนะในการเลี้ยงได้ถูกต้องเหมาะสม เช่น ปลาคาร์พ และปลาอะราไพม่า เหมาะที่จะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ภายนอกอาคาร ปลาแรด และปลามังกร เหมาะที่จะเลี้ยงในตู้กระจกขนาดใหญ่และเลี้ยงเพียงตัวเดียวโดดๆ ปลานีออน ปลาก้างพระร่วง ปลาตะเพียนทอง ปลาเสือสุมาตรา ปลาม้าลาย ปลาซิวข้างขวาน ปลาหางนกยูง และปลาสอด เหมาะที่จะเลี้ยงในตู้กระจกขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โดยเลี้ยงเป็นฝูงจะยิ่งทำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ส่วนปลากัด เหมาะสำหรับเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กเช่นขวดเหลี่ยม หรือขวดโหลรูปทรงต่างๆ
3.2 สถานที่ คือการเลือกที่สร้างบ่อหรือที่จัดวางตู้ปลา พร้อมอุปกรณ์ประกอบอื่นๆให้เหมาะสมสอดคล้องกับอาคาร หรือลักษณะของห้อง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใด มุมใด หรือห้องใด เพราะเมื่อสร้างบ่อหรือจัดวางตู้เรียบร้อยแล้ว หากเกิดเปลี่ยนใจอยากเปลี่ยนสถานที่ใหม่ จะมีความยุ่งยากในการเคลื่อนย้าย เพราะต้องมีการถ่ายน้ำออกและเคลื่อนย้ายปลา มักมีผลทำให้ปลาบอบช้ำหรือตู้เลี้ยงปลาชำรุดแตกร้าวได้ง่าย โดยเฉพาะหากทำให้ตู้ปลาเกิดการรั่วซึม ก็จะทำให้เกิดปัญหากับบริเวณข้างเคียง หรือการซ่อมแซมตู้อาจทำให้ความสวยงามลดลงได้
3.3 ความหนาแน่นของปลา คือจำนวนปลาที่จะเลี้ยงในแต่ละตู้ไม่ควรให้มีจำนวนมากเกินไป สำหรับปลาบางชนิดอาจต้องเลี้ยงเพียงตัวเดียว เช่นปลามังกร ปลาแรด ปลาเค้า ปลากราย ปลาตองลาย ปลาบู่ ปลาชะโด และปลากัด ไม่เช่นนั้นปลาจะไล่กัดทำอันตรายกันเอง ปลาบางชนิดอาจเลี้ยงเป็นคู่หรือจำนวนไม่มากมายนัก เช่น ปลาออสการ์ ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา และปลาหมอชนิดต่างๆ หรือปลาบางชนิดควรเลี้ยงหลายตัวให้เป็นฝูงหรือเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นๆ แต่ก็ไม่ควรให้มีจำนวนมากมายจนเกินไป เพราะหากมีจำนวนมากเกินไป ปลาจะไม่ค่อยเจริญเติบโต แต่กลับอ่อนแอป่วยเป็นโรคได้ง่าย สำหรับจำนวนปลาที่เหมาะสมนั้นจะขึ้นกับชนิดและขนาดของปลาด้วย ซึ่งผู้เลี้ยงควรจะได้ศึกษาให้ละเอียดรอบคอบ
3.4 การรักษาความสะอาดในภาชนะเลี้ยงปลาหรือตู้ปลา ผู้เลี้ยงควรจะทำความเข้าใจวิธีการทำความสะอาดเพื่อกำจัดสิ่งหมักหมม และตะกอนที่ตกค้างอยู่ในระบบกรองน้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเท่ากับเป็นการกำจัดเศษอาหารและมูลที่ปลาขับถ่ายออกมาออกจากตู้ปลา โดยทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จะทำให้ปลาที่เลี้ยงมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และยังเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดปลา ที่อาจเกิดจากเศษอาหารที่บูดเน่าได้
3.5 การถ่ายน้ำในภาชนะเลี้ยงปลาหรือตู้ปลา ถึงแม้ผู้เลี้ยงจะได้หมั่นทำความสะอาดล้างสิ่งหมักหมมในระบบกรองน้ำ โดยเฉพาะระบบกรองน้ำนอกตู้ปลาจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ปลาเลย หรือถึงแม้จะเป็นระบบกรองน้ำในตู้ปลา ก็อาจจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือมีบ้างเพียงเล็กน้อย หรือนานๆจะกระทำครั้งหนึ่ง ปลาอาจเติบโตได้ดีในระยะแรกๆ แต่เมื่อเลี้ยงไปนานๆปลาจะหยุดการเจริญเติบโต สาเหตุเพราะมีสิ่งหมักหมมที่ละลายอยู่ในน้ำซึ่งไม่ได้ถูกกำจัดออกไปพร้อมกับการทำความสะอาด สิ่งหมักหมมดังกล่าวเกิดจากการขับถ่ายของปลาในรูปของสารละลายหรือก๊าซต่างๆ รวมทั้งสารอาหารบางประเภทที่ละลายจากอาหารที่ใช้เลี้ยงปลา สารละลายทั้งหลายนับวันจะมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ และค่อนข้างรวดเร็วกว่าการเลี้ยงปลาในบ่อดิน เพราะในบ่อดินจะมีขบวนการต่างๆที่ช่วยลดสารอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยเฉพาะขบวนการสังเคราะห์แสงของพรรณไม้น้ำและแพลงตอนพืชทั้งหลาย แต่ในระบบการเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงปลาในสภาพพื้นที่แคบๆและน้ำใส ปราศจากแพลงตอนพืชและมักไม่ค่อยมีพรรณไม้น้ำ จึงทำให้ไม่มีตัวช่วยลดสิ่งหมักหมมที่ละลายอยู่ในน้ำ ถึงแม้จะมองดูเหมือนน้ำมีการไหลเวียน แต่ก็เป็นน้ำเก่าที่ไหลวนเวียนอยู่ภายในตู้ปลา โดยเกิดจากระบบกรองน้ำและการให้อากาศ ฉนั้นน้ำจึงมีการสะสมสิ่งหมักหมมละลายเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆจนมีผลทำให้ปลาชะงักการเจริญเติบโต
ดังนั้นหากต้องการให้ปลามีสุขภาพดี แข็งแรง สีสดใส และมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ก็ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหมดทั้งตู้ แต่ถ่ายออกเพียง 1 ใน 4 ของน้ำที่มีอยู่ด้วยวิธีกาลักน้ำ โดยคะเนจากระดับความลึกของน้ำเป็นหลัก เช่น ตู้เลี้ยงปลาที่ใส่น้ำสูงประมาณ 40 เซ็นติเมตร จะถ่ายน้ำออกให้ระดับน้ำลดลง 10 เซ็นติเมตรก็พอ แล้วเติมน้ำใหม่ให้ได้ระดับเดิม กระทำเช่นนี้สัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง จะทำให้น้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการดำรงชีพของปลาอยู่เสมอ นอกจากนั้นหากต้องการเร่งให้ปลามีการเจริญเติบโตเร็วขึ้นเป็นพิเศษ อาจทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน เช่นการเลี้ยงปลาทอง หากปล่อยปลาค่อนข้างน้อยแล้วเปลี่ยนถ่ายน้ำและทำความสะอาดทุกวัน จะทำให้ปลาทองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีขนาดตัวโตอย่างเด่นชัด
3.6 การให้อาหารปลาสวยงาม การเลี้ยงปลาสวยงามก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์บกโดยทั่วไป คือต้องให้อาหารทุกวัน เพราะปลาสวยงามที่เลี้ยงในตู้ไม่สามารถหาอาหารธรรมชาติกินได้ และยังมีความเคยชินกับการได้รับอาหารทุกวัน ดังนั้นหากปลาถูกปล่อยให้อดอาหารเป็นเวลา 2 - 3 วัน ก็จะทำให้ปลามีสุขภาพเสื่อมโทรมและมักทำอันตรายกันเอง นอกจากนั้นการให้อาหารปลาสวยงามยังมีข้อปลีกย่อยที่ควรพิจารณาดังนี้
3.6.1 การให้อาหารเป็นเวลา เพื่อให้ปลาเกิดความเคยชิน อย่าให้แบบพร่ำเพรื่อ คือ อยากให้เมื่อไหร่ก็ให้ หรือเข้าไปดูปลาครั้งใดเห็นปลาว่ายเข้ามาเหมือนต้องการอาหาร ก็ให้อาหารปลาทุกครั้ง การให้อาหารปลาแบบพร่ำเพรื่อจะทำให้มีเศษอาหารเหลือตกค้างในระบบกรองน้ำค่อนข้างมาก แล้วเกิดการบูดเน่าเป็นตัวการทำให้ปลาเกิดโรคระบาดได้ง่าย การให้อาหารปลาสวยงามในแต่ละวันควรให้เพียง 2 ครั้ง ในตอนเช้าและเย็นก็เป็นการเพียงพอสำหรับปลา
3.6.2 พิจารณาถึงชนิดของปลา แล้วเลือกชนิดของอาหารให้เหมาะสม โดยเฉพาะขนาดของเม็ดอาหารควรให้เหมาะสมที่ปลาจะฮุบกินได้ง่าย
3.6.3 พิจารณาถึงวัยของปลา ถ้าเป็นปลาวัยอ่อนก็จะต้องให้บ่อยครั้งมากขึ้น อาจเป็นวันละ 3 - 4 ครั้ง
3.7 อุณหภูมิของน้ำในตู้ปลา ผู้เลี้ยงปลาสวยงามจะต้องรำลึกอยู่เสมอว่าปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น กิจกรรมต่างๆของร่างกายจะปรับไปตามอุณหภูมิน้ำ ดังนั้นในฤดูหนาวการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายก็จะลดลงตามอุณหภูมิน้ำ นั่นหมายถึงปลามีความต้องการอาหารลดลง ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องลดปริมาณอาหารที่ให้ลง และควรให้อาหารเพียงวันละครั้งในตอนบ่ายหรือเย็น แต่ถ้าหากต้องการให้ปลากินอาหารตามปกติ ก็อาจกระทำโดยใช้เครื่องให้ความร้อนที่ควบคุมอุณหภูมิได้ ก็จะทำให้ปลาที่เลี้ยงมีความสดชื่น แข็งแรง และกินอาหารได้ตามปกติ
3.8 แสงสว่าง การเลี้ยงปลาสวยงามในตู้กระจกมักตั้งตู้ปลาอยู่ภายในห้องหรือในอาคาร และมักตั้งในบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตะไคร่น้ำหรือเกิดน้ำเขียวในตู้เลี้ยงปลา ดังนั้นการเพิ่มแสงสว่างในตู้เลี้ยงปลาจึงมีความจำเป็น เพื่อเพิ่มความสวยงามและเป็นการช่วยให้ปลาแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยให้พรรณไม้น้ำมีการสังเคราะห์แสงเจริญเติบโตได้ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตหลอดนีออนที่เป็นแสงแดดเทียม สำหรับใช้กับการเลี้ยงปลาสวยงามติดที่ฝาตู้ ผู้เลี้ยงควรเลือกใช้หลอดชนิดดังกล่าว โดยเปิดให้ปลาในเวลากลางวันและตอนหัวค่ำ เมื่อเลิกใช้ห้องหรือก่อนเข้านอนก็ควรจะปิดไฟ เพื่อให้ปลาได้มีการพักผ่อน เพราะเมื่อไม่มีแสงสว่างปลาส่วนใหญ่จะลดกิจกรรมลง เช่น ว่ายน้ำช้าลง
3.9 การจับปลาหรือการเคลื่อนย้ายปลา หากไม่มีความจำเป็นไม่ควรมีการจับปลาหรือเคลื่อนย้ายปลาออกจากตู้ปลาอย่างเด็ดขาด เพราะการจับหรือการเคลื่อนย้ายปลาไม่ถูกวิธีหรือไม่ชำนาญ มักทำให้ปลาบอบช้ำ เกล็ดหลุด เกิดบาดแผล พิการ หรือตายได้ หากจำเป็นต้องจับปลาหรือเคลื่อนย้ายปลา เช่น ในกรณีล้างตู้ปลาหรือเปลี่ยนตู้ปลา ก็ต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยไม่ควรช้อนปลาพ้นจากน้ำ โดยเฉพาะการใช้กระชอนช้อนปลาพ้นน้ำขึ้นมา เพราะเมื่อปลาพ้นน้ำขึ้นมาปลาจะกระโดดพลิกไปมาในกระชอน อาจเกิดการทับครีบของตัวปลาเอง หรือหากช้อนปลาหลายตัวพร้อมกัน ปลาจะกระโดดทับกระแทกกันไปมา ผลก็คือการจับปลามักทำให้ปลาเกล็ดหลุด เกิดบาดแผล หรือครีบหักพับกลายเป็นปลาพิการไปได้ วิธีการที่เหมาะสม คือ ควรใช้ภาชนะที่ใหญ่กว่าตัวปลา เช่น ขัน หรือถังพลาสติก ใส่ลงในตู้ปลาแล้วค่อยๆไล่ปลาโดยอาจใช้กระชอนช่วย ค่อยๆไล่ปลาเข้าภาชนะ แล้วยกขึ้นทั้งปลาและน้ำ อาจใช้กระชอนช่วยปิดปากภาชนะกันปลากระโดดสำหรับปลาบางชนิดด้วย แล้วย้ายปลาไปลงในภาชนะที่เตรียมไว้ จะลดความบอบช้ำของปลาได้ นอกจากนั้นหากภายในตู้ปลามีหินประดับหรือเครื่องประดับต่างๆ ก็ควรนำออกจากตู้ปลาก่อน และไล่ปลาช้าๆอย่าให้ปลาตื่นตกใจมากนัก เพราะปลาอาจวิ่งชนขอบตู้หรือซุกไปตามปะการัง ทำให้เกิดบาดแผลได้
3.10 น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาสวยงาม จะต้องเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมต่อการดำรงชีพของปลา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือจะต้องใส เพราะสิ่งสำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาสวยงามคือต้องการมองเห็นปลาสวยงามอย่างชัดเจน มองดูน้ำใสสะอาด สำหรับประเภทของน้ำและคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลาสวยงาม
3.11 โรคพยาธิและการป้องกันรักษา การเลี้ยงปลาสวยงามเป็นการเลี้ยงในพื้นที่แคบๆ ที่ขาดความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์ จึงมักทำให้ปลาเกิดอาการผิดปกติได้ง่าย โดยเฉพาะการเกิดโรคระบาดต่างๆ ผู้เลี้ยงจำเป็นจะต้องหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของปลาที่เลี้ยงอยู่เสมอ เช่น ลักษณะอาการว่ายน้ำ การกินอาหารน้อยลง หรือการเกิดผิดปกติของร่างกาย ได้แก่ สีซีดลง เมือกมากขึ้น หรือตกเลือด จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข
การเลี้ยงไหม
การเลี้ยงไหมแบบครัวเรือน
แหล่งที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไหม
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงไหม อุณหภูมิอยู่ในช่วง 20 – 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 – 80 เปอร์เซ็นต์
โรงเลี้ยงไหมต้องห่างไกลจากแหล่งการใช้สารเคมีทางการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรม
สภาพโรงเลี้ยง
1) สร้างในแนวตะวันออกและตะวันตก
2) สะดวกต่อการทำความสะอาด และสามารถที่จะฉีดอบสารเคมีเพื่อ ฆ่าเชื้อโรค
3) มีการถ่ายเทอากาศได้ดี
4) สามารถป้องกันศัตรูหนอนไหมได้ เช่นแมลงวันลาย จิ้งจก ตุ๊กแก หนู และมด
5) ควรปลูกต้นไม้ยืนต้นรอบ ๆ โรงเลี้ยงเพื่อลดความร้อนจากแสงแดด
ขนาดโรงเลี้ยง สำหรับเลี้ยงไหม 2 แผ่น :ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม ใช้ขนาด 4 x 7 เมตร ชั้นเลี้ยง ขนาด 1.2 x 5 เมตร จำนวน 3 ชั้น (2 ชุด)
ปัจจัยสำคัญในการสร้างโรงเลี้ยงไหม
1) โรงเลี้ยงไหมควรอยู่ห่างจากบ้านพักอาศัยประมาณ 10 – 20 เมตร เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาดและการฉีดอบสารเคมีฆ่าเชื้อโรค
2) หลังคาควรเลือกวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อน และน้ำได้ดี พื้นห้องควรใช้คอนกรีต ผนังโรงเลี้ยงก่อด้วยคอนกรีตสูงจากพื้นประมาณ 50 ซม. ส่วนที่เหลือใช้ตาข่ายไนล่อนตีเป็นผนังถึงระดับเพดานห้อง
3) ควรมีห้องมืดขนาด 1.5 x 1.0 เมตร สำหรับดักแมลงวันลาย
4) ควรมีห้องเก็บใบหม่อนที่สามารถเลี้ยงไหมได้ 2 เวลา
วัสดุและอุปกรณ์
วัสดุและอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่จำเป็นสำหรับเลี้ยงไหมจากไข่ไหม 1 แผ่น มีดังนี้
-อุปกรณ์วัดอุณหภูมิความชื้น 1 ชุด
-มีดและเขียง( หรือเครื่องหั่นใบหม่อน ) 1 ชุด
-เครื่องฉีดฟอร์มาลีน 1 เครื่อง
-กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ 1 อั น
-เครื่องลอกปุยไหม 1 ชุด
-เครื่องชั่ง (ขนาดชั่งน้ำหนักสูงสุด 15 กิโลกรัม) 1 เครื่อง
-ตะแกรงร่อนแป้ง (ชนิดที่มีตาถี่) 1 อัน
-ตาข่ายสำหรับถ่ายมูลไหมวัยอ่อน (ขนาดช่องตาข่าย1 x 1 ซม.2) ขนาด 100 ซม. X 80 ซม.10 ผ
-ตาข่ายสำหรับถ่ายมูลไหมวัยแก่ (ขนาดช่องตาข่าย 3 x 3 ซม.2) ขนาด 100 ซม. X 80 ซม.30 ผืน
-จ่อแบบลูกคลื่น 50 อัน
-จ่อกระด้ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 เมตร 20 อัน
-ตะกร้าเก็บใบหม่อน 2 ใบ
-เข่งใส่ใบหม่อน 8 ใบ
-ตะกร้าให้อาหาร 4 ใบ
-ขนนก 1 อัน
-รองเท้าแตะ 1-2 คู่
-ผ้าคลุมหม่อน 5 ผืน
-ตะเกียบไม้ไผ่ 2 คู่
-ปูนขาวชนิดผงละเอียด 2 - 3 กิโลกรัมหรือแกลบเผา 100 ลิตร
-สารเคมีป้องกันโรคไหมชนิดผง 1 กิโลกรัม
-กระดาษรองกระด้ง (ขนาด 80 ซม. x 100 ซม.) 40 แผ่น
-กระดาษหนังสือพิมพ์เก่า 5 กก.
-ผงซักฟอก 1 กิโลกรัม
-สบู่ล้างมือ 1 ก้อน
-สารฟอร์มาลีน 3 % (ฟอร์มาลีน 40 % จำนวน 1 ส่วน ผสมน้ำ 13 ส่วน หรือน้ำคลอรีน (คลอรีน 60% 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร)
-ใช้ฉีดพ่นอัตรา 1 ลิตร / ตารางเมตร
-ผงซักฟอก 1-2 กิโลกรัม
-สบู่ล้างมือ 1 ก้อน
พันธุ์ไหม
พันธุ์ไหมไทย
1) พันธุ์ไหมไทยนางน้อยศรีสะเกษ 1
ลักษณะดีเด่น
1. เลี้ยงได้ง่าย มีความแข็งแรงสูง
2. อายุหนอนไหมสั้น เวลาในการเลี้ยงประมาณ 18 วัน
3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 10 -12 กิโลกรัม
4. สาวไหมง่าย เส้นไหมสีเหลืองเข้ม
2) พันธุ์ไหมไทยนางน้อยสกลนคร
ลักษณะดีเด่น
1. ให้ผลผลิตต่อแผ่นไข่ไหม 15 -20 กิโลกรัม
2. พ่อแม่พันธุ์แยกเพศได้ในระยะหนอนไหม ทำให้สะดวกในการผลิตไข่ไหม
พันธุ์ไหมไทยลูกผสม
1) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมอุบลราชธานี 60-35 (ดอกบัว)
ลักษณะดีเด่น
1. เลี้ยงได้ง่าย มีความแข็งแรงสูง
2. อายุหนอนไหมสั้น เวลาในการเลี้ยงประมาณ 18 วัน
3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 15 -16 กิโลกรัม
4. เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 63 %
2) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมสกลนคร
ลักษณะดีเด่น
1. มีความยาวเส้นใยยาวและสาวง่าย
2. มีความแข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี
3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 21.4 กิโลกรัม
4. เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 71%
3) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมอุดรธานี
ลักษณะดีเด่น
1. มีความแข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี
2. มีความต้านทานต่อโรคแกรสเซอรี่ (โรคเต้อ)
3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 15 – 16 กิโลกรัม
4. เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 66%
4) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมสกลนคร 2
ลักษณะดีเด่น
1. เป็นพันธุ์ไหมไทยลูกผสมที่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อที่ทำให้เกิดโรคแกรสเซอรี่
2. มีเส้นใยยาวและสาวง่าย
3. ให้ผลผลิตต่อแผ่น / กล่อง (1 แผ่น = 2000 ตัว) 25 -30 กิโลกรัม
การจองและรับไข่ไหม
1) การ สั่งจองไข่ไหม ควรทำแผนการเลี้ยงไหมตลอดปีกับศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยแจ้งชื่อที่อยู่ วัน เดือน ปี ที่เลี้ยงแต่ละรุ่นและจำนวนไข่ไหม ส่งให้ทราบล่วงหน้าต้นปี
2) การยืนยันความต้องการไข่ไหมทุกรุ่น ควรแจ้งก่อนการเลี้ยงไหมอย่างน้อย 20 วัน
3) การรับไข่ไหม ควรจะตรงเวลาและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ โดยเคร่งครัด
4) การขนส่ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือช่วงเช้าหรือเย็น
5) ปฏิบัติตามระเบียบสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯในการจำหน่ายจ่ายแจกพันธุ์
วิธีการเลี้ยงไหม
การเตรียมการเลี้ยงไหม
1) เตรียมสวนหม่อนเลี้ยงไหมในระดับครัวเรือนซึ่งจะต้องใช้ใบหม่อนในการเลี้ยงจนถึงไหมทำรังประมาณ 300 – 400 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง)
2) ทำความสะอาดโรงเลี้ยงและอุปกรณ์ต่างๆ โดยการล้างทำความสะอาด หรือนำไปผึ่งแดดแล้วนำไปฉีดอบฟอร์มาลีน 3 %ในโรงเลี้ยงอัตรา 1 ลิตร/ตารางเมตร โดยอบทิ้งไว้อย่างน้อย 2 วัน จึงเปิดโรงเลี้ยงให้กลิ่นฟอร์มาลีนระเหยอย่างน้อย 1 วัน จึงจะเข้าเลี้ยงไหมได้
(ส่วนผสมฟอร์มาลีน 3 % = ฟอร์มาลีน 40% 1 ส่วน ต่อน้ำ 13 ส่วน)
3) เตรียมสารเคมีโรยตัวไหม เพื่อใช้โรยบนตัวไหมตอนเลี้ยงแรกฟัก และไหมตื่นทุกวัยใช้ประมาณ 1 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง) หรือคลอรีนผง 3.5 % (คลอรีน 60% จำนวน 1 ส่วนผสมกับปูนขาว 17 ส่วน)
4) เตรียมแกลบเผาและ/หรือ ปูนขาวโรยบนตัวไหมในระยะหนอนไหม เพื่อลดความชื้น
5) เตรียมภาชนะใส่เศษใบหม่อนและมูลไหม
การเลี้ยงไหม
วิธีการเลี้ยงไหมวัยอ่อน(วัย 1 – 3)
- ให้ใบหม่อนหั่นประมาณ 80 กรัม โรยให้สม่ำเสมอ หลังจากนั้นให้ใบหม่อนเลี้ยงไหมอีก 2 ครั้งในวันแรกนี้
- เพื่อ ป้องกันใบหม่อนเหี่ยวเร็วและควบคุมความชื้นให้เหมาะสมกับหนอนไหมวัยอ่อนควร คลุมด้วยใบตองหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือแผ่นพลาสติกที่สะอาด
2. การให้อาหาร ไหมจะเจริญเติบโตได้ดีต้องกินใบหม่อนสด มีคุณภาพดี ปริมาณเพียงพอ ตามเวลาที่กำหนดโดยเลี้ยงวันละ 3 มื้อ กลางวันให้ 2 เท่าของมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นให้ 4 เท่าของมื้อเช้า เนื่องจากระยะเวลากินยาวกว่า ใช้ปริมาณใบหม่อนประมาณ 22 – 25 กิโลกรัม/แผ่น(กล่อง) สำหรับการเลี้ยงไหมแบบสหกรณ์ จะใช้ใบหม่อนประมาณ 8 – 9 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง)
วิธีเลี้ยงไหมวัยแก่ (วัย 4 – 5)
1. ระยะการเลี้ยงแต่ละวัย
- วัยที่ 4 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 วัน นอน 11/2 วัน
- วัยที่ 5 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 – 7 วัน ไหมจะสุกทำรัง
2. การปฏิบัติในการเลี้ยงไหมวัยแก่
- ไหมวัย
การเก็บและการให้ใบหม่อน
การเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมวัยอ่อน ควรเก็บใบหม่อนให้เหมาะสมกับวัยดังนี้
- วัยที่ 1 เก็บใบใต้ยอดลงมาใบที่ 1 – 3 หรือเด็ดยอด
- วัยที่ 2 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 4–6 หรือใช้กรรไกรตัดกิ่งใบที่ 1 – 6
- วัยที่ 3 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 7–10 หรือใช้กรรไกรตัดกิ่งใบที่1–10 หรือตัดใบกิ่งสีเขียว
การให้ใบหม่อน
- วัยที่ 1 ให้หม่อนหั่นมีขนาดกว้าง 0.5 – 1.0 ซม.ความยาว 3 – 4 เท่าของความกว้าง
- วัยที่ 2 ให้หม่อนหั่นกว้าง 1.50 – 2 ซม.
- วัยที่ 3 ให้หม่อนหั่นกว้าง 2.5 – 3 ซม.
แหล่งที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงไหม
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงไหม อุณหภูมิอยู่ในช่วง 20 – 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 – 80 เปอร์เซ็นต์
โรงเลี้ยงไหมต้องห่างไกลจากแหล่งการใช้สารเคมีทางการเกษตร และโรงงานอุตสาหกรรม
สภาพโรงเลี้ยง
1) สร้างในแนวตะวันออกและตะวันตก
2) สะดวกต่อการทำความสะอาด และสามารถที่จะฉีดอบสารเคมีเพื่อ ฆ่าเชื้อโรค
3) มีการถ่ายเทอากาศได้ดี
4) สามารถป้องกันศัตรูหนอนไหมได้ เช่นแมลงวันลาย จิ้งจก ตุ๊กแก หนู และมด
5) ควรปลูกต้นไม้ยืนต้นรอบ ๆ โรงเลี้ยงเพื่อลดความร้อนจากแสงแดด
ขนาดโรงเลี้ยง สำหรับเลี้ยงไหม 2 แผ่น :ไหมพันธุ์ไทยลูกผสม ใช้ขนาด 4 x 7 เมตร ชั้นเลี้ยง ขนาด 1.2 x 5 เมตร จำนวน 3 ชั้น (2 ชุด)
ปัจจัยสำคัญในการสร้างโรงเลี้ยงไหม
1) โรงเลี้ยงไหมควรอยู่ห่างจากบ้านพักอาศัยประมาณ 10 – 20 เมตร เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาดและการฉีดอบสารเคมีฆ่าเชื้อโรค
2) หลังคาควรเลือกวัสดุที่เป็นฉนวนกันความร้อน และน้ำได้ดี พื้นห้องควรใช้คอนกรีต ผนังโรงเลี้ยงก่อด้วยคอนกรีตสูงจากพื้นประมาณ 50 ซม. ส่วนที่เหลือใช้ตาข่ายไนล่อนตีเป็นผนังถึงระดับเพดานห้อง
3) ควรมีห้องมืดขนาด 1.5 x 1.0 เมตร สำหรับดักแมลงวันลาย
4) ควรมีห้องเก็บใบหม่อนที่สามารถเลี้ยงไหมได้ 2 เวลา
วัสดุและอุปกรณ์
วัสดุและอุปกรณ์การเลี้ยงไหมที่จำเป็นสำหรับเลี้ยงไหมจากไข่ไหม 1 แผ่น มีดังนี้
-อุปกรณ์วัดอุณหภูมิความชื้น 1 ชุด
-มีดและเขียง( หรือเครื่องหั่นใบหม่อน ) 1 ชุด
-เครื่องฉีดฟอร์มาลีน 1 เครื่อง
-กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ 1 อั น
-เครื่องลอกปุยไหม 1 ชุด
-เครื่องชั่ง (ขนาดชั่งน้ำหนักสูงสุด 15 กิโลกรัม) 1 เครื่อง
-ตะแกรงร่อนแป้ง (ชนิดที่มีตาถี่) 1 อัน
-ตาข่ายสำหรับถ่ายมูลไหมวัยอ่อน (ขนาดช่องตาข่าย1 x 1 ซม.2) ขนาด 100 ซม. X 80 ซม.10 ผ
-ตาข่ายสำหรับถ่ายมูลไหมวัยแก่ (ขนาดช่องตาข่าย 3 x 3 ซม.2) ขนาด 100 ซม. X 80 ซม.30 ผืน
-จ่อแบบลูกคลื่น 50 อัน
-จ่อกระด้ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 เมตร 20 อัน
-ตะกร้าเก็บใบหม่อน 2 ใบ
-เข่งใส่ใบหม่อน 8 ใบ
-ตะกร้าให้อาหาร 4 ใบ
-ขนนก 1 อัน
-รองเท้าแตะ 1-2 คู่
-ผ้าคลุมหม่อน 5 ผืน
-ตะเกียบไม้ไผ่ 2 คู่
-ปูนขาวชนิดผงละเอียด 2 - 3 กิโลกรัมหรือแกลบเผา 100 ลิตร
-สารเคมีป้องกันโรคไหมชนิดผง 1 กิโลกรัม
-กระดาษรองกระด้ง (ขนาด 80 ซม. x 100 ซม.) 40 แผ่น
-กระดาษหนังสือพิมพ์เก่า 5 กก.
-ผงซักฟอก 1 กิโลกรัม
-สบู่ล้างมือ 1 ก้อน
-สารฟอร์มาลีน 3 % (ฟอร์มาลีน 40 % จำนวน 1 ส่วน ผสมน้ำ 13 ส่วน หรือน้ำคลอรีน (คลอรีน 60% 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร)
-ใช้ฉีดพ่นอัตรา 1 ลิตร / ตารางเมตร
-ผงซักฟอก 1-2 กิโลกรัม
-สบู่ล้างมือ 1 ก้อน
พันธุ์ไหม
พันธุ์ไหมไทย
1) พันธุ์ไหมไทยนางน้อยศรีสะเกษ 1
ลักษณะดีเด่น
1. เลี้ยงได้ง่าย มีความแข็งแรงสูง
2. อายุหนอนไหมสั้น เวลาในการเลี้ยงประมาณ 18 วัน
3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 10 -12 กิโลกรัม
4. สาวไหมง่าย เส้นไหมสีเหลืองเข้ม
2) พันธุ์ไหมไทยนางน้อยสกลนคร
ลักษณะดีเด่น
1. ให้ผลผลิตต่อแผ่นไข่ไหม 15 -20 กิโลกรัม
2. พ่อแม่พันธุ์แยกเพศได้ในระยะหนอนไหม ทำให้สะดวกในการผลิตไข่ไหม
พันธุ์ไหมไทยลูกผสม
1) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมอุบลราชธานี 60-35 (ดอกบัว)
ลักษณะดีเด่น
1. เลี้ยงได้ง่าย มีความแข็งแรงสูง
2. อายุหนอนไหมสั้น เวลาในการเลี้ยงประมาณ 18 วัน
3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 15 -16 กิโลกรัม
4. เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 63 %
2) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมสกลนคร
ลักษณะดีเด่น
1. มีความยาวเส้นใยยาวและสาวง่าย
2. มีความแข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี
3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 21.4 กิโลกรัม
4. เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 71%
3) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมอุดรธานี
ลักษณะดีเด่น
1. มีความแข็งแรงเลี้ยงได้ตลอดปี
2. มีความต้านทานต่อโรคแกรสเซอรี่ (โรคเต้อ)
3. ผลผลิตต่อแผ่น/กล่อง 15 – 16 กิโลกรัม
4. เปอร์เซ็นต์การสาวง่าย 66%
4) พันธุ์ไหมไทยลูกผสมสกลนคร 2
ลักษณะดีเด่น
1. เป็นพันธุ์ไหมไทยลูกผสมที่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อที่ทำให้เกิดโรคแกรสเซอรี่
2. มีเส้นใยยาวและสาวง่าย
3. ให้ผลผลิตต่อแผ่น / กล่อง (1 แผ่น = 2000 ตัว) 25 -30 กิโลกรัม
การจองและรับไข่ไหม
1) การ สั่งจองไข่ไหม ควรทำแผนการเลี้ยงไหมตลอดปีกับศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ โดยแจ้งชื่อที่อยู่ วัน เดือน ปี ที่เลี้ยงแต่ละรุ่นและจำนวนไข่ไหม ส่งให้ทราบล่วงหน้าต้นปี
2) การยืนยันความต้องการไข่ไหมทุกรุ่น ควรแจ้งก่อนการเลี้ยงไหมอย่างน้อย 20 วัน
3) การรับไข่ไหม ควรจะตรงเวลาและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ โดยเคร่งครัด
4) การขนส่ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือช่วงเช้าหรือเย็น
5) ปฏิบัติตามระเบียบสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯในการจำหน่ายจ่ายแจกพันธุ์
วิธีการเลี้ยงไหม
การเตรียมการเลี้ยงไหม
1) เตรียมสวนหม่อนเลี้ยงไหมในระดับครัวเรือนซึ่งจะต้องใช้ใบหม่อนในการเลี้ยงจนถึงไหมทำรังประมาณ 300 – 400 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง)
2) ทำความสะอาดโรงเลี้ยงและอุปกรณ์ต่างๆ โดยการล้างทำความสะอาด หรือนำไปผึ่งแดดแล้วนำไปฉีดอบฟอร์มาลีน 3 %ในโรงเลี้ยงอัตรา 1 ลิตร/ตารางเมตร โดยอบทิ้งไว้อย่างน้อย 2 วัน จึงเปิดโรงเลี้ยงให้กลิ่นฟอร์มาลีนระเหยอย่างน้อย 1 วัน จึงจะเข้าเลี้ยงไหมได้
(ส่วนผสมฟอร์มาลีน 3 % = ฟอร์มาลีน 40% 1 ส่วน ต่อน้ำ 13 ส่วน)
3) เตรียมสารเคมีโรยตัวไหม เพื่อใช้โรยบนตัวไหมตอนเลี้ยงแรกฟัก และไหมตื่นทุกวัยใช้ประมาณ 1 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง) หรือคลอรีนผง 3.5 % (คลอรีน 60% จำนวน 1 ส่วนผสมกับปูนขาว 17 ส่วน)
4) เตรียมแกลบเผาและ/หรือ ปูนขาวโรยบนตัวไหมในระยะหนอนไหม เพื่อลดความชื้น
5) เตรียมภาชนะใส่เศษใบหม่อนและมูลไหม
การเลี้ยงไหม
วิธีการเลี้ยงไหมวัยอ่อน(วัย 1 – 3)
- ให้ใบหม่อนหั่นประมาณ 80 กรัม โรยให้สม่ำเสมอ หลังจากนั้นให้ใบหม่อนเลี้ยงไหมอีก 2 ครั้งในวันแรกนี้
- เพื่อ ป้องกันใบหม่อนเหี่ยวเร็วและควบคุมความชื้นให้เหมาะสมกับหนอนไหมวัยอ่อนควร คลุมด้วยใบตองหรือผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือแผ่นพลาสติกที่สะอาด
2. การให้อาหาร ไหมจะเจริญเติบโตได้ดีต้องกินใบหม่อนสด มีคุณภาพดี ปริมาณเพียงพอ ตามเวลาที่กำหนดโดยเลี้ยงวันละ 3 มื้อ กลางวันให้ 2 เท่าของมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นให้ 4 เท่าของมื้อเช้า เนื่องจากระยะเวลากินยาวกว่า ใช้ปริมาณใบหม่อนประมาณ 22 – 25 กิโลกรัม/แผ่น(กล่อง) สำหรับการเลี้ยงไหมแบบสหกรณ์ จะใช้ใบหม่อนประมาณ 8 – 9 กิโลกรัม/แผ่น (กล่อง)
วิธีเลี้ยงไหมวัยแก่ (วัย 4 – 5)
1. ระยะการเลี้ยงแต่ละวัย
- วัยที่ 4 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 วัน นอน 11/2 วัน
- วัยที่ 5 ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 – 7 วัน ไหมจะสุกทำรัง
2. การปฏิบัติในการเลี้ยงไหมวัยแก่
- ไหมวัย
การเก็บและการให้ใบหม่อน
การเก็บใบหม่อนเลี้ยงไหมวัยอ่อน ควรเก็บใบหม่อนให้เหมาะสมกับวัยดังนี้
- วัยที่ 1 เก็บใบใต้ยอดลงมาใบที่ 1 – 3 หรือเด็ดยอด
- วัยที่ 2 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 4–6 หรือใช้กรรไกรตัดกิ่งใบที่ 1 – 6
- วัยที่ 3 เก็บใบต่ำลงมาใบที่ 7–10 หรือใช้กรรไกรตัดกิ่งใบที่1–10 หรือตัดใบกิ่งสีเขียว
การให้ใบหม่อน
- วัยที่ 1 ให้หม่อนหั่นมีขนาดกว้าง 0.5 – 1.0 ซม.ความยาว 3 – 4 เท่าของความกว้าง
- วัยที่ 2 ให้หม่อนหั่นกว้าง 1.50 – 2 ซม.
- วัยที่ 3 ให้หม่อนหั่นกว้าง 2.5 – 3 ซม.
การเลี้ยงโคนม
การเลี้ยงดู
การเลี้ยงดูลูกโค
ก่อน ที่จะพูดถึงการเลี้ยงลูกโคควรจะทำความรู้จักกับนมน้ำเหลืองก่อน นมน้ำ เหลือง คือน้ำนมที่ผลิตออกมาจากแม่โคในระยะแรกคลอด จะผลิตออกมานานประมาณ 2 - 5 วัน ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นนม ธรรมดา ลักษณะของนมน้ำเหลือจะมีสีขาวปนเหลืองมีรสขม มีคุณสมบัติคือ จะมีภูมิคุ้มโรค อีกทั้งช่วยป้องกันโรคที่เกิดกับระบบลำ ไส้และผิวหนัง และยังเป็นยาระยายท้องอ่อน ๆ ของลูกโคอีกด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูง เมื่อลูกโคคลอดมาใหม่ ๆ ควรแยกลูกโคออกจากแม่โค ทันที และควรจะให้กินนมน้ำเหลืองจากแม่โคภายใน 6 ชั่วโมง หลังคลอดเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเร็ว ลูกโคควรได้กินนมน้ำเหลือง ราว 2 - 5 วัน ให้กินวันละ 2 เวลา เช้า, เย็น
วิธีการฝึกให้ลูกโคกินนม
อาจฝึกได้โดยให้ลูกโคกินนมจากถังพลาสติกหรืออะลูมิเนียม หัดให้กินโดยใช้นิ้วมือจุ่มลงในน้ำนมให้เปียก แล้วแหย่เข้าไปในปากลูกโคให้ลูกโคดูดแล้วกดหัวลูกโคให้ปากจุ่มลงไปในน้ำนม ลูกโคจะดูดนิ้วมือขณะเดียวกัน น้ำนมก็จะไหลเข้าไปได้ หัดดูดนิ้วมือเช่นนี้ ประมาณ 3 - 4 ครั้ง ต่อ ๆ ไปจึงค่อย ๆ ดึงนิ้วมือออก ปล่อยให้ลูก โคดูดกินเองต่อไป ทำเช่นนี้ประมาณ 1 - 3 วัน ลูกโคก็จะค่อย ๆ เคยชินสามารถดูดจากถังเองได้
วิธีเลี้ยงลูกโคระยะแรกอาจปฏิบัติได้ดังนี้
นมแม่ ให้ลูกโคกินต่อหลังจากนมน้ำเหลืองหมด จนลูกโคอายุได้ 1 เดือน (4สัปดาห์) แล้วจึงให้กินนมเทียมหรือนมผงละลายน้ำต่อจน อายุได้ 3 - 4 เดือน (12 - 16 สัปดาห์) จึงหย่านม
นมเทียม หรือ นมผงละลายน้ำ สำหรับการเลี้ยงลูกโคเพศเมียควรให้กินต่อจากนมแม่เมื่ออายุ ได้ 1 เดือน (4สัปดาห์) แต่สำหรับลูกโคเพศผู้ ควรใหกินนมแม่อย่าง น้อย 1 สัปดาห์ จึงเริ่มให้กินนมเทียมหรือนมผงละลายน้ำ และให้กินต่อไป จนหย่านมหรืออายุได้ประมาณ 3 - 4 เดือน (12 - 16 สัปดาห์)
หมายเหตุ การ เลี้ยงดูลูกโคนมดังกล่าวมาแล้ว เป็นการเลี้ยงดูโคแบบ "ให้นมจำกัดพร้อม ให้อาหารข้นลูกโคอ่อน" ไม่ว่าเลี้ยงดูด้วยนมแม่หรือนมเทียมกล่าวคือ การ ให้นมควรจะให้ในปริมาณที่เกือบคงที่ตลอดไป คือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของ น้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่น ลูกโคเกิดมามีน้ำหนัก 30 กิโลกรัมก็ให้นมวัน ละ 3 - 4 กิโลกรัมตลอดไป โดยแบ่งให้ เช้า 2 กิโลกรัม บ่าย 2 กิโลกรัมจนอายุหย่านม ในขณะเดียวกันควรตั้ง อาหารข้นสำหรับลูกโคและหญ้าแห้งคุณภาพดีวางไว้ให้ลูกโคได้ทำความรู้จักและ หัดกินตั้งแต่ลูกโคอายุได้ 1 สัปดาห์จนถึง 12 สัปดาห์ ต่อจากนั้นให้กินหญ้าสด วิธีการดัง กล่าวเป็นการหัดโดยการบังคับให้ลูกโคช่วยเหลือตัวเองโดยเร็วที่สุด เป็นวิธีการที่ประหยัดนมแม่โครวมทั้งนมเทียมได้มาก เพื่อเป็นการลดต้น ทุนในการเลี้ยงดูลูกโค
อนึ่งสำหรับวิธีการผสมนมเทียมหรือนมผงละลายน้ำ เราอาจใช้การผสมในอัตรา ส่วน 1 ต่อ 7 ถึง 10 ส่วน แต่ที่นิยมใช้ คือ 1 ต่อ 8 หรือ 1 ต่อ 9 ส่วน ตัวอย่างเช่น ถ้าใช้นม ผง 1 กิโลกรัม ก็ต้องผสมน้ำ 8 กิโลกรัม หรือถ้าใช้นม ผง 1/2 กิโลกรัม ก็ต้องผสมน้ำ 4 กิโลกรัม ในการผสมแต่ละครั้งควรคน ให้เข้ากันและต้องเติมน้ำมันตับปลาหรือวิตามินลงไปด้วย การผสมนมผงแต่ละ ครั้งมากน้อยแค่ใหนขึ้นอยู่กับท่านมีลูกโคจำนวนมากน้อยเพียงใด
การทำเครื่องหมาย
ลูกโค ที่ เกิดออกมาโดยมีพ่อและแม่พันธุ์เดียวกัน พ่อตัวเดียวกันก็ย่อมจะมีลักษณะ คล้ายคลึงกัน เมื่อโตขึ้นอาจจะจำไม่ได้หรือจำผิดพลาดได้ว่าเกิดเมื่อ ไหร่ พ่อแม่ชื่ออะไร หรือเบอร์อะไร และเมื่อทำการซื้อ - ขาย จะทำ ประวัติก็เป็นการยุ่งยากลำบาก ดังนั้นลูกโคจึงจำเป็นที่จะต้องทำเครื่อง หมายเพื่อแสดงให้ทราบว่าเกิดจากพ่อ - แม่พันธุ์อะไร เบอร์อะไร ซึ่งจะ เป็นการสะดวกในการทำประวัติ และป้องกันรักษาโรค ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ด้วยกันอาทิเช่น ทำเครื่องหมายโดยตัดหู ตีเบอร์ติดหู ตีเบอร์ ไฟ หรืออื่น ๆ เป็นต้น และเมื่อลูกโคอายุได้ ประมาณ 3 - 6 สัปดาห์ หรือประมาณ 1 - 2 เดือน ก็ควรทำการจี้เขาเพื่อ ทำไม่ให้มีเขาอันจะเป็นอันตรายต่อฝูงโคหรือเจ้าของสัตว์เองได้
การเลี้ยงโครุ่น-โคสาว
เมื่อลูกโคอายุได้ 4 เดือน ระบบ การย่อยได้พัฒนาดีขึ้น ในช่วงนี้อัตราการตายจะต่ำหรืออาจจะกล่าวได้ ว่า พ้นช่วงระยะอันตรายแล้ว จากระยะนี้ถึงระยะโครุ่น คืออายุ ประมาณ 180 - 205 วัน (น้ำหนักประมาณ 120 - 150 กิโลกรัม) ซึ่งระยะนี้ โคจะสามารถกินหญ้าได้ดีแล้ว จากนั้นก็จะถึงระยะการเป็นโคสาว (น้ำหนัก ประมาณ 200 - 250 กิโลกรัม) ต่อไปก็จะถึงระยะเกณฑ์ผสมพันธุ์ คืออายุ ได้ประมาณ 18-22 เดือน (น้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม หรือ ประมาณ 60 - 70 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่) ในช่วงดังกล่าว นี้โคจะเจริญอย่างรวดเร็ว ควรเพิ่มอาหารผสมให้บ้างเป็นวัน ละ 1 - 2 กิโลกรัมและให้หญ้ากินเต็มที่ในกรณีที่เลี้ยงแบบปล่อยลงในแปลงหญ้า ก็จะเป็นการดียิ่งขึ้นเพราะโคได้ออกกำลังกายและยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้ จ่ายและแรงงานได้มากอีกด้วยแต่อย่างไรก็ตามในการให้อาหารผสม(อาหารข้น)แก่โค รุ่น-โคสาวในปริมาณมากน้อยเท่าใดนั้นให้พิจารณาถึงคุณภาพของหญ้าที่มีอยู่ใน ขณะนั้นเป็นสำคัญ
การเลี้ยงและดูแลโครีดนม
แม่โค จะ ให้นมหรือมีน้ำนมให้รีดก็ต่อเมื่อหลังจากคลอดลูกในแต่ละครั้ง ซึ่งจะให้นม เป็นระยะยาว, สั้น มากน้อยต่างกัน ขึ้นกับความสามารถของแม่โคแต่ละตัวพันธุ์และปัจจัยอื่นอีกแต่โดยทั่วไปจะรีด นมได้ประมาณ 5 - 10 เดือน นมน้ำเหลืองควรจะรีดให้ลูกโคกินจนหมด ไม่ ควรนำส่งเข้าโรงงานเป็นอันขาดและควรให้อาหารแก่แม่โคอย่างเพียงพอ เพื่อ แม่โคจะได้ไปสร้างน้ำนมและเสริมสร้างร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ได้ อย่างเพียงพอภายหลังจากคลอดลูก โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30 - 70 วัน หลัง จากคลอด มดลูกจะเริ่มกลับเข้าสู่สภาพปกติแม่โคจะเริ่มเป็นสัดอีก แต่ อย่างไรก็ตามเมื่อแม่โคแสดงอาการเป็นสัดภายหลังคลอดน้อยกว่า 25 วัน ยัง ไม่ควรให้ผสม เพราะมดลูกและอวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพิ่งฟื้นตัว ใหม่ ๆ ยังไม่เข้าสู่สภาพปกติ ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ควรจะรอให้เป็นสัด ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจึงค่อยผสม ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลา ประมาณ 45 - 72 วัน หลังจากคลอด
การเป็นสัดคืออะไร
การเป็นสัด คือ การ ที่สัตว์ตัวเมียยอมให้ผสมพร้อม ๆ กันจะมีการตกไข่เกิดขึ้น (โคนมลูกผสมส่วน มากจะมีอายุเข้าสู่วัยหนุ่มสาวประมาณ 1 - 2 ปีโดยเฉลี่ย ) โคเป็นสัดก็หมายถึง โคที่เริ่มจะเป็นสาวแล้วพร้อมที่จะได้รับการผสม โดยวิธีใดวิธีหนึ่งซึ่งอาจเป็นการผสมเทียมหรือผสมแบบธรรมชาติก็ได้แล้วแต่ ความสะดวกหรือความต้องการของผู้เป็นเจ้าของ การเป็นสัดของโคแต่ละ รอบจะห่างกันประมาณ 21 วัน และในแต่ละครั้งของการเป็นสัดแล้ว ประมาณ 14 ชั่วโมง ช่วงระยะเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการผสม คือ ระยะก่อนที่ไข่จะตกเล็กน้อย โดยทั่วไปเจ้าของสัตว์อาจจะพบหรือสังเกต เห็นสัตว์ของตนเป็นสัดในเวลาเย็นหรือตอนกลางคืน หรืออาจจะพบเมื่อใกล้ถึง ตอนปลายของการเป็นสัดแล้ว ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลในทางปฏิบัติอาจแนะนำพอ เป็นแนวทางในการปฏิบัติคือ ถ้าเห็นโคเป็นสัดตอนเช้าก็ควรผสมอย่างช้าตอน บ่ายวันเดียวกัน และถ้าเห็นโคเป็นสัดตอนบ่ายหรือเย็นก็ควรผสมอย่างช้าเช้า วันรุ่งขึ้น
การสังเกตการเป็นสัดในโคตัวเมีย
เจ้าของสัตว์ อาจสังเกตหรือพบเห็นอาการของโคที่เป็นสัดจากอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรืออาจแสดงออกมาพร้อม ๆ กันให้เห็นได้ดังนี้
1. ส่งเสียงร้องที่ผิดปกติ
2. เครื่องเพศบวมแดง
3. ปัสสาวะถี่
4. มีน้ำเมือกใสและเหนียวไหลออกมาจากช่องคลอดหรือเลอะบริเวณก้นทั้งสองข้าง
5. ไม่สนใจอาหารหรือกินอาหารน้อยทั้งอาหารน้อยทั้งอาหารข้นและหญ้า
6. ถ้าเป็นแม่โคที่กำลังให้นมจะพบว่าน้ำนมลดลง
7. ขึ้นขี่ตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขี่
8. สังเกตที่ดวงตาจะเห็นม่านตาเบิกกว้างบ่อยครั้งกว่าปกติส่อให้เห็นการตื่นตัวและตื่นเต้นง่าย
การเลี้ยงไก่ชน
วิธีการเลี้ยงไก่สำหรับชน
การเลี้ยงไก่สำหรับชนนั้น มีหลายอย่างหลายชนิดแล้วแต่ครูบาอาจารย์ใดจะสั่งสอนมา
แต่ที่จะนำมากล่าวนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด
ระยะการปล้ำและทำตัวไก่หนุ่ม
ไก่หนุ่มที่จะเริ่มเลี้ยงครั้งแรก ต้องลงขมิ้นให้ทั่วทั้งตัวเสียก่อน เพื่อสะดวกในการอาบน้ำ
และป้องกันไรได้ดีอีกด้วย
ก. เริ่มอาบน้ำเวลาเช้าทุกวัน ควรใช้ผ้าประคบหน้าทุกครั้งที่มีการอาบน้ำ
ลงกระเบื้อง เนื้อตัวบาง ๆ แล้วลงขมิ้นตามเนื้อบาง ๆ แล้วนำไปผึ่งแดด พอรู้ว่าหอบก็นำไก่เข้าร่ม
อย่าให้กินน้ำจนกว่าจะหายหอบจึงจะให้กินน้ำได้ไก่ผอมไม่ควรผึ่งแดดให้มากเพราะจะทำให้ผอมมากไปอีก ถ้าอ้วนเกินไปต้องผึ่งแดดให้มากสักหน่อย เพราะจะทำให้น้ำหนักลดลงได้ ควรคุมน้ำหนักทุกครั้งที่มีการซ้อม และการเลี้ยงทุกวันตอนเช้า
ข. อาบน้ำประมาณ 7 วัน แล้วจึงเริ่มซ้อมครั้งแรกสัก 2 ยก ๆ ละไม่เกิน 12 นาที ซ้อมสัก 3 ครั้ง ครั้งที่ 2
ครั้งที่ 3 ซ้อมยกละ 15 นาที รวมแล้วให้ได้ 6 ยก ระยะการปล้ำแต่ละครั้งควรจะมีเวลาห่างกันประมาณ 10 -15 วันพอครบกำหนดแล้วต้องถ่ายยาตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว
วิธีล่อ
เวลาประมาณบ่าย 2 โมงเย็น เอาน้ำเช็ดตัวไก่ที่เลี้ยงเล็กน้อย แล้วเอาไก่ที่เป็นไก่ล่อ
จะเป็นการล่อทางตรงหรือทางอ้อมก็แล้วแต่สะดวก แล้วล่อไก่ให้ย้าย คือเอาไก่ล่อ ๆ วนไปข้างซ้าย 10 รอบ เย้ายวนไปทางขวา 10 รอบ
ย้ายจนกว่าไก่ตัวถูกล่อจะไม่ล้มจึงจะใช้ได้ แล้วล่อให้ไก่บินบ้าง ล่อประมาณ 20 - 25 นาทีก็พอ
พอเสร็จจากการล่อเอาขนไก่ปั้นคอ พอหายเหนื่อยแล้วอาบน้ำได้ เสร็จแล้วผึ่งแดดให้ขนแห้งแล้วกินอาหารได้
การใช้ขมิ้น
ทุกครั้งเวลาอาบน้ำไก่ในตอนเช้า ต้องใช้กระเบื้องอุ่น ๆ ประคบหน้าพอสมควร
ถ้ามากนักจะทำให้หน้าเปื่อย แล้วทาขมิ้นบาง ๆ ทุกครั้ง บางคนใช้ทาเฉพาะหน้าอก ขา ใต้ปีก ตามเนื้อเท่านั้น (ใช้ได้เหมือนกัน)
การปล่อยไก่
ไก่ที่เลี้ยงไว้ชนพอเวลาแดดอ่อนๆควรได้ปล่อยไก่ให้เดินตามสนามหญ้าแพรกนอกจากจะให้ไก่ได้เดินขยายตัวแล้ว ไก่ยังมีโอกาสได้กินหญ้าไปในตัวด้วย
วิธีแก้ไขให้น้ำหนักตัวลด
เวลาไก่ชนที่เลี้ยงอ้วนเกินไปน้ำหนักตัวจะมากบินไม่ขึ้น ควรผึ่งแดดให้หอบนาน ๆ หากไก่ผอมมากไปไม่ควรให้ถูกแดดมากเกินไป
เวลานอนควรให้นอนบนกาบกล้วย หรือเอาน้ำเย็นเช็ดตัวบาง ๆ ก่อนนอน การนอนควรนอนในมุ้งทุกคืนเพื่อมิให้ยุงไปรบกวน ไก่จะได้นอนหลับสบาย
การเลี้ยงไก่ถ่าย
การเลี้ยงไก่ถ่าย หรือไก่ที่เปลี่ยนขนตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไป วิธีเลี้ยงเช่นเดียวกับไก่หนุ่ม ผิดกันตรงที่ไก่ถ่ายต้องปล้ำให้ได้ที่ คือปล้ำครั้งละ
2 ยก ยกละ 15 นาที จำนวน 5 ครั้ง รวม 10 ยก หรือปล้ำจนกว่าจะบินไม่ล้ม แล้วผึ่งแดดให้นานกว่าไก่หนุ่มหน่อย นอกนั้นเหมือนกันหมด
ยาถ่ายไก่
ยาถ่ายโบราณคนนิยมใช้กันมากมีส่วนผสมดังนี้
1. เกลือประมาณ 1 ช้อนคาว
2. มะขามเปียก 1 หยิบมือ
3. ไพลประมาณ 5 แว่น
4. บอระเพ็ดยาวประมาณ 2 นิ้ว หั่นเป็นแว่นบาง ๆ
5. น้ำตาลปีบประมาณ 1 ช้อนคาว
6. ใบจากเผาไฟเอาถ่าน (ใช้ใบจากประมาณ 1 กำวงแหวน) ใช้ครกตำให้ละเอียดเข้า ด้วยกัน เวลาใช้ยาควรให้ไก่กินเวลาเช้าท้องว่าง
ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดหัวแม่มือ 2 เม็ด ให้น้ำกินมาก ๆ หน่อย แล้วครอบผึ่งแดดไว้รอจนกว่ายาจะออกฤทธิ์ ถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้ง ก็พอแล้วเอาข้าวให้กินเพื่อให้ยาหยุดเดิน
น้ำสำหรับอาบไก่
ปกติไก่เลี้ยงจะต้องอาบน้ำยาจนกว่าไก่จะชน เครื่องยาที่ใส่น้ำต้มมีดังนี้
1. ไพลประมาณ 5 แว่น
2. ใบส้มป่อยประมาณ 1 กำมือ
3. ใบตะไคร้ ต้นตะไคร้ 3 ต้น
4. ใบมะกรูด 5 ใบ
5. ใบมะนาว 5 ใบ
เอา 5 อย่างมารวมกันใส่หม้อต้มให้เดือดแล้วทิ้งไว้ให้อุ่น พออุ่น ๆ แล้วค่อยอาบน้ำไก่ แล้ว นำไปผึ่งแดดให้ขนแห้ง
ยาบำรุงกำลังไก่
ยาบำรุงที่นิยมกันมากมีหลายขนาน แต่จะยกมาขนานเดียว คือ
1. ปลาช่อนใหญ่ย่างไฟ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง 1 ตัว
2. กระชายหัวแก่ ๆ ประมาณ 2 ขีด (แห้ง)
3. กระเทียมแห้ง 1 ขีด
4. พริกไทย 20 เม็ด
5. บอระเพ็ดแห้ง 1 ขีด
6. นกกระจอก 7 ตัว
7. หัวแห้วหมู 1 ขีด
8. ยาดำพอประมาณ
นกกระจอกนำไปย่างไฟแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปตำให้ป่น ปลาช่อนก็ตำให้ป่น แล้วนำทั้ง 8 อย่างมาผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดพุทราให้กินวันละ1 เม็ดก่อนนอนทุกวันจนกว่าไก่จะชน
ยาบางตำราไม่เหมือนกันแต่ได้ผลดีทั้งนั้น แต่ไปแพ้กันตรงที่ไก่เก่งไม่เก่งเท่านั้น
ไก่ที่นำไปชนทุกครั้งถ้าไม่ได้ชน กลับมาจะต้องฉะหน้าถอนแข้งทุกครั้ง ๆ ละ 5 นาที 1 ครั้ง ก่อนจะนำไปชนต่ออีก
วิธีให้น้ำไก่ขณะกำลังชน
การใช้น้ำไก่เป็นสิ่งจำเป็นในการชนไก่เป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าท่านให้น้ำไก่ไม่เป็น
เอาไก่ไปชนโอกาสแพ้มีมาก มือน้ำเท่านั้นเป็นผู้ชี้ชะตาไก่ของท่าน เพราะฉะนั้นท่านต้องเป็นคนให้น้ำไก่เก่งๆ จึงจะสู้เขาได้
วิธีให้น้ำไก่ก่อนชน
ท่านต้องใช้ผ้ามุ้งบาง ๆ ชุบน้ำเช็ดตัวให้ทั่วตัวทุกเส้นขน แต่อย่างให้ปีกเปียก (เพราะปีกเป็นอุปกรณ์สำคัญในการต่อสู้)
แล้วเช็ดให้แห้ง ให้กินข้าวสุก จนอิ่มแล้วปล่อยให้เดินเพื่อจะได้ขยายตัว และแต่งตัวเรียบร้อยแล้วนำไก่เข้าชน
พอหมดยกที่ 1
เอาผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าอก และใต้ปีกเสียก่อนจึงค่อยเช็ดตามตัวให้ทั่ว แล้วตรวจบาดแผลตามหัว ตามตัวว่ามีผิดปกติหรือเปล่า
ตรวจดูตา ตรวจดูปากให้เรียบร้อย ถ้าปากฮ้อ ก็เตรียมผูก ถ้าตาหรี่ก็ควรเสนียดตา หรือถ่างตา เสร็จเรียบร้อยแล้วให้กินข้าวสุกที่บดไว้
ประมาณ 3 - 4 ก้อน แตงกวาแช่น้ำมะพร้าวอ่อน พอให้อิ่มแล้วเอาไก่นอน ๆ ประมาณ 5 นาที
หลังจากนอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เอากระเบื้องอุ่นมาเช็ดตามตัว ตามหน้าแข้ง
ขาให้ทั่วบริเวณที่ถูกตี แล้วปล่อยให้เดิน และให้ไก่ถ่ายออกมาเพื่อจะได้ให้ตัวเบา (ยกต่อไปก็ทำเหมือนยกที่ 1 จนกว่าจะแพ้ ชนะกัน)
วิธีรักษาพยาบาลหลังจากไก่ชนแล้ว
ตามปกติไก่ที่ชนมาแล้วจะมีบาดแผลมากน้อยแล้วแต่กำหนดเวลาการต่อสู้ บางตัวก็ชนะเร็ว
บางตัวก็ชนะช้าบาดแผลก็มีมาก เวลาชนเสร็จแล้วควรใช้เพนนิซิลิน อย่างเป็นหลอดทาตามหน้าให้ทั่ว
เพื่อไม่ให้หน้าตึง อย่าใช้ขมิ้นเป็นอันขาด ถ้าบาดแผลมากจริงควรใช้ยาพวกสเตปโตมัยซิน
หรือฉีดยาเทอรามัยซิน หรือจะให้กินยาเต็ดตร้าไซคลินก็ได้ วันละ 1 เม็ด ตอนเย็น
ประการสำคัญ อย่าให้ทับตัวเมียเป็นอันขาด หลังจาก 1 เดือนไปแล้วให้ทับได้
การเลี้ยงเเกะ
การเลี้ยงแกะ
การเลี้ยงแกะของเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงเป็นรายได้เสริม ลักษณะการเลี้ยงจึงปล่อยให้กินเองตาม ธรรมชาติ ไม่มีการใช้หลักวิชาการ เพราะมักเข้าใจว่าแกะสามารถหากินได้เก่ง รวมทั้งต้องการใช้หลักวิชาการ เพราะมักเข้าว่าแกะสามารถหากินได้เก่ง รวมทั้งต้องการลดต้นทุนการเลี้ยงอย่างไรก็ตามหากผุ้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ปรับปรุงการเลี้ยงให้ถูกต้อง ผลตอบแทนจากการเลี้ยงจะน้อยลงเป็นเงาตามตัว เช่น สุขภาพทั่วไปไม่สมบูรณ์ ให้ลูกอ่อนแอ อัตราของลูกระยะก่อนอย่านมสูงเป็นต้น
ดังนั้น เกษตรกรผู้สนใจและผู้กำลังคิดจะเริ่มเลี้ยงแกะ จึงควรให้ความเข้าใจการเลี้ยงอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผลตอบแทนกำไรจากการเลี้ยงสูงที่สุด เอกสารคู่มือเล่มนี้ภาพประกอบแทนคำบรรยายเพื่อให้ดูเข้าใจได้ง่ายขึ้นและต้องการให้ท่านสามารถนำไปเป็นแนวทางการเลี้ยงแกะได้อย่างเหมาะสม
1. เป้าหมายการเลี้ยงแกะ
1.1 ข้อดีในการเลี้ยงแกะ
• ให้ผลผลิตและผลตอบแทนเร็วกว่าการเลี้ยงโค
• ขนาดตัวเล็ก ใช้พื้นที่น้อย
• ให้ผลผลิตเนื้อ หนัง ขน
1.2 เป้าหมายในการเลี้ยงแกะ
เพื่อเพิ่มจำนวนลูกหย่านมต่อปีให้สูงขึ้น โดย
• ลดช่วงห่างการให้ลูกลงจาก 10-12 เดือน เป็น 7-8 เดือน ดูแลจัดการเรื่องการผสมพันธุ์ ให้พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์
• เพิ่มจำนวนลูกต่อครอกให้สูงขึ้น คัดเลือกลูกแกะที่เกิดจากลูกแฝดมาเลี้ยง ดูแลการให้อาหารพิเศษแก่แม่พันธุ์ 2 อาทิตย์ ก่อนผสมพันธุ์
• ลดอัตราการตายของลูกแกะ คือ พยายามไม่ให้ลูกตาย
2. พันธุ์แกะที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริม
1) แกะพันธุ์คาทาดิน
กรมปศุสัตว์ ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินันตูประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2532
เป็นแกะเนื้อที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสริมอาหารข้นผลัดขนเองเมื่ออากาศร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น เนื้อแกะคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นสาบ น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.0 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 55-60 กก.
2) แกะพันธุ์ซานตาอิเนส
เป็นแกะเนื้อ นำเข้าจากประเทศบราซิล ปี พ.ศ. 2540 ขนาดใหญ่ ใบหูยาวปรก หน้าโค้งนูน
มีหลายสี น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.5 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กก. ตัวเมีย 60 กก.
3)3) แกะพันธุ์บาร์บาโดส แบล็คเบลลี
เป็นแกะเนื้อ มีถิ่นกำเนิดในหมู่แกะบาร์บาโดส แถบทะเลแคริบเบียน มีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม
และมีสีดำที่ใต้คาง ใต้ใบหู ขอบตา และบริเวณพื้นท้องลงมาถึงใต้ขา มีลักษณะพิเศษคือให้ลูกตก อัตราการเกิดลูกแฝดสูง 60.8% แม่แกะวัยเจริญพันธุ์หนัก 45 กก. ขนาดครอก 1.5-2.3 ตัวต่อครอก น้ำหนักแรกเกิดลูกเดี่ยว 3.0 กก. ลูกแฝด 2.8 กก. น้ำหนักอย่านมอายุ 4 เดือน ลูกเดี่ยว 13.7 ลูกแฝด 13.4 กก. และน้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 68-90 กก. เพศเมีย 40-59 กก.
นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้นำแกะเนื้อพันธุ์ดอร์เปอร์ มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามารถปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี ทนแล้ง มีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขา และแกะพันธุ์เซ้าท์แอฟริกันมัตตอนเมอริโน แกะพันธุ์เลี้ยงปรับปรุงพันธุ์แกะในประเทศ เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร
การคัดเลือกแกะที่มีลักษณะดีไว้ทำพันธุ์
พ่อพันธุ์
- หลังเป็นเส้นตรง
- หน้าอกลึกกว้าง
- ส้นเท้าสูง
- อัณฑะปกติ
- ขาตรงแข็งแรง
แม่พันธุ์
- หลังเป็นเส้นตรง
- เต้านมเท่ากัน
- ขาตรงแข็งแรง
การคัดลักษณะที่ไม่ดีออกจากฝูง
ขากรรไกรบนล่างไม่เสมอ
ตาบอด
ขาโค้งงอ
ปลายเขาโค้งแทงคอ
อัณฑะใบเดียว
ส้นเท้าไม่สูง
การทำนายอายุจากการดูฟันหน้าล่าง
กรณีที่แกะตัวที่เราต้องการจะซื้อมาเลี้ยง ไม่มีพันธุ์ประวัติ ไม่รู้วันเกิด เราสามารถประมาณอายุแกะโดย ดูจากฟันหน้าด้านล่างของแกะ ซึ่งจะมี 8 ซี่ (4 คู่)
• ฟันน้ำนม อายุน้อยกว่า 1 ปี
• ฟันแท้ 1 คู่ อายุ 1-2 ปี
• ฟันแท้ 2 คู่ อายุ 2-3 ปี
• ฟันแท้ 3 คู่ อายุ 3-4 ปี
• ฟันแท้ 4 คู่ อายุ 4-5 ปี
• ฟันแท้เริ่มสึก อายุมากกว่า 5 ปี
หลักการผสมพันธุ์
หลักการผสมพันธุ์ มีข้อแนะนำดังนี้
1. พ่อแม่คัดเลือกพันธุ์จากแกะที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ มีการเจริญเติบโตดี มีประวัติการให้ลูกแฝดสูง
2. ห้ามนำพ่อแม่มาผสมกับตัวลูกมันเอง
3. ห้ามนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันมาผสมกันเอง
3. การจัดการด้านอาหารแกะ
แกะกินอะไรถึงโตดี
א) ขาดแคลนอาหาร
- กินหญ้าอย่างเดียว
- ผอม ตัวเล็ก อ่อนแอ
ב) ให้กินอาหารถูกวิธี
- กินอาหารพืชตระกูลถั่ว, หญ้า, รำ กากถั่ว,เกลือ, น้ำดื่ม
- อ้วน ตัวใหญ่ แข็งแรง
นอกจากนี้ ควรเข้าใจพฤติกรรมต่างๆของแกะ เพื่อสามารถจัดการการเลี้ยงให้อาหารอย่างถูกต้อง
พฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างแกะกับแพะ
1. แกะมีนิสัยชอบและหญ้าในทุ่งที่โล่งเตียน ต่างจากแพะ ซึ่งชอบปีน กินใบไม้ เปลือกไม้
2. แพะสามารถอยู่ในพื้นที่ชุ่มชื่นและร้อนได้ดีกว่า
3. แพะสามารถปีน กระโดดข้าม หรือแม้แต่การขุดดินมุดรั้วได้ ซึ่งแกะทำไม่ได้
4. แพะฉลาดกว่าแกะ หันหน้าเข้าสู้กับศัตรูขณะกะจะวิ่งหนีศัตรูขี้ขลาด และแกะจึงมักอยู่รวมกันเป็นฝูง
5. พ่อพันธุ์แพะจะดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย โดยการปัสสาวะรดที่ขาหน้าท้อง อก และเครา แต่
แกะจะมีกลิ่นตัวฉุนรุนแรงเพิ่มขึ้นในระยะผสมพันธุ์
นิสัยการกินของอาหารของแกะ
แกะ สามารถกินหญ้าได้หลายชนิดและพุ่มไม้ต่างๆ แต่แพะมีนิสัยชอบเลือกกินหญ้า หรือพืชที่มีลำต้นสั้น ชอบกินหญ้าที่งอกขึ้นใหม่ๆหญ้าหมักและใบพืชผัก ตลอดจนพืชหัวประเภทต่างๆหลังการเก็บเกี่ยวได้ แต่ควรปล่อยให้ใบพืชผักเหล่านั้นแห้งน้ำก่อน เนื่องจากกินในขณะนั้นยังสดอยู่ อาจทำให้แกะท้องอืดได้ เพราะพืชผักเหล่านั้นมีน้ำมาก และควรยาฆ่าแมลงที่ใช้ในสวนพืชผักนั้นด้วย
แกะ เดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กันแม้จะมีหญ้าอยู่มากก็ตามก็ยังคงเดิมต่อไป ยิ่งมีหญ้ามากแกะก็จะเลือกมากเลือกกินแต่หญ้าอ่อนๆ เช่นเดียวกับแพะซึ่งไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ การเลี้ยงแกะที่มีอายุมากหรือลูกแกะที่อายุเล็กควรเลี้ยงในแปลงหญ้าที่มีคุณภาพดีเพราะฟันของแกะเหล่านี้ไม่ค่อยดี การกัดหญ้าในแต่ละครั้งจะได้ปริมาณหญ้าที่น้อย
ในการปล่อยแกะแทะเล็ม ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าที่มีความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง 4-8 นิ้ว ส่วนแพะชอบกินหญ้าที่มีความสูงที่สุดเท่าที่จะกินได้ ไม้พุ่มไม้หนามแพะจะชอบกินมาก รวมทั้งยอดอ่อนของพืช ส่วนแกะจะเก็บกินหญ้าสั้นตามหลัง
การเลี้ยงแกะในสวนยาง สวนผลไม้ เช่น สวนมะม่วง มะขาม และขนุน เป็นต้น เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช แกะสามารถกินผลไม้ที่ร่วงหล่นลงเป็นอาหารได้ด้วย นอกจากนี้ยังอาศัยร่มเงาของต้นไม้หลบแสงแดดร้อนได้แต่ไม่ควรปล่อยแกะลงไปในสวนที่ผลไม้ร่วงหล่นมากๆในสวนผลไม้ที่ร่วงหล่นมากๆในครั้งแรก เพราะอาจจะกินมากเกินไป ทำให้ท้องอืดได้ ถ้าเลี้ยงปล่อยอยู่แล้วเป็นประจำก็จะไม่มีปัญหามากนัก
พฤติกรรมการกินเมื่อเลี้ยงปล่อยแทะเล็ม
• แกะจะเดินหากินอาหารได้ไกลถึงวันละ 6-8 กม.
• ปริมาณที่กินได้ 3-6% นน.ตัว (ถ้าแกะหนัก 30 กก. จะกินหญ้าสดวันละ 3 กก./ตัว )
• แกะเลือกกินหญ้า 70% ไม้พุ่ม 30% แพะเลือกกินไม้พุ่ม 72% หญ้า 28%
• ถ้าขังจะกินน้ำวันละ 0.68 ลิตร/ตัว ปล่อย 2 ลิตร/ตัว
• ใช้เวลากินอาหาร 30% เคี้ยวเอื้อง 12% เดินทางหาอาหาร 12% และพักผ่อน 46%
การตัดใบไม้ให้กิน
1. การตัดใบไม้ให้กินไม่ควรให้เกิน 1 ใน 3 ของหญ้า
2. การตัดกิ่งไม้ควรเลือกกิ่งที่มีใบมากๆใบไม่แก่เกินไป
3. ควรตัดพืชตระกุลถั่ว เช่น ใบกระถิน แค ทองหลางให้แม่แกะที่อุ้มท้อง หรือกำลังเลี้ยงลูก
4. ควรตัดให้เหนือจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร
5. ควรผูกกิ่งไม้ไว้เหนือ พื้นเพื่อให้แกะได้กิน
6. ควรตัดใบไม้มากกว่า 2 ชนิด ให้แกะได้เลือกกิน และปลูกต้นไม้ 2-3 ชนิด ริมรั้วโรงเรือนให้กินและให้
ร่มเงา
7. ควรปล่อยแกะลงแบบหมุนเวียน แปลงละ 4-5 สัปดาห์ เพื่อใช้แปลงอย่างมีประสิทธิภาพและตัดวงจร
พยาธิ
8. ควรปล่อยแกะลงแปลงหญ้าช่วงสายหลังจากหมดน้ำค้างแล้ว ถ้าตัดให้กินควรตัดตอนช่วงบ่าย และตัด
เหนือพื้นดิน เพื่อป้องกันพยาธิ
4. การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์การเลี้ยง
โรงเรือน ควรทำคอกให้อยู่ มีหลังคากันแดดและฝน ยกพื้นสูง เพื่อทำความสะอาดง่าย มีที่ใส่น้ำและอาหาร ความยาวรางอาหารมีพอให้กินได้ครบทุกตัว และมีที่แบ่งกั้นเพื่อกันตัวอื่นที่แข็งแรงกว่าแย่งกินอาหาร และถ้าเป็นไปได้ควรแบ่งกั้นคอกสำหรับเลี้ยงแกะโต แกะเล็ก แม่อุ้มท้อง แม่เลี้ยงลูกหรือคอกลูกแกะ
พื้นคอก ทำเป็นไม้ระแนงในแกะโตมีความห่าง 1.5 ซม. แกะเล็ก1.3 ซม. เพื่อให้มูลและปัสสาวะลงดิน พื้นคอกจะได้แห้งและสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันพยาธิที่อาจติดลงมากับมูลได้ และเก็บมูลใต้คอกใช้ทำปุ๋ยต่อไป
รั้ว กั้นแปลงหญ้า อาจทำจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นที่มีราคาถูก เช่นไม้รวก หรืออวนจับปลา
อุปกรณ์ ควรมีมีดและกรรไกรตัดแต่งกีบ เพื่อป้องกันโรคกีบเน่า เขี่ยสิ่งสกปรกที่ซอกออก ตัดส่วนที่งอกเกินออก ตัดให้ได้รูปกีบที่ถูกต้อง ควรหมั่นตรวจกีบแกะสม่ำเสมอ (ตัดกีบเดือนละครั้ง) โดยเฉพาะแกะที่เลี้ยงขังตลอดเวลาอาจวางก้อนหินใหญ่ไว้ในคอก
ลักษณะกีบที่ดี แข็งแรง สูงเสมอกัน ไม่ผิดรูป ผิวเรียบ ไม่มีรอยฉีกแตกหรือมีสิ่งหมักหมม
5. การจัดการเลี้ยงดู
ช่วงวัยเจริญพันธุ์ (ระยะการเป็นสัด)
แกะเริ่มวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3-4 เดือน ตัวเมียจะเป็นสัดยอมให้ตัวผู้ขึ้นทับผสมพันธุ์ได้ ควรแยกลูกตัวเมียออกไปเลี้ยงเฉพาะในคอกตัวเมียและจะให้ผสมพันธุ์กันเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป เพื่อให้พ่อแม่มีความสมบูรณ์พันธุ์ก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้ตัวแม่ไม่พร้อมเลี้ยงลูกน้ำนมน้อย ลูกที่เกิดอาจตัวเล็กแคระแกรนและอ่อนแอตายลงได้
ลักษณะการเป็นสัดและแม่แกะสังเกตดูได้จาก
- อวัยวะเพศบวมแดง
- กระดิกหางบ่อยขึ้น
- จะยืนเงียบเมื่อตัวผู้หรือตัวอื่นมายืนประกบติด
- ไม่ค่อยอยู่สุขกระวนกระวาย และไม่อยากกินอาหาร
แม่แกะมีระยะห่างการเป็นสัด 17+2 วัน แม่แพะมีระยะการเป็นสัด 21+2 วัน
ช่วงการผสมพันธุ์
เมื่อแม่แกะเป็นสัดแล้ว ระยะที่เหมาะสมให้ตัวผู้ขึ้นทับคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากที่เห็นอาการการเป็นสัด
อัตราส่วนการผสม
- พ่อหนุ่ม 1 ตัว ต่อพ่อแม่ 20-30 ตัว
- พ่ออายุ 2 ปีขึ้นไป 1 ตัว ต่อแม่ 20-30 ตัว
ข้อแนะนำ
1. ไม่ควรนำพ่อมาผสมกับลูกตัวเมีย หรือลูกตัวผู้ผสมกับแม่ เพราะอาจทำให้ลูกที่เกิดขึ้นตัวเล็กลง ไม่สมบูรณ์ หรือลักษณะที่ไม่ดีพิการออกมา
2. ควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนพ่อพันธุ์ตัวใหม่ทึก 12 เดือน (แลกหรือขอยืมระหว่างฟาร์ม/หมู่บ้าน)
3. ควรคัดแม่ที่ผสมไม่ติด 2 ครั้งออกไป
4. ควรแยกเลี้ยงแม่ท้องแก่ และแม่เลี้ยงลูกในคอกต่างหากเพื่อกันอันตรายจากตัวอื่น
ช่วงการอุ้มท้อง (ระยะอุ้มท้อง 150 วัน)
สังเกตดูว่าแม่แกะอุ้มท้องหรือ โดย
- ไม่แสดงอาการเป็นสัดอีกหลังจากผสมพันธุ์ไปแล้ว 17-21 วัน
- ท้องขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ
- เต้านมและท้องน้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้น
ช่วงระยะอุ้มท้องน้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 5 กก. ดังนั้นควรเสริมหญ้า ถั่ว หรือพืช
ตระกูลถั่วต่างๆและเสริมอาหาร รำข้าวกากถั่วเหลือง หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แอ้ข้าวโพด และ
ควรมีน้ำสะอาดวางให้กินเต็มที่ และคอกเลี้ยงควรแห้ง สะอาด พื้นคอกแข็งแรง ไม่ระแนงไม่ผุพัง เพื่อป้องกันการแท้งลูก
ช่วงการคลอดลูก
ลักษณะอาการใกล้คลอดลูกของแม่แกะสังเกตจาก
- ตะโพกเริ่มขยาย หลังแอ่นลง (เพราะท้องหนักขึ้น)
- เต้านมขยายใหญ่มากขึ้นและหัวนมเต่ง
- อวัยวะเพศบวมแดง และชุ่มชื้น
- จะไม่นอน แต่ลุกขึ้น เอาเท้าตะกุยพื้นคอก
- ความอยากอาหารลดลง
การเตรียมตัวเตรียมแม่คลอดลูก
- ควรหาคอกที่สะอาด และพื้นไม่ชื้นแฉะ
- ควรมีฟางแห้งรองพื้นให้ความอบอุ่นลูก ช่วงกลางคืน หรือฤดูหนาวควรมีไฟกกลูก
- พื้นระแนงที่เลี้ยงลูกควรมีช่วงห่างไม่เกิน 1.3 ซม
- ควรมีทิงเจอร์ไอโอดีนทาแผลที่ตัดสายสะดือ
ท่าคลอดลูกที่ปกติ ลูกจะเอาเท้าทั้ง 2 ข้าง ออก หรืออาจจะเอาเท้าทั้ง 2 ข้าง
ท่าคลอดลูกที่ผิดปกติ เอาเท้าออกข้างเดียวอีกข้างพับอยู่ด้านใน อาจทำให้มีปัญหาการคลอดยาก
ปกติลูกควรจะออกจากท้องแม่ใน 5-15 นาที หรือภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากที่ถุงน้ำคล่ำแตกแล้ว และรกควรออกออกมาภายใน 4-12 ชั่วโมง เมื่อลูกออกมาปล่อยให้แม่เสียลูกให้ตัวแห่งหรืออาจช่วยเช็ดตัวลูก และตัดสายสะดือทาทิงเจอร์
สาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดลูกยาก เพราะ
- ลูกคลอดท่าผิดปกติ
- แม่มีกระดูกเชิงกรานแคบเกินไป
- ลูกตัวใหญ่เกินไป
- ลูกตายในท้องแม่
- แม่ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ
การช่วยการคลอด หากลูกคลอดผิดท่า หลังจากปล่อยให้แม่คลอดลูกเองแล้ว ใน 1 ชั่วโมง ลูกยังไม่คลอดออกมา
- ตัดเล็บมือให้สันลับคม ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่
- ล้างบริเวณอวัยวะเพศ/ด้านท้ายให้สะอาดด้วยสบู่
- ให้ผู้ช่วยค่อยๆ จับแม่แกะวางนอนลงทางด้านขวาแม่ทับพื้นจับบริเวณคอ
- ค่อยๆใช้มือล้วงเข้าไปในอวัยวะเพศ
- สัมผัสลูก ให้รู้ตำแหน่งหัวและเท้า แล้วจึงดึงเท้าให้ออกมาทั้ง 2 ข้าง ในท่าที่ถูกต้องช้าๆ
- เมื่อลูกออกมาแล้ว เช็ดเลือดบริเวณปากจมูกเพื่อกระตุ้นให้ลูกหายใจ แล้วปล่อยให้แม่เลียลูก
- กรณีอื่น ที่ไม่สามารถคลอดลูกได้ ควรปรึกษาสัตว์แพทย์ทันที
แม่แกะจะเริ่มเป็นสัดอีกครั้ง หลังจากที่คลอดลูกแล้วประมาณ 35-45 วัน ดังนั้นจึงควรระวังหากแม่ยังไม่
สมบูรณ์พอ เช่น ต้องเลี้ยงลูกแฝดควรให้ผสมใหม่เมื่อแม่หย่านมลูกแล้วและมีความพร้อมสมบูรณ์ ถ้าแม่ให้ลูกตัวเดียวสามารถผสมได้เลยเมื่อเป็นสัด
การเลี้ยงดูลูกช่วงแรกคลอด
ควรให้แม่ได้กินนมน้ำเหลืองจากแม่ทันที ถ้าหากลูกอ่อนแอ อาจรีดนมแม่ใส่ขวดหรือหลอดฉีดยาแล้วนำมาป้อนลูกด้วยตนเอง
หากแม่ไม่มีน้ำนมเลี้ยงลูก หรือแม่ตาย อาจใช้น้ำนมเหลืองเทียมทำขึ้นเองโดยใช้ส่วนผสม ดังนี้
- นมวัว หรือนมผง 0.25-0.5 ลิตร
- น้ำนมตับปลา 1 ช้อนชา
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- น้ำตาล 1 ช้อนชา
ผสมละลายให้เข้ากันและอุ่นนมที่อุณหภูมิ 60 องศา ป้อนให้ลูกดูดกิน 3-4 วันๆ ละ 3-4 ครั้ง หลังจาก
นั้นฝากตัวอื่นเลี้ยง ซึ่งต้องควรคอยดูแม่ยอมรับลูกกำพร้าหรือไม่ ถ้าไม่ยอมรับอาจใช้ยาหม่องหรือของที่มีกลิ่นฉุนป้ายจมูกแม่ หรือใช้เชือกผูกคอแม่เพื่อไม่ให้ลูกกำลังดูดนม
การเลี้ยงดูลูกช่วงก่อนหย่านม
- ควรดูแลเรื่องความสะอาดทั้งอาหารและพื้นคอก ป้องกันลูกขี้ไหล
- ควรให้ลูกได้หัดกินหญ้าหรืออาหารเสริมตั้งแต่อายุ 3-4 สัปดาห์
- ลูกที่หย่านมแม่แล้ว ลูกเมียควรแยกเลี้ยงออกจากตัวผู้ เพื่อป้องกันการผสมกันเอง เนื่องจากแกะเป็น
สัดเร็วในช่วง 4-6 เดือน หากปล่อยให้ผสมกันเองตั้งแต่เล็กจะทำให้แคระแกรนและลูกอ่อนแอตาย
6. การจัดการด้านสุขภาพแกะ
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์
• อุณหภูมิร่างกาย 102.5-10 องศาฟาเรนไฮด์
• อัตราการเต้นของหัวใจ 60-80 ครั้ง/นาที
• อัตราการหายใจ 15-30 ครั้ง/นาที
• วัยเจริญพันธุ์ 4-12 เดือน
• วงรอบการเป็นสัด 17+-2 วัน
• ระยะการเป็นสัด 12-36 ชั่วโมง
• ระยะการอุ้มท้อง 150 วัน
การดูแลสุขภาพของแกะ
ผู้เลี้ยงอาจพบปัญหา แกะมีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลในเรื่องสุขภาพ ดังนี้
1. กำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เห็บเหาไร ซึ่งทำให้สัตว์รำคาญ และขนหลุดเป็นหย่อมๆ หรือเป็นขี้เรื้อนมีผลทำให้สุขภาพไม่ดีผลผลิตลดลง การป้องกันแก่ไขโดยอาบน้ำและฉีดพ่นลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก
2. กำจัดพยาธิภายใน ได้แก่ พยาธิตัวกลม ตัวตืด และพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพยาธินี้จะทำให้ซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน ท้องเสีย ผลผลิตลด ถ้าเป็นรุนแรงทำให้โลหิตจางและตาย การป้องกันปกติถ่ายพยาธิแกะทุก 3 เดือน แต่ถ้าพบว่าบริเวณที่เลี้ยงแกะมีพยาธิชุกชุม ให้ถ่ายพยาธิ 1 เดือน
3. การป้องกันโรคระบาด ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์กำหนด
สาเหตุการติดต่อโรค เกิดจาก
1. ติดมากับอาหาร
2. น้ำ
3. โรงเรือนที่มีสัตว์ป่วย
4. สัตว์ป่วย
5. มีพาหะนำโรค
6. แมลงพาหะ
7. คนเลี้ยงเป็นพาหะ
ดังนั้น หากพบแกะป่วยที่เป็นโรคระบาด ควรแยกเลี้ยงตัวป่วยออกมาห่างจากฝูง
โรคที่มักพบ
1. ท้องอืด
สาเหตุ เกิดก๊าซจาการหมักในกระเพาะอาหารเนื่องจากินหญ้าอ่อนหรือพืชใบอ่อนถั่วมากเกินไป
อาการ กระเพาะอาหารพองลมขึ้นทำให้สวาปทางว้ายของแกะป่องขึ้น
การป้องกัน
- ไม่ควรให้แกะกินหญ้าหรือพืชตระกูลถั่วเกินไป
- หลีกเลี่ยงให้แกะกินพืชเป็นพิษ เช่น มันสำปะหลัง หรือไมยราพยักษ์
การรักษาและควบคุม
- ถ้าท้องป่องมากอย่าให้แกะนอนตะแคงซ้าย
- กระตุ้นให้แกะยืนหรือเดิน
- เจาะท้องที่สวาปซ้ายด้านบนด้วยเข็มเจาะหรือมีดเพื่อระบายก๊าซออก
2. ปอดบวม
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ จมูกแห้ง ขนลุก มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หายใจหอบ มีน้ำมูกข้น ไอหรือจามบ่อยๆ
การป้องกัน
- ปรับปรุงโรงเรียนให้อบอุ่น อย่าให้ลมโกรก ฝนสาด
การักษาและควบคุม
- ใช้ยาปฏิชีวนะโดยการฉีด 3 วันติดต่อกัน เช่น ไทโลซิน คลอแลมเฟนิคอล เตตราซัยคลิน เป็นต้น
3. โรคกีบเน่า
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ เดินขากระเผลก กีบเน่ามีกลิ่นเหม็น
การป้องกัน
- รักษาความสะอาด อย่าให้พื้นคอกสกปรก ชื้นแฉะ
- หลีกเลี่ยงของมีคม เช่น ตะปูไม่วางบนพื้น ทำให้กีบเท้าเป็นแผล
- ตัดแต่งกีบเป็นประจำปกติ
การรักษาและการควบคุม
- ทำความสะอาด ตัดส่วนที่เน่าออก ล้างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ฟอร์มาลีน 2-3% หรือสารละลายด่าง
ทับทิม 10%
- ใช้ผ้าพันแผลที่เน่า ป้องกันแมลงและบรรเทาการเคลื่อนไหว
4. โรคบิด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในลำไส้
อาการ แกะถ่ายเหลวอาจมีมูกเลือดปน ผอม ท้องเสีย หลังโก่ง
การป้องกัน
- อย่าให้แปลงหญ้าชื้นแฉะ
- ไม่ล่ามแกะซ้ำที่เดิม
การรักษาควบคุม
- โดยทั่วไปแกะมักมีเชื้อบิดอยู่แล้ว ถ้ามีไม่มากนักจะไม่แสดงอาการ
- ถ้าแกะแสดงอาการป่วยให้ใช้ยาในกลุ่มทัลทาซูริล กรอกให้กิน
5. โรคปากเป็นแผลพอง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ เกิดเม็ดตุ่มเหมือนกระหล่ำขึ้นที่ริมฝีปาก และจมูกอาจลุกลามไปตามลำตัว
การป้องกัน
- เมื่อแกะป่วยขึ้นให้แยกออก รักษาต่างหาก
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหวี่แมลงวันซึ่งเป็นตัวนำเชื้อไวรัส
การรักษาและควบคุม
- ใช้ยาสีม่วงหรือสารละลายจุลสี 5% ทาที่แผลเป็นประจำวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
- ควบคุมกำจัดแมลง
- แยกขังตัวป่วยออกจากแกะดี
6. ปากและเท้าเปื่อย
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ เกิดเม็ดตุ่มพองขึ้นที่ไรกีบ ริมฝีปากและเหงือก ทำให้ขากระเผลกและน้ำลายไหล แต่อาการจะไม่เด่นชัดเหมือนในโค-กระบือ
การป้องกัน รักษาและควบคุม
- ดูแลสุขาภิบาล
- ใช้ยาสีม่วงป้ายแผลที่เปื่อยวันละ 1 ครั้ง
- แยกขังแกะป่วยแล้วก็รักษาให้หาย
- ให้วัคซีนป้องกันทุก 6 เดือน
7. การเก็บบันทึกข้อมูล
การทำเบอร์ประจำตัว
การทำเบอร์ประจำตัวเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลลงในทะเบียนลงประวัติของแกะแต่ละตัว มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงมาก ทำให้ทราบประวัติสายพันธุ์ และความสามารถในการผลิต (เช่น น้ำหนักแรกเกิด น้ำหนักหย่านม อัตราการเจริญเติบโตระยะต่างๆ การให้นม การให้ลูก) รวมทั้งช่วยในการจัดการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ ทำให้ปรับปรุงพันธุ์เป็นไปอย่างแม่นยำขณะเดียวกันช่วยป้องกันการผสมเลือกชิดที่อาจเกิดขึ้นในฟาร์ม วิธีการทำเบอร์ประจำตัวสัตว์ที่นิยมทำกัน มีอยู่ 3 วิธี คือ
1. การใช้คีมสักเบอร์หู เบอร์จะปรากฎอยู่ด้านในของใบหูไม่ค่อยลบเลือนง่าย เหมาะสำหรับแกะขังคอก เพราะต้องจับพลิกดูเบอร์ที่ด้านในของหู
2. การติดเบอร์หู โดยใช้แผ่นพลาสติกหรือโลหะที่มีหมายเลขแล้วใช้คีมหนีบให้ติดกับใบหู วิธีนี้ค่อยข้างง่ายและสะดวกต่อการอ่าน สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
3. ใช้เบอร์แขวงคอ โดยใช้เชือกร้อยแผ่นไม้ โลหะ หรือพลาสติกที่มีหมายเลขแล้วคอแกะ วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่าย แต่บางครั้งเบอร์อาจหลุดหรือเชือกอาจจะหายได้ง่าย และอาจเกิดอันตรายเชือกไปเกี่ยวกิ่งไม้ทำให้รัดคอได้
การเลี้ยงแกะของเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงเป็นรายได้เสริม ลักษณะการเลี้ยงจึงปล่อยให้กินเองตาม ธรรมชาติ ไม่มีการใช้หลักวิชาการ เพราะมักเข้าใจว่าแกะสามารถหากินได้เก่ง รวมทั้งต้องการใช้หลักวิชาการ เพราะมักเข้าว่าแกะสามารถหากินได้เก่ง รวมทั้งต้องการลดต้นทุนการเลี้ยงอย่างไรก็ตามหากผุ้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ปรับปรุงการเลี้ยงให้ถูกต้อง ผลตอบแทนจากการเลี้ยงจะน้อยลงเป็นเงาตามตัว เช่น สุขภาพทั่วไปไม่สมบูรณ์ ให้ลูกอ่อนแอ อัตราของลูกระยะก่อนอย่านมสูงเป็นต้น
ดังนั้น เกษตรกรผู้สนใจและผู้กำลังคิดจะเริ่มเลี้ยงแกะ จึงควรให้ความเข้าใจการเลี้ยงอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผลตอบแทนกำไรจากการเลี้ยงสูงที่สุด เอกสารคู่มือเล่มนี้ภาพประกอบแทนคำบรรยายเพื่อให้ดูเข้าใจได้ง่ายขึ้นและต้องการให้ท่านสามารถนำไปเป็นแนวทางการเลี้ยงแกะได้อย่างเหมาะสม
1. เป้าหมายการเลี้ยงแกะ
1.1 ข้อดีในการเลี้ยงแกะ
• ให้ผลผลิตและผลตอบแทนเร็วกว่าการเลี้ยงโค
• ขนาดตัวเล็ก ใช้พื้นที่น้อย
• ให้ผลผลิตเนื้อ หนัง ขน
1.2 เป้าหมายในการเลี้ยงแกะ
เพื่อเพิ่มจำนวนลูกหย่านมต่อปีให้สูงขึ้น โดย
• ลดช่วงห่างการให้ลูกลงจาก 10-12 เดือน เป็น 7-8 เดือน ดูแลจัดการเรื่องการผสมพันธุ์ ให้พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์
• เพิ่มจำนวนลูกต่อครอกให้สูงขึ้น คัดเลือกลูกแกะที่เกิดจากลูกแฝดมาเลี้ยง ดูแลการให้อาหารพิเศษแก่แม่พันธุ์ 2 อาทิตย์ ก่อนผสมพันธุ์
• ลดอัตราการตายของลูกแกะ คือ พยายามไม่ให้ลูกตาย
2. พันธุ์แกะที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริม
1) แกะพันธุ์คาทาดิน
กรมปศุสัตว์ ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินันตูประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2532
เป็นแกะเนื้อที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสริมอาหารข้นผลัดขนเองเมื่ออากาศร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น เนื้อแกะคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นสาบ น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.0 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 55-60 กก.
2) แกะพันธุ์ซานตาอิเนส
เป็นแกะเนื้อ นำเข้าจากประเทศบราซิล ปี พ.ศ. 2540 ขนาดใหญ่ ใบหูยาวปรก หน้าโค้งนูน
มีหลายสี น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.5 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กก. ตัวเมีย 60 กก.
3)3) แกะพันธุ์บาร์บาโดส แบล็คเบลลี
เป็นแกะเนื้อ มีถิ่นกำเนิดในหมู่แกะบาร์บาโดส แถบทะเลแคริบเบียน มีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม
และมีสีดำที่ใต้คาง ใต้ใบหู ขอบตา และบริเวณพื้นท้องลงมาถึงใต้ขา มีลักษณะพิเศษคือให้ลูกตก อัตราการเกิดลูกแฝดสูง 60.8% แม่แกะวัยเจริญพันธุ์หนัก 45 กก. ขนาดครอก 1.5-2.3 ตัวต่อครอก น้ำหนักแรกเกิดลูกเดี่ยว 3.0 กก. ลูกแฝด 2.8 กก. น้ำหนักอย่านมอายุ 4 เดือน ลูกเดี่ยว 13.7 ลูกแฝด 13.4 กก. และน้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 68-90 กก. เพศเมีย 40-59 กก.
นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้นำแกะเนื้อพันธุ์ดอร์เปอร์ มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามารถปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี ทนแล้ง มีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขา และแกะพันธุ์เซ้าท์แอฟริกันมัตตอนเมอริโน แกะพันธุ์เลี้ยงปรับปรุงพันธุ์แกะในประเทศ เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร
การคัดเลือกแกะที่มีลักษณะดีไว้ทำพันธุ์
พ่อพันธุ์
- หลังเป็นเส้นตรง
- หน้าอกลึกกว้าง
- ส้นเท้าสูง
- อัณฑะปกติ
- ขาตรงแข็งแรง
แม่พันธุ์
- หลังเป็นเส้นตรง
- เต้านมเท่ากัน
- ขาตรงแข็งแรง
การคัดลักษณะที่ไม่ดีออกจากฝูง
ขากรรไกรบนล่างไม่เสมอ
ตาบอด
ขาโค้งงอ
ปลายเขาโค้งแทงคอ
อัณฑะใบเดียว
ส้นเท้าไม่สูง
การทำนายอายุจากการดูฟันหน้าล่าง
กรณีที่แกะตัวที่เราต้องการจะซื้อมาเลี้ยง ไม่มีพันธุ์ประวัติ ไม่รู้วันเกิด เราสามารถประมาณอายุแกะโดย ดูจากฟันหน้าด้านล่างของแกะ ซึ่งจะมี 8 ซี่ (4 คู่)
• ฟันน้ำนม อายุน้อยกว่า 1 ปี
• ฟันแท้ 1 คู่ อายุ 1-2 ปี
• ฟันแท้ 2 คู่ อายุ 2-3 ปี
• ฟันแท้ 3 คู่ อายุ 3-4 ปี
• ฟันแท้ 4 คู่ อายุ 4-5 ปี
• ฟันแท้เริ่มสึก อายุมากกว่า 5 ปี
หลักการผสมพันธุ์
หลักการผสมพันธุ์ มีข้อแนะนำดังนี้
1. พ่อแม่คัดเลือกพันธุ์จากแกะที่มีความสมบูรณ์พันธุ์ มีการเจริญเติบโตดี มีประวัติการให้ลูกแฝดสูง
2. ห้ามนำพ่อแม่มาผสมกับตัวลูกมันเอง
3. ห้ามนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันมาผสมกันเอง
3. การจัดการด้านอาหารแกะ
แกะกินอะไรถึงโตดี
א) ขาดแคลนอาหาร
- กินหญ้าอย่างเดียว
- ผอม ตัวเล็ก อ่อนแอ
ב) ให้กินอาหารถูกวิธี
- กินอาหารพืชตระกูลถั่ว, หญ้า, รำ กากถั่ว,เกลือ, น้ำดื่ม
- อ้วน ตัวใหญ่ แข็งแรง
นอกจากนี้ ควรเข้าใจพฤติกรรมต่างๆของแกะ เพื่อสามารถจัดการการเลี้ยงให้อาหารอย่างถูกต้อง
พฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างแกะกับแพะ
1. แกะมีนิสัยชอบและหญ้าในทุ่งที่โล่งเตียน ต่างจากแพะ ซึ่งชอบปีน กินใบไม้ เปลือกไม้
2. แพะสามารถอยู่ในพื้นที่ชุ่มชื่นและร้อนได้ดีกว่า
3. แพะสามารถปีน กระโดดข้าม หรือแม้แต่การขุดดินมุดรั้วได้ ซึ่งแกะทำไม่ได้
4. แพะฉลาดกว่าแกะ หันหน้าเข้าสู้กับศัตรูขณะกะจะวิ่งหนีศัตรูขี้ขลาด และแกะจึงมักอยู่รวมกันเป็นฝูง
5. พ่อพันธุ์แพะจะดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย โดยการปัสสาวะรดที่ขาหน้าท้อง อก และเครา แต่
แกะจะมีกลิ่นตัวฉุนรุนแรงเพิ่มขึ้นในระยะผสมพันธุ์
นิสัยการกินของอาหารของแกะ
แกะ สามารถกินหญ้าได้หลายชนิดและพุ่มไม้ต่างๆ แต่แพะมีนิสัยชอบเลือกกินหญ้า หรือพืชที่มีลำต้นสั้น ชอบกินหญ้าที่งอกขึ้นใหม่ๆหญ้าหมักและใบพืชผัก ตลอดจนพืชหัวประเภทต่างๆหลังการเก็บเกี่ยวได้ แต่ควรปล่อยให้ใบพืชผักเหล่านั้นแห้งน้ำก่อน เนื่องจากกินในขณะนั้นยังสดอยู่ อาจทำให้แกะท้องอืดได้ เพราะพืชผักเหล่านั้นมีน้ำมาก และควรยาฆ่าแมลงที่ใช้ในสวนพืชผักนั้นด้วย
แกะ เดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กันแม้จะมีหญ้าอยู่มากก็ตามก็ยังคงเดิมต่อไป ยิ่งมีหญ้ามากแกะก็จะเลือกมากเลือกกินแต่หญ้าอ่อนๆ เช่นเดียวกับแพะซึ่งไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ การเลี้ยงแกะที่มีอายุมากหรือลูกแกะที่อายุเล็กควรเลี้ยงในแปลงหญ้าที่มีคุณภาพดีเพราะฟันของแกะเหล่านี้ไม่ค่อยดี การกัดหญ้าในแต่ละครั้งจะได้ปริมาณหญ้าที่น้อย
ในการปล่อยแกะแทะเล็ม ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าที่มีความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง 4-8 นิ้ว ส่วนแพะชอบกินหญ้าที่มีความสูงที่สุดเท่าที่จะกินได้ ไม้พุ่มไม้หนามแพะจะชอบกินมาก รวมทั้งยอดอ่อนของพืช ส่วนแกะจะเก็บกินหญ้าสั้นตามหลัง
การเลี้ยงแกะในสวนยาง สวนผลไม้ เช่น สวนมะม่วง มะขาม และขนุน เป็นต้น เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช แกะสามารถกินผลไม้ที่ร่วงหล่นลงเป็นอาหารได้ด้วย นอกจากนี้ยังอาศัยร่มเงาของต้นไม้หลบแสงแดดร้อนได้แต่ไม่ควรปล่อยแกะลงไปในสวนที่ผลไม้ร่วงหล่นมากๆในสวนผลไม้ที่ร่วงหล่นมากๆในครั้งแรก เพราะอาจจะกินมากเกินไป ทำให้ท้องอืดได้ ถ้าเลี้ยงปล่อยอยู่แล้วเป็นประจำก็จะไม่มีปัญหามากนัก
พฤติกรรมการกินเมื่อเลี้ยงปล่อยแทะเล็ม
• แกะจะเดินหากินอาหารได้ไกลถึงวันละ 6-8 กม.
• ปริมาณที่กินได้ 3-6% นน.ตัว (ถ้าแกะหนัก 30 กก. จะกินหญ้าสดวันละ 3 กก./ตัว )
• แกะเลือกกินหญ้า 70% ไม้พุ่ม 30% แพะเลือกกินไม้พุ่ม 72% หญ้า 28%
• ถ้าขังจะกินน้ำวันละ 0.68 ลิตร/ตัว ปล่อย 2 ลิตร/ตัว
• ใช้เวลากินอาหาร 30% เคี้ยวเอื้อง 12% เดินทางหาอาหาร 12% และพักผ่อน 46%
การตัดใบไม้ให้กิน
1. การตัดใบไม้ให้กินไม่ควรให้เกิน 1 ใน 3 ของหญ้า
2. การตัดกิ่งไม้ควรเลือกกิ่งที่มีใบมากๆใบไม่แก่เกินไป
3. ควรตัดพืชตระกุลถั่ว เช่น ใบกระถิน แค ทองหลางให้แม่แกะที่อุ้มท้อง หรือกำลังเลี้ยงลูก
4. ควรตัดให้เหนือจากพื้นดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร
5. ควรผูกกิ่งไม้ไว้เหนือ พื้นเพื่อให้แกะได้กิน
6. ควรตัดใบไม้มากกว่า 2 ชนิด ให้แกะได้เลือกกิน และปลูกต้นไม้ 2-3 ชนิด ริมรั้วโรงเรือนให้กินและให้
ร่มเงา
7. ควรปล่อยแกะลงแบบหมุนเวียน แปลงละ 4-5 สัปดาห์ เพื่อใช้แปลงอย่างมีประสิทธิภาพและตัดวงจร
พยาธิ
8. ควรปล่อยแกะลงแปลงหญ้าช่วงสายหลังจากหมดน้ำค้างแล้ว ถ้าตัดให้กินควรตัดตอนช่วงบ่าย และตัด
เหนือพื้นดิน เพื่อป้องกันพยาธิ
4. การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์การเลี้ยง
โรงเรือน ควรทำคอกให้อยู่ มีหลังคากันแดดและฝน ยกพื้นสูง เพื่อทำความสะอาดง่าย มีที่ใส่น้ำและอาหาร ความยาวรางอาหารมีพอให้กินได้ครบทุกตัว และมีที่แบ่งกั้นเพื่อกันตัวอื่นที่แข็งแรงกว่าแย่งกินอาหาร และถ้าเป็นไปได้ควรแบ่งกั้นคอกสำหรับเลี้ยงแกะโต แกะเล็ก แม่อุ้มท้อง แม่เลี้ยงลูกหรือคอกลูกแกะ
พื้นคอก ทำเป็นไม้ระแนงในแกะโตมีความห่าง 1.5 ซม. แกะเล็ก1.3 ซม. เพื่อให้มูลและปัสสาวะลงดิน พื้นคอกจะได้แห้งและสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันพยาธิที่อาจติดลงมากับมูลได้ และเก็บมูลใต้คอกใช้ทำปุ๋ยต่อไป
รั้ว กั้นแปลงหญ้า อาจทำจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นที่มีราคาถูก เช่นไม้รวก หรืออวนจับปลา
อุปกรณ์ ควรมีมีดและกรรไกรตัดแต่งกีบ เพื่อป้องกันโรคกีบเน่า เขี่ยสิ่งสกปรกที่ซอกออก ตัดส่วนที่งอกเกินออก ตัดให้ได้รูปกีบที่ถูกต้อง ควรหมั่นตรวจกีบแกะสม่ำเสมอ (ตัดกีบเดือนละครั้ง) โดยเฉพาะแกะที่เลี้ยงขังตลอดเวลาอาจวางก้อนหินใหญ่ไว้ในคอก
ลักษณะกีบที่ดี แข็งแรง สูงเสมอกัน ไม่ผิดรูป ผิวเรียบ ไม่มีรอยฉีกแตกหรือมีสิ่งหมักหมม
5. การจัดการเลี้ยงดู
ช่วงวัยเจริญพันธุ์ (ระยะการเป็นสัด)
แกะเริ่มวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 3-4 เดือน ตัวเมียจะเป็นสัดยอมให้ตัวผู้ขึ้นทับผสมพันธุ์ได้ ควรแยกลูกตัวเมียออกไปเลี้ยงเฉพาะในคอกตัวเมียและจะให้ผสมพันธุ์กันเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป เพื่อให้พ่อแม่มีความสมบูรณ์พันธุ์ก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้ตัวแม่ไม่พร้อมเลี้ยงลูกน้ำนมน้อย ลูกที่เกิดอาจตัวเล็กแคระแกรนและอ่อนแอตายลงได้
ลักษณะการเป็นสัดและแม่แกะสังเกตดูได้จาก
- อวัยวะเพศบวมแดง
- กระดิกหางบ่อยขึ้น
- จะยืนเงียบเมื่อตัวผู้หรือตัวอื่นมายืนประกบติด
- ไม่ค่อยอยู่สุขกระวนกระวาย และไม่อยากกินอาหาร
แม่แกะมีระยะห่างการเป็นสัด 17+2 วัน แม่แพะมีระยะการเป็นสัด 21+2 วัน
ช่วงการผสมพันธุ์
เมื่อแม่แกะเป็นสัดแล้ว ระยะที่เหมาะสมให้ตัวผู้ขึ้นทับคือ 12-18 ชั่วโมง หลังจากที่เห็นอาการการเป็นสัด
อัตราส่วนการผสม
- พ่อหนุ่ม 1 ตัว ต่อพ่อแม่ 20-30 ตัว
- พ่ออายุ 2 ปีขึ้นไป 1 ตัว ต่อแม่ 20-30 ตัว
ข้อแนะนำ
1. ไม่ควรนำพ่อมาผสมกับลูกตัวเมีย หรือลูกตัวผู้ผสมกับแม่ เพราะอาจทำให้ลูกที่เกิดขึ้นตัวเล็กลง ไม่สมบูรณ์ หรือลักษณะที่ไม่ดีพิการออกมา
2. ควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนพ่อพันธุ์ตัวใหม่ทึก 12 เดือน (แลกหรือขอยืมระหว่างฟาร์ม/หมู่บ้าน)
3. ควรคัดแม่ที่ผสมไม่ติด 2 ครั้งออกไป
4. ควรแยกเลี้ยงแม่ท้องแก่ และแม่เลี้ยงลูกในคอกต่างหากเพื่อกันอันตรายจากตัวอื่น
ช่วงการอุ้มท้อง (ระยะอุ้มท้อง 150 วัน)
สังเกตดูว่าแม่แกะอุ้มท้องหรือ โดย
- ไม่แสดงอาการเป็นสัดอีกหลังจากผสมพันธุ์ไปแล้ว 17-21 วัน
- ท้องขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ
- เต้านมและท้องน้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้น
ช่วงระยะอุ้มท้องน้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 5 กก. ดังนั้นควรเสริมหญ้า ถั่ว หรือพืช
ตระกูลถั่วต่างๆและเสริมอาหาร รำข้าวกากถั่วเหลือง หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น แอ้ข้าวโพด และ
ควรมีน้ำสะอาดวางให้กินเต็มที่ และคอกเลี้ยงควรแห้ง สะอาด พื้นคอกแข็งแรง ไม่ระแนงไม่ผุพัง เพื่อป้องกันการแท้งลูก
ช่วงการคลอดลูก
ลักษณะอาการใกล้คลอดลูกของแม่แกะสังเกตจาก
- ตะโพกเริ่มขยาย หลังแอ่นลง (เพราะท้องหนักขึ้น)
- เต้านมขยายใหญ่มากขึ้นและหัวนมเต่ง
- อวัยวะเพศบวมแดง และชุ่มชื้น
- จะไม่นอน แต่ลุกขึ้น เอาเท้าตะกุยพื้นคอก
- ความอยากอาหารลดลง
การเตรียมตัวเตรียมแม่คลอดลูก
- ควรหาคอกที่สะอาด และพื้นไม่ชื้นแฉะ
- ควรมีฟางแห้งรองพื้นให้ความอบอุ่นลูก ช่วงกลางคืน หรือฤดูหนาวควรมีไฟกกลูก
- พื้นระแนงที่เลี้ยงลูกควรมีช่วงห่างไม่เกิน 1.3 ซม
- ควรมีทิงเจอร์ไอโอดีนทาแผลที่ตัดสายสะดือ
ท่าคลอดลูกที่ปกติ ลูกจะเอาเท้าทั้ง 2 ข้าง ออก หรืออาจจะเอาเท้าทั้ง 2 ข้าง
ท่าคลอดลูกที่ผิดปกติ เอาเท้าออกข้างเดียวอีกข้างพับอยู่ด้านใน อาจทำให้มีปัญหาการคลอดยาก
ปกติลูกควรจะออกจากท้องแม่ใน 5-15 นาที หรือภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากที่ถุงน้ำคล่ำแตกแล้ว และรกควรออกออกมาภายใน 4-12 ชั่วโมง เมื่อลูกออกมาปล่อยให้แม่เสียลูกให้ตัวแห่งหรืออาจช่วยเช็ดตัวลูก และตัดสายสะดือทาทิงเจอร์
สาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดลูกยาก เพราะ
- ลูกคลอดท่าผิดปกติ
- แม่มีกระดูกเชิงกรานแคบเกินไป
- ลูกตัวใหญ่เกินไป
- ลูกตายในท้องแม่
- แม่ไม่สมบูรณ์ อ่อนแอ
การช่วยการคลอด หากลูกคลอดผิดท่า หลังจากปล่อยให้แม่คลอดลูกเองแล้ว ใน 1 ชั่วโมง ลูกยังไม่คลอดออกมา
- ตัดเล็บมือให้สันลับคม ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่
- ล้างบริเวณอวัยวะเพศ/ด้านท้ายให้สะอาดด้วยสบู่
- ให้ผู้ช่วยค่อยๆ จับแม่แกะวางนอนลงทางด้านขวาแม่ทับพื้นจับบริเวณคอ
- ค่อยๆใช้มือล้วงเข้าไปในอวัยวะเพศ
- สัมผัสลูก ให้รู้ตำแหน่งหัวและเท้า แล้วจึงดึงเท้าให้ออกมาทั้ง 2 ข้าง ในท่าที่ถูกต้องช้าๆ
- เมื่อลูกออกมาแล้ว เช็ดเลือดบริเวณปากจมูกเพื่อกระตุ้นให้ลูกหายใจ แล้วปล่อยให้แม่เลียลูก
- กรณีอื่น ที่ไม่สามารถคลอดลูกได้ ควรปรึกษาสัตว์แพทย์ทันที
แม่แกะจะเริ่มเป็นสัดอีกครั้ง หลังจากที่คลอดลูกแล้วประมาณ 35-45 วัน ดังนั้นจึงควรระวังหากแม่ยังไม่
สมบูรณ์พอ เช่น ต้องเลี้ยงลูกแฝดควรให้ผสมใหม่เมื่อแม่หย่านมลูกแล้วและมีความพร้อมสมบูรณ์ ถ้าแม่ให้ลูกตัวเดียวสามารถผสมได้เลยเมื่อเป็นสัด
การเลี้ยงดูลูกช่วงแรกคลอด
ควรให้แม่ได้กินนมน้ำเหลืองจากแม่ทันที ถ้าหากลูกอ่อนแอ อาจรีดนมแม่ใส่ขวดหรือหลอดฉีดยาแล้วนำมาป้อนลูกด้วยตนเอง
หากแม่ไม่มีน้ำนมเลี้ยงลูก หรือแม่ตาย อาจใช้น้ำนมเหลืองเทียมทำขึ้นเองโดยใช้ส่วนผสม ดังนี้
- นมวัว หรือนมผง 0.25-0.5 ลิตร
- น้ำนมตับปลา 1 ช้อนชา
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- น้ำตาล 1 ช้อนชา
ผสมละลายให้เข้ากันและอุ่นนมที่อุณหภูมิ 60 องศา ป้อนให้ลูกดูดกิน 3-4 วันๆ ละ 3-4 ครั้ง หลังจาก
นั้นฝากตัวอื่นเลี้ยง ซึ่งต้องควรคอยดูแม่ยอมรับลูกกำพร้าหรือไม่ ถ้าไม่ยอมรับอาจใช้ยาหม่องหรือของที่มีกลิ่นฉุนป้ายจมูกแม่ หรือใช้เชือกผูกคอแม่เพื่อไม่ให้ลูกกำลังดูดนม
การเลี้ยงดูลูกช่วงก่อนหย่านม
- ควรดูแลเรื่องความสะอาดทั้งอาหารและพื้นคอก ป้องกันลูกขี้ไหล
- ควรให้ลูกได้หัดกินหญ้าหรืออาหารเสริมตั้งแต่อายุ 3-4 สัปดาห์
- ลูกที่หย่านมแม่แล้ว ลูกเมียควรแยกเลี้ยงออกจากตัวผู้ เพื่อป้องกันการผสมกันเอง เนื่องจากแกะเป็น
สัดเร็วในช่วง 4-6 เดือน หากปล่อยให้ผสมกันเองตั้งแต่เล็กจะทำให้แคระแกรนและลูกอ่อนแอตาย
6. การจัดการด้านสุขภาพแกะ
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์
• อุณหภูมิร่างกาย 102.5-10 องศาฟาเรนไฮด์
• อัตราการเต้นของหัวใจ 60-80 ครั้ง/นาที
• อัตราการหายใจ 15-30 ครั้ง/นาที
• วัยเจริญพันธุ์ 4-12 เดือน
• วงรอบการเป็นสัด 17+-2 วัน
• ระยะการเป็นสัด 12-36 ชั่วโมง
• ระยะการอุ้มท้อง 150 วัน
การดูแลสุขภาพของแกะ
ผู้เลี้ยงอาจพบปัญหา แกะมีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลในเรื่องสุขภาพ ดังนี้
1. กำจัดพยาธิภายนอก ได้แก่ เห็บเหาไร ซึ่งทำให้สัตว์รำคาญ และขนหลุดเป็นหย่อมๆ หรือเป็นขี้เรื้อนมีผลทำให้สุขภาพไม่ดีผลผลิตลดลง การป้องกันแก่ไขโดยอาบน้ำและฉีดพ่นลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก
2. กำจัดพยาธิภายใน ได้แก่ พยาธิตัวกลม ตัวตืด และพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพยาธินี้จะทำให้ซูบผอม เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ขนและผิวหนังหยาบกร้าน ท้องเสีย ผลผลิตลด ถ้าเป็นรุนแรงทำให้โลหิตจางและตาย การป้องกันปกติถ่ายพยาธิแกะทุก 3 เดือน แต่ถ้าพบว่าบริเวณที่เลี้ยงแกะมีพยาธิชุกชุม ให้ถ่ายพยาธิ 1 เดือน
3. การป้องกันโรคระบาด ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์กำหนด
สาเหตุการติดต่อโรค เกิดจาก
1. ติดมากับอาหาร
2. น้ำ
3. โรงเรือนที่มีสัตว์ป่วย
4. สัตว์ป่วย
5. มีพาหะนำโรค
6. แมลงพาหะ
7. คนเลี้ยงเป็นพาหะ
ดังนั้น หากพบแกะป่วยที่เป็นโรคระบาด ควรแยกเลี้ยงตัวป่วยออกมาห่างจากฝูง
โรคที่มักพบ
1. ท้องอืด
สาเหตุ เกิดก๊าซจาการหมักในกระเพาะอาหารเนื่องจากินหญ้าอ่อนหรือพืชใบอ่อนถั่วมากเกินไป
อาการ กระเพาะอาหารพองลมขึ้นทำให้สวาปทางว้ายของแกะป่องขึ้น
การป้องกัน
- ไม่ควรให้แกะกินหญ้าหรือพืชตระกูลถั่วเกินไป
- หลีกเลี่ยงให้แกะกินพืชเป็นพิษ เช่น มันสำปะหลัง หรือไมยราพยักษ์
การรักษาและควบคุม
- ถ้าท้องป่องมากอย่าให้แกะนอนตะแคงซ้าย
- กระตุ้นให้แกะยืนหรือเดิน
- เจาะท้องที่สวาปซ้ายด้านบนด้วยเข็มเจาะหรือมีดเพื่อระบายก๊าซออก
2. ปอดบวม
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ จมูกแห้ง ขนลุก มีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หายใจหอบ มีน้ำมูกข้น ไอหรือจามบ่อยๆ
การป้องกัน
- ปรับปรุงโรงเรียนให้อบอุ่น อย่าให้ลมโกรก ฝนสาด
การักษาและควบคุม
- ใช้ยาปฏิชีวนะโดยการฉีด 3 วันติดต่อกัน เช่น ไทโลซิน คลอแลมเฟนิคอล เตตราซัยคลิน เป็นต้น
3. โรคกีบเน่า
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ เดินขากระเผลก กีบเน่ามีกลิ่นเหม็น
การป้องกัน
- รักษาความสะอาด อย่าให้พื้นคอกสกปรก ชื้นแฉะ
- หลีกเลี่ยงของมีคม เช่น ตะปูไม่วางบนพื้น ทำให้กีบเท้าเป็นแผล
- ตัดแต่งกีบเป็นประจำปกติ
การรักษาและการควบคุม
- ทำความสะอาด ตัดส่วนที่เน่าออก ล้างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ฟอร์มาลีน 2-3% หรือสารละลายด่าง
ทับทิม 10%
- ใช้ผ้าพันแผลที่เน่า ป้องกันแมลงและบรรเทาการเคลื่อนไหว
4. โรคบิด
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในลำไส้
อาการ แกะถ่ายเหลวอาจมีมูกเลือดปน ผอม ท้องเสีย หลังโก่ง
การป้องกัน
- อย่าให้แปลงหญ้าชื้นแฉะ
- ไม่ล่ามแกะซ้ำที่เดิม
การรักษาควบคุม
- โดยทั่วไปแกะมักมีเชื้อบิดอยู่แล้ว ถ้ามีไม่มากนักจะไม่แสดงอาการ
- ถ้าแกะแสดงอาการป่วยให้ใช้ยาในกลุ่มทัลทาซูริล กรอกให้กิน
5. โรคปากเป็นแผลพอง
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ เกิดเม็ดตุ่มเหมือนกระหล่ำขึ้นที่ริมฝีปาก และจมูกอาจลุกลามไปตามลำตัว
การป้องกัน
- เมื่อแกะป่วยขึ้นให้แยกออก รักษาต่างหาก
- กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหวี่แมลงวันซึ่งเป็นตัวนำเชื้อไวรัส
การรักษาและควบคุม
- ใช้ยาสีม่วงหรือสารละลายจุลสี 5% ทาที่แผลเป็นประจำวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
- ควบคุมกำจัดแมลง
- แยกขังตัวป่วยออกจากแกะดี
6. ปากและเท้าเปื่อย
สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ เกิดเม็ดตุ่มพองขึ้นที่ไรกีบ ริมฝีปากและเหงือก ทำให้ขากระเผลกและน้ำลายไหล แต่อาการจะไม่เด่นชัดเหมือนในโค-กระบือ
การป้องกัน รักษาและควบคุม
- ดูแลสุขาภิบาล
- ใช้ยาสีม่วงป้ายแผลที่เปื่อยวันละ 1 ครั้ง
- แยกขังแกะป่วยแล้วก็รักษาให้หาย
- ให้วัคซีนป้องกันทุก 6 เดือน
7. การเก็บบันทึกข้อมูล
การทำเบอร์ประจำตัว
การทำเบอร์ประจำตัวเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลลงในทะเบียนลงประวัติของแกะแต่ละตัว มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงมาก ทำให้ทราบประวัติสายพันธุ์ และความสามารถในการผลิต (เช่น น้ำหนักแรกเกิด น้ำหนักหย่านม อัตราการเจริญเติบโตระยะต่างๆ การให้นม การให้ลูก) รวมทั้งช่วยในการจัดการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ ทำให้ปรับปรุงพันธุ์เป็นไปอย่างแม่นยำขณะเดียวกันช่วยป้องกันการผสมเลือกชิดที่อาจเกิดขึ้นในฟาร์ม วิธีการทำเบอร์ประจำตัวสัตว์ที่นิยมทำกัน มีอยู่ 3 วิธี คือ
1. การใช้คีมสักเบอร์หู เบอร์จะปรากฎอยู่ด้านในของใบหูไม่ค่อยลบเลือนง่าย เหมาะสำหรับแกะขังคอก เพราะต้องจับพลิกดูเบอร์ที่ด้านในของหู
2. การติดเบอร์หู โดยใช้แผ่นพลาสติกหรือโลหะที่มีหมายเลขแล้วใช้คีมหนีบให้ติดกับใบหู วิธีนี้ค่อยข้างง่ายและสะดวกต่อการอ่าน สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
3. ใช้เบอร์แขวงคอ โดยใช้เชือกร้อยแผ่นไม้ โลหะ หรือพลาสติกที่มีหมายเลขแล้วคอแกะ วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่าย แต่บางครั้งเบอร์อาจหลุดหรือเชือกอาจจะหายได้ง่าย และอาจเกิดอันตรายเชือกไปเกี่ยวกิ่งไม้ทำให้รัดคอได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)